Vitamin C (Ascorbic acid) RDA: 100 to 200 mg
หน้าที่ของวิตามินซี
- วิตามินซีเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ
- วิตามินซีจะมีส่วนในการสร้าง collagen ซึ่งทำให้ผิวหนังแข็งแรง
- เมื่อเกิดแผลจะหายเร็ว
- หน้าที่ ป้องกันการติดเชื้อโดยเฉพาะไข้หวัด
- ช่วยการเจริญเติบโตของกระดูก ฟัน เหงือก ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก
- และยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระAntioxidant
- เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อ หลอดเลือด เม็ดเลือด กระดูก
- อาการขาดวิตามิน ผู้ป่วยจะเหงือกบวม แดง เลือดออกตามไรฟัน scurvy ผิวหนังจะมีจ้ำเลือด ถ้าขาดวิตามินมากจะทำให้เกิดโลหิตจางเนื้อจากการดูดซึมธาตุเหล็กลดลง ปวดข้อ
การป้องกันการขาดวิตามินซี
- ให้รับประทานผักและผลไม้สด หากจะต้มให้ใส่น้ำให้น้อยที่สุด ใช้เวลาในการปรุงให้สั้นที่สุด น้ำผลไม้สดไม่ควรเก็บเกิน 2-3 วัน ผักหรือผลไม้ที่ปลอกเปลือกแล้วห้ามแช่น้ำ หากจะเก็บให้ใส่ภาชนะและแช่ตู้เย็น
- คณะนักวิจัยพบว่าการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี จะลดการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็งแต่การรับวิตามินซีเสริมยังไม่มีหลักฐานว่าจะได้ประโยชน์
- ข้อควรระวัง ก่อนการรับประทานวิตามินซีเสริมให้ปรึกษาแพทย์ก่อนโดยเฉพาะผู้ที่มีโรค เก๊าท์ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ โรคโลหิคจาง คนตั้งครรภ์
แหล่งอาหารที่มีวิตามินซี
อาหารที่มีปริมาณวิตามินซีสูงได้แก่
- ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวได้แก่ มะนาม ส้ม สัปรด
- พริก
- สตรอเบอร์รี่
- แบล็กเคอเรนท์ (Blackcurrant)
- บรอกโคลี broccoli
- กะหล่ำดาว : Brussels Sprout
- มันฝรั่ง potatoes
ปริมาณวิตามินซีที่ต้องการในแต่ละวันดังแสดงในตาราง
Recommended Dietary Allowance (RDA) for Adults |
Life stage |
ชาย |
หญิง |
ตั้งครรภ์ |
ให้นมลูก |
อายุมากกว่า 19 |
90 mg/day |
75 mg/day |
|
|
ผู้ที่สูบบุหรี่ |
125 mg/day |
110 mg/day |
|
|
อื่นๆ |
|
|
85 mg/day |
120 mg/day |
ขาดวิตามินซี
สาเหตุของการขาดวิตามินซี
- เกิดจากการแพ้อาหารหรือรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง
- โรคทางเดินอาหาร
- การตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมจะต้องการวิตามินซีเป็นจำนวนมาก
- โรคคอกพอกเป็นพิษ
- โรคเรื้อรังต่างๆ
- ผู้ที่ต้องเดินทางทางเรือนานๆ
อาการของการขาดวิตามินซี
- อาการทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามข้อ ปวดกล้ามเนื้อ น้ำหนักลด
- มีเลือดออกใต้เล็บ
- เหงือกจะบวม มีสีม่วงและเลือดออกง่าย ฟันหลุดง่าย
- ต่อมขนจะมีขนาดใหญ่และมีเลือดออกจะเป็นลักษณะที่บอกว่าเป็นโรคนี้
การวินิจฉัยโรคขาดวิตามินซี
- เจาะเลือดจะพบว่ามีระดับวิตามินซีต่ำ <0.2 mg%
การป้องกันและการรักษาโรคขาดวิตามินซี
- ให้วิตามินซีวันละ 60 มิลิกรัมก็เพียงพอที่จะป้องกันโรค
- การรับประทานวิตามินระดับสูงไม่ช่วยป้องกันไข้หวัด หรือโรคหลอดเลือดแข็ง แต่อาจจะทำให้เกิดท้องร่วง เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
- สำหรับผู้ที่เป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน ให้รับวิตามินซีขนาด 100มิลิกรัม วันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์
รับประทานวิตามินซีมากไปเกิดผลเสียอะไรบ้าง
หากรับประทานวิตามินซี(มากกว่าวันละ100มกต่อวัน)จะทำให้เกิด
- อาการปวดท้อง
- ท้องร่วง
- แน่ท้อง
อาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อหยุดรับประทานวิตามินซี
แมกนีเซียม สังกะสีวิตามินเอ วิตามินซ วิตามินอีแร่ธาตุวิตามิน