วิธีการลดปัจจัยเสี่ยงของการหกล้ม
การหกล้มแต่ละครั้งสร้างความเจ็บปวดทั้งผู้ป่วยและญาติ ผู้ป่วยอาจจะต้องอยู่โรงพยาบาลนาน หรือต้องพึ่งพิงญาติ ทำให้เกิดปัญหาทางครอบครัวและสังคม การหกล้มสามารถป้องกันได้ ซึ่งจะกล่าวเป็นหัวข้อดังนี้
1การดูแลสุขภาพตนเอง
การตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันการหกล้ม
สำหรับผู้สูงอายุนอกจากจะตรวจสุขภาพทั่วไปแล้ว ยังประเมินความเสี่ยงของการหกล้มตัวอย่างที่ต้องประเมิน
- การเดิน การเดินจะบ่งบอกสุขภาพโดยรวม และโรค
- การทรงตัว ทรงตัวได้ดีเพียงใด เวลายืนต้องเกาะพนังหรือเก้าอี้เพื่อการทรงตัวหรือเปล่า สามารถยืนโดยที่หลับตาได้หรือไม่ หากมีปัญหาเรื่องการทรงตัวจะเสี่ยงต่อการหกล้ม
- การเคลื่อนไหวของข้อ ข้อต่างๆมีการตอบสนองต่อคำสั่งได้ดีเพียงใด ข้อต่างๆมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวหรือไม่ เช่นมีข้อติด หรือข้อเสื่อมหรือไม่ การตอบสนองของการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วจะป้องกันการหกล้มได้
- ความแข็งแรง หากสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติก็จะมีความเสี่ยงต่อการหกล้มต่ำ
- อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจมีผลต่อการทำงานของสมอง กล้ามเนื้อ และการมองเห็น หัวใจเต้นเร็วไปหรือช้าไปก็มีผลต่อความเสี่ยงในการหกล้ม
- ความดันโลหิต สำหรับผู้ที่รับประทานยาลดความดันโลหิตควรจะวัดความดันทั้งท่านอนและยืน หากท่านมีอาการหน้ามืดเมื่อเปลี่ยนจากท่านอนไปยืนท่านต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบเพราะอาจจะเป็นสาเหตุของการหกล้ม
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะทำให้การทรงตัวดี และการเดินก็ดีซึ่งจะลดการเกิดหกล้ม
- ระบบประสาท การตอบสนองของระบบประสาท อาการชาของเท้า เหล่านี้จะมีผลต่อการหกล้ม
- ภาวะโภชนาการ หากรับประทานอาหารได้น้อยก็จะเสี่ยงต่อกระดูกพรุน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ภาวะซีด ซึ่งเสี่ยงต่อการหกล้ม
- อาการปวดทั้งที่แขน ไหล่ หรือเท้าจะทำให้เสี่ยงต่อการหกล้ม
- ข้ออักเสบ หรือข้อเสื่อม หากยังมีอาการปวดก็จะเสี่ยงต่อการหกล้ม
2การปรับสิ่งแวดล้อม
ความปลอดภัยในห้องน้ำ
- อย่าใช้ราวแขวนผ้าเช็ดตัว
ชั้นวางสบู่เป็นที่ประคองตัวเพราะของเหล่านั้นไม่อาจจะทานน้ำหนักท่าน
- ให้น้ำสบู่ไหลลงท่อก่อนที่ท่านจะเดินออก
- หากท่านยืนไม่มั่นคงให้นั่งเก้าอี้เวลาอาบน้ำ
- เมื่ออาบน้ำเสร็จให้ทำความสะอาดพื้นทันที
- ไม่ล็อกประตูเวลาอาบน้ำ
- ไม่ควรจะมีพื้นต่างระดับในบ้านเพราะจะเป็นสาเหตุให้หกล้ม
- ติดราวบริเวณส้วมสำหรับผยุงตัว
- ติดตั้งราวสำหรับเกาะเดิน หรือยืนในขณะอาบน้ำ
- ประตูห้องน้ำใหญ่พอที่รถเข็นสามารถเข้าออกได้
- พื้นห้องน้ำไม่ควรใช้วัสดุที่ลื่น ควรติดตั้งวัสดุกันลื่น
- ป้องกันไม่ให้พื้นเปียกน้ำจนเดินแล้วเกิดการลื่นควรมีผ้าเช็ดเท้าในห้องน้ำหรือหน้าห้องน้ำ และในห้องน้ำควรมีราวจับสำหรับผู้สูงอายุเพื่อที่จะได้จับพยุงตัวลุกขึ้นมาหลังจากทำธุระเสร็จแล้ว พร้อมกันนี้ หากพื้นห้องน้ำลื่นควรเปลี่ยนพื้นห้องน้ำให้เป็นพื้นแบบหยาบ เพียงเท่านี้ก็จะสามารถช่วยป้องกันการลื่นล้มลงได
ความปลอดภัยขณะขึ้นบันได
- ไม่ยกของที่บังสายตาขณะขึ้นบันได
- มือข้างหนึ่งต้องจับราวบันได
- ให้มีสมาธิขณะอยู่บนบันได
ความปลอดภัยในห้องนอน
- จัดตู้เสื้อผ้าให้หยิบได้สะดวก
- ไม่เปิดประตูตู้ทิ้งไวเพราะอาจจะเดินชน
- ควรติดไฟสลัวในห้องนอน
- มีไฟฉายไว้บนหัวเตียง
ความปลอดภัยบริเวณทางเดิน
- แสงสว่างต้องพอตลอดทางเดิน
- พื้นทางเดินต้องทำจากวัสดุที่ไม่ลื่น
- หากพื้นเปียกน้ำอาจจะทำให้ลื่นต้องเช็ดให้แห้งทันที
- ตามทางเดินต้องไม่รก ไม่วางผ้า ไม่วางของเล่น หนังสือ กล่องบนทางเดิน
- หากติดพรมให้ใช้กาวสองหน้าเพื่อยึดพรมให้ติดกับพื้น สำหรับพรมชิ้นเล็กให้นำออกไป
- ซ่อมแซมทางเดินที่ชำรุดเช่นไม้หัก หรือพื้นเป็นหลุม
- จัดทำราวสำหรับผยุงตัวเวลาเดิน
3การดูแลสุขภาพผู้ป่วย
- ผู้สูงอายุควรหมั่นออกกำลังกายเบาๆ อยู่เป็นประจำ โดยการยืนย่ำเท้าอยู่กับที่หรือกอดอกแล้วยืนขึ้นโดยไม่ใช้มือยันช่วย เป็นการฝึกเพื่อให้มีการทรงตัวที่ดีหรืออาจจะออกกำลังกายด้วยการำไท่เก๊ก โยคะเบาๆ หรือรำกระบองแบบช้าๆ
- ประเมินสุขภาพทั่วไป
- ลุกลำบาก ปัญหาเกิดจากกล้ามเนื้อต้นขาไม่มีแรง การแก้ไขต้องมั่นบริหารกล้ามเนื้อต้นขา หรือปรึกษากาบภาพ
- ปัญหาเวียนศรีษะหรือเวลาลุกขึ้นแล้วหน้ามืด ให้สงสัยว่าอาจจะเกิดความดำโลหิตต่ำในขณะยืนการแก้ไขให้วัดความดันโลหิตท่านอนและท่ายืนว่าแตกต่างกันมากไหม หากความดันโลหิตตัวบนต่างกัน 20 มมปรอท ต่างกัน10 มมปรอทความดันตัวล่าง แสดงว่าเกิดความดันโลหิตต่ำในขณะยืน ให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแล
- มือสั่น เดินก้าวเล็กไมแกว่งแขน ปัญหาน่าจะเกิดโรคปาร์กินสัน ให้ปรึกษาแพทย์
- เดินช้าๆ กระตุกๆ เนื่องจากปวดน่าจะเกิดจากเข่าเสื่อม ให้ยาบรรเทาอาการปวด
- เดินก้าวเล็กๆ ขากางเมื่อให้หยุดทันทีจะหยุดไม่ได้ จะซอยขาอยู่กับที่เรียก (magnetic gait) ให้ถามเรื่องกลั้นปัสสาวะได้หรือไม่ ปรึกษาแพทย์ระบบประสาท
โดยสรุปการป้องกันการหกล้มมีหลักการดังนี้
- การออกกำลังกาย การทำกายภาพเพื่อการทรงตัว การเดิน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- การลดยาที่ทำให้ง่วงซึม เช่น ยานอนหลับ ยาทางจิตเวช
- จัดการเรื่องความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า
- จัดการดูแลเรื่องเท้า ข้อเข่า
- การเปลี่ยนรองเท้า
- การปรับสิ่งแวดล้อม ทางเดิน ห้องน้ำ ห้องนอน บันได
- หากมีปัญหาเรื่องต้อกระจกก็ให้ผ่า
- เสริมความแข็งแรงด้วยวิตามินดี และแคลเซี่ยม
4การดูแลกิจวัตรประจำวัน
- ควรจัดสถานที่อยู่ให้ผู้สูงอายุอย่างเหมาะสมหากที่อยู่อาศัยเป็น 2 ชั้นควรให้อยู่ชั้นล่างของบ้านเพื่อลดการขึ้น-ลงบันได
- จัดของใช้ภายในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย อย่าให้เกะกะกีดขวางทางเดิน
- จัดที่นอนให้เหมาะสม ความสูงของเตียงไม่ควรสูงจนเกินไป ควรอยู่ในระดับเข่า การขึ้น-ลง ลุกนั่ง เดิน ของผู้สูงอายุจะได้สะดวก
- จัดหาเสื้อผ้าให้พอดีกับตัวผู้สูงอายุ ไม่ยาวรุ่มร่ามหรือยาวจนเกินไป
- เมื่อตื่นนอนให้นั่งข้างเตียงสักพัก แล้วค่อยลุกเพราะหากลุกขึ้นทันทีอาจจะมีอาการหน้ามืดเป็นลม โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานยาลดความดันโลหิต
- ให้รับประทานอาหารเช้าเพราะหากอดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งจะทำให้เกิดเวียนศีรษะ
- หากเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเวลาเดินต้องระวังเพราะมันอาจจะอยู่ข้างหน้าหรือที่เท้าท่าน
- ใส่แวนตาเมื่อจำเป็น
- ใส่เสื้อผ้าที่พอดีหากยาวเกินไปอาจจะสะดุดล้มให้นั่งเมื่อเปลี่ยนเส้อผ้า
- การเลือกรองเท้าจะเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันการหกล้ม หลีกเลี่ยงรองเท้าส้นสูง ควรใช้รองเท้าหุ้มส้นที่มีขนาดพอดี พื้นทำจากวัสดุกันลื่น
- จะทำธุระ หรือเดินต้องไม่รีบเร่งเกินไป
- ผู้สูงอายุควรหมั่นออกกำลังกายเบาๆ อยู่เป็นประจำ โดยการยืนย่ำเท้าอยู่กับที่หรือกอดอกแล้วยืนขึ้นโดยไม่ใช้มือยันช่วย เป็นการฝึกเพื่อให้มีการทรงตัวที่ดีหรืออาจจะออกกำลังกายด้วยการำไท่เก๊ก โยคะเบาๆ หรือรำกระบองแบบช้าๆ
5การใช้อุปกรณ์ช่วยเรื่องความปลอดภัย
การใช้อุกรณ์บางอย่างจะช่วยสร้างความปลอดภัยในเรื่องป้องกันการหกล้ม
- การใช้ไม้เท้าช่วยการทรงตัว
- การใช้ walker
- การติดพรมกันลื่นในห้องน้ำ
- ประตูห้องควรจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติเพื่อให้รถเข็นสามารถเข้าได้
กลับไปหน้าแรก การเลือกรองเท้าเพื่อป้องกันการหกล้ม