คำแนะนำการลดอาหารเค็ม

การลดปริมาณโซเดี่ยมในอาหารจะลดความดันโลหิตทั้งค่า systolic และค่า diastolic การลดความดันโลหิตจะเห็นชัดเมื่อสามารถปริมาณโซเดี่ยมให้น้อยกว่า <2 g/ต่อวัน เมื่อเทียบกับการลดปริมาณโซเดี่ยมแตยังมากกว่า 2 กรัมต่อวัน การลดการรับประทานเกลือโซเดี่ยมจะไม่ส่งผลเสียต่อระดับไขมันในเลือด การทำงานของไต ระดับฮอร์โมน catecholamine ก็ไม่เปลี่ยนแปลง การรับประทานเกลือโซเดี่ยมมากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ และอัตราการเสียชีวิต

องค์การอนามัยโลกจึงได้แนะนำการรับประทานเกลือโซเดี่ยมสำหรับเด็กและผู้ใหญ่

  • องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ลดการบริโภคเกลือโซเดี่ยมน้อยกว่า <2 g/ต่อวัน (เกลือแกงน้อยกว่า 5 g/ต่อวัน)
  • องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เด็กรับประทานเกลือโซเดี่ยมน้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน

แนวทางนี้ให้ใช้กับคนทั่วไปยกเว้นผู้ที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ เช่นผู้ที่ได้รับยาบางประเภท ผู้ที่ป่วยด้วยหัวใจวาย หรือเบาหวานชนิดที่1 นอกจากนั้นการรับประทานเกลือโปแตสเซี่ยม ควรจะมีสัดส่วนต่อเกลือโซเดี่ยม1ต่อ1 เพื่อจะลดผลของเกลือโซเดี่ยม

พบว่าปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs เป็นสาเหตุการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 60 โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรค NCDs นอกจากนั้นก็ยังพบว่าเด็กมีแนวโน้มที่จะมีความดันโลหิตสูง และพบว่าเด็กที่มีความดันโลหิตสูงจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงเมื่อเป็นผู้ใหญ่ โรค NCDs เป็นโรคที่เกิดจากอาหารและการดำเนินของโรคเป็นแบบช้าๆหากวินิจฉัยล่าช้าก็จะทำให้เกิดผลเสียในอนาคต

เกลือโซเดี่ยมพบได้ในเกลือแกงที่เรารับประทาน นอกจากนั้นยังพบในอาหารหลายชนิดเช่น เนื้อ นม ไข่อาหารธรรมชาติจะมีเกลือโซเดี่ยมไม่มาก แต่อาหารที่ผ่านกระบวนการเช่น ทำอบแห้ง อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป นมปัง ขนมขบเคี้ยว ดังนั้นหากเรารับประทานอาหารสำเร็จหรืออาหารตามร้านมากกว่าอาหารธรรมชาติจะได้รับเกลือโซเดี่ยมสูง คนเราต้องการเกลือโซเดี่ยมเพียง200-500 มิลิกรัมต่อวันเกลือส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมเกือบหมด และขับออกทางปัสสาวะ ส่วนน้อยขับออกทางเหงื่อและอุจาระ หากอากาศร้อนหรือมีการออกกำลังกายมากร่างกายเราจะเสียเกลือโซเดี่ยมทางเหงื่อมาก แต่ร่างกายก็สามารถปรับตัวเองโดยที่ไม่ต้องอาหารเสริมหรือเกลือแร่อื่นเพิ่มเติม

มีการศึกษาพบว่าการลดปริมาณโซเดี่ยมสามารถลดความดันโลหิตลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานปกติ และกลุ่มที่รับประทานเกลือโซเดี่ยมสูงทั้งคนปกติและกลุ่มที่เป็นความดันโลหิตสูง การที่จะลดปริมาณโซเดี่ยมให้ได้ผลต้องเน้นอาหารสำเร็จรูปและการรับประทานอาหารนอกบ้าง เพราะเป็นแหล่งที่เราได้รับโซเดี่ยมเกิน

ข้อเสียของการรับประทานเกลือโซเดี่ยมต่ำ

ข้อดีทราบกันไปแล้วข้อเสียของการรับประทานเกลือโซเดี่ยมต่ำมีอะไรบ้าง การที่เรารับประทานเกลือโซเดี่ยมลดลงจะทำให้ปริมาณเลือดลดลงซึ่งจะทำให้ร่างกายมีการปรับตัว โดยเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน renin–angiotensin–aldosterone และระบบประสาทอัตโนมัติ และผลจากปริมาณเลือดลดลงทำให้ไขมันในเลือดมีความข้นมากขึ้น แต่จากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้นไม่เกิด 4 สัปดาห์ก็จะกลับสู่ปกติ

การประเมินผลดีผลเสียของการรับประทานเกลือโซเดี่ยมต่ำ

  • สำหรับผู้ใหญ่จะประเมิน ความดันโลหิต อัตราการเสียชีวิต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ การทำงานของไต ระดับไขมันในเลือด ระดับฮอร์โมนในเลือด และผลเสีย
  • สำหรับเด็กจะประเมิน ความดันโลหิต ไขมันในเลือด ระดับฮอร์ดมนในเลือด ผลเสีย

การศึกษาในผู้ใหญ่

ความดันโลหิต

  • การรับประทานอาหารที่มีเกลือโซเดี่ยมจ่ำจะลดความดันโลหิตทั้งตัวบนและตัวล่างได้ 3.39 mmHg และ 1.54 mmHg ตามลำดับ
  • พบว่าความดันโลหิตเมื่อวัดแบบวิธี ambulatory blood pressure ค่าความดันตัวบน (systolic blood pressure)ลดลง 5.51 mmHg ค่าความดันโลหิตตัวล่าง (diastolic blood pressure) ลดลง 2.94 mmHg
  • มีการศึกษาเปรียบเทียบกันว่าการลดปริมาณเกลือโซเดี่ยมให้น้อยกว่า2 กรัมต่อวันเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ยังมากกว่า 2 กรัมต่อวันผลปรากฎว่ากลุ่มที่รับประทานโซเดี่ยมน้อยกว่า2กรัมต่อวัน 3.47 และ 1.81 mmHg ของความดันโลหิตตัวบนและตัวล่างตามลำดับ
  • สำหรับคนที่ความดันโลหิตปกติเมื่อรับประทานอาหารที่มีเกลือกโซเดี่ยมน้อยความดันโลหิตตัวบนจะลดลงประมาณ 1.38 mmHg
  • สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเมื่อรับประทานอาหารที่มีโซเดี่ยมต่ำจะลดความดันจัวบนได้ 4.06 mmHg

ระดับความดันโลหิตจะลงมากหรือน้อยขึ้นกับเกลือโซเดี่ยมที่รับประทานอยู่ก่อนที่จะลดปริมาณลง

  • หากรับประทานเกลือกโซเดี่ยม <3 g/วันความดันโลหิตจะลดลง 1.79 mmHg
  • หากรับประทานเกลือกโซเดี่ยม 3.0–3.5 g/วันความดันโลหิตจะลดลง 2.97 mmHg
  • หากรับประทานเกลือโซเดี่ยม 3.5–4.0 g/วันความดันโลหิตจะลดลง 3.07 mmHg
  • หากรับประทานเกลือกโซเดี่ยม 4.0–4.5 g/วันความดันโลหิตจะลดลง 3.91 mmHg
  • หากรับประทานเกลือกโซเดี่ยม>4.5 g/วันความดันโลหิตจะลดลง 5.74 mmHg

อัตราการเสียชีวิต การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

  • สรุปได้ว่าการรับประทานเกลือโซเดี่ยมต่ำกับอัตราการเสียชีวิต อัตราการเกิดโรคหัวใจ โรคสมอง ยังขาดหลักฐานการสนับสนุน
  • แต่โรคความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิต อัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผลเสียจากการรับประทานเกลือโซเดี่ยมต่ำ

  • ผลการรับประทานเกลือโซเดี่ยมต่ำไมมี่ผลต่อระดับไขมันในเลือด
  • การรับประทานเกลือโซเดี่ยมต่ำไม่มีต่อระดับฮอร์โมน catecholamine และ adrenaline (หากมีมากจะส่งผลเสียต่อหัวใจและหลอดเลือด)
  • ผลต่อการทำงานของไตพบว่าการรับประทานโซเดี่ยมน้อยจะลดการขับโปรตีนทางปัสสาวะ (การมีโปรตีนในปัสสาวะมากจะเกิดโรคไตได้ง่าย) โดยสรุปการรับประทานเกลือโซเดี่ยมต่ำจะชลอการเกิดไตเสื่อม

ความดันโลหิตในเด็ก

  • จากการศึกษาในเด็กอายุ 2-15 ปีพบว่าการรับประทานเกลือโซเดี่ยมลดลงทำให้ค่าความดันโลหิตทั้งตัวบน systolic และตัวล่าง diastolic ลดลง 0.84 และ0.87 ตามลำดับ use of a proxy population for the target population).

ข้อสรุป

การรับประทานอาหารที่ลดเกลือโซเดี่ยมจะสามารถลดความดันโลหิตในคนปกติไม่มาก แต่จากการศึกษาทางสถิติพบว่าหากความดันตัวล่างลดลงเพียง 2 mm/Hg จะทำให้อุบัติการณ์ของความดันโลหิตลดลงร้อยละ 17 อุบัติการณ์ของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดลดลงร้อยละ 6 อุบัติการณ์ของโรคหลอเลือดสมองลดลงร้อยละ 15 หากนับเป็นจำนวนขะลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ปีละ 67,000 คนโรคหลอดเลือดสมองลดลงปีละ 34,000 คน

เรื่องเกี่ยวกับเกลือ | เกลือและสุขภาพ | เกลือและสุขภาพเด็ก | แนวทางในการลดปริมาณเกลือ | การลดเกลือที่บ้าน | การลดเกลือเมื่อต้องจ่ายตลาด | ทานอาหารนอกบ้านให้มีเกลือต่ำ | อาหารจานด่วนที่มีเกลือมาก | ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเกลือ | ฉลาดเลือกอาหาร | รับประทานอาหารเกลือต่ำ | องค์การอนามัยโลกแนะนำเรื่องการรับประทานเกลือ | วิธีเลือกอาหารที่มีเกลือน้อย