วิตามินรวมวันละเม็ดมีคุณค่ามากกว่าที่คุณคิด

วิตามินเป็นสารอินทรีย์ที่มีความสำคัญสำหรับการทำงานของเซลล์ต่างๆ ร่างกายต้องการวิตามินเพียงเล็กน้อย วิตามินส่วนใหญ่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ ต้องได้รับจากอาหาร วิตามินที่ร่างกายต้องการมีดังนี้

วิตามินและเกลือแร่มีส่วนสำคัญในการควบคุมการทำงาน การเจริญเติบโต ของเซลล์ วิตามินและเกลือแร่ได้จากอาหารเป็นส่วนใหญ่เช่น  ข้าว ผลไม้ ผักต่างๆมีเพียงวิตามิน D,K ที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง

วิตามินมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ เช่น การเจริญเติบโต ระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท และต่อต้านเชื้อโรค วิตามินยังมีบทบาทในการเปลี่ยนอาหารไปเป็นพลังงานโดยขบวนการทางเคมี วิตามินแบ่งออกเป็น

  • วิตามินที่ละลายในน้ำมีทั้งหมด 9 วิตามินได้แก่ Vitamin C, biotin and the seven B vitamins — thiamin (B-1), riboflavin (B-2), niacin (B-3), pantothenic acid (B-5), pyridoxine (B-6), folic acid (B-9) and cobalamin (B-12) วิตามินเหล่านี้ขับออกทางปัสสาวะ ร่างกายสะสมวิตามินเหล่านี้เพียงเล็กน้อย หากรับประทานวิตามินน้อยไปก็จะเกิดการขาดวิตามิน
  • วิตามินที่ละลายในไขมันมีทั้งหมด4 วิตามินได้แก่ vitamin A, D, E or K วิตามินเหล่านี้จะเก็บในไขมัน หากรับมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดพิษโดยเฉพาะวิตามิน A,D ส่วนวิตามิน E,K มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นการซื้อวิตามินรับประทานต้องดูว่ามีวิตามินเหล่านี้หรือไม่

วิตามินวิตามินบางตัวเป็น antioxidants ซึ่งป้องกันเซลล์มิให้ถูกทำลาย  ชะลอความแก่ ป้องกันมะเร็งโดย อนุมูลอิสระ free radical สมัยก่อนเชื่อว่าหากรับประทานอาหารได้ตามปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินเสริม แต่ปัจจุบันได้มีรายงานว่าการรับวิตามินเกินความต้องการของร่างกาย อาจจะทำให้ป้องกันโรคได้ เช่นโรคหัวใจ แต่บางท่านเชื่อว่าวิตามิน และเกลือแร่บางส่วนอาจถูกทำลายจากการปรุงอาหาร การถนอมอาหาร แต่อย่างไรก็ตามหากต้องการรับประทานวิตามินเกินค่าที่กำหนดโดย Recommended Daily Allowance (RDA) ควรปรึกษาแพทย์

คนกลุ่มใดควรได้วิตามินเสริม

สำหรับคนปกติไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินเสริม การรับวิตามิน A และ E นอกจากไม่มีประโยชน์ยังอาจจะเกิดโทษโดยเฉพาะกับผู้ที่สูบบุหรี่ การให้แคลเซี่ยมกับวิตามินดี ก็ไม่ทำให้อุบัติการของกระดูกหักลดลง แต่สำหรับกลุ่มเสี่ยงก็มีความจำเป็นที่ต้องให้วิตามินเสริม

  • เด็กและหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการสารอาหารเพิ่ม
  • วัยรุ่นที่คุมอาหาร
  • คนจรจัด คนจนที่รายได้ไม่พอใช้
  • ผู้ป่วยที่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ควรได้รับวิตามินเนื่องจากสุรา และบุหรี่จะทำลายวิตามิน
  • ผู้ป่วยเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีปัญหาในระบบย่อยอาหาร
  • กินเจ

หากรับประทานวิตามินเกินกำหนดจะมีโทษหรือไม่

วิตามินโดยทั่วไปหากรับประทานมากเกินไปไม่มีอันตรายร่างกายจะขับออก แต่มีวิตามินบางชนิดหากได้รับมากจะต้องได้รับสารอื่นด้วยเช่นหากได้รับวิตามิน C มากต้องได้แร่ทองแดง copper ดังนั้นไม่ควรได้รับวิตามินเกินกว่าที่กำหนด ตัวอย่างวิตามินที่หากได้รับเกินขนาดแล้วเกิดปัญหาต่อสุขภาพ

  • vitamin A หากได้รับประทานมากกว่า 25,000 iuจะทำให้ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ผิวแห้ง คันและผมร่วง หากได้มากขึ้น ตับม้ามจะโต และปวดกระดูก หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรได้รับเกิน 10,000 iu ถ้ามากกว่านี้อาจทำให้เกิดเด็กพิการ
  • vitamin B3 [niacin] ขนาดต่ำทำให้เกิดร้อนตามตัว ถ้าขนาดสูงจะทำให้ท้องร่วงคลื่นไส้และเป็นพิษกับตับ
  • vitamin B6 ถ้าใช้นานอาจทำให้เกิดชาตามแขนและขา ขนาดที่เป็นพิษคือเกิน 500มก./วัน
  • vitamin Cโดยทั่วไปไม่มีพิษ แต่หากใช้เกิน 1กรัมจะทำให้เกิด คลื่นไส้ท้องร่วง ตะคริว และเกิดนิ่วที่ไต
  • vitamin D หากได้รับเกิน 50,000 iu จะทำให้เกิดเบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องร่วง น้ำหนักลด หิวน เหงื่อออกมากและมีพิษต่อตับ
  • vitamin E หากได้รับมากอาจลดการดูดซึมของวิตามิน K,A,D
  • vitamin M [folic acid]ไม่มีพิษหากได้รับเพิ่มควรได้รับ vitamin B12 เพิ่ม
  • calcium หากได้รับมากอาจทำให้เกิดท้องผูก
  • copper ทองแดงไม่มีพิษนอกจากผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับออกได้รับขนาดสูงจะทำให้อาเจียน
  • Fluoride ขนาดที่มีผลต่อสุขภาพคือเกิน2.5 มก.ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ขวบหากได้รับ Fluorideโดยที่ได้รับ calciumไม่พออาจทำให้ฟันเปลี่ยนสี
  • Iron ธาตุเหล็กหากได้รับขนาดสูงจะระคายกระเพาะ และท้องผูก
  • Selenium หากได้มากกว่า 2000 ไมโครกรัมจะมีผลต่อตับ ระบบประสาท ผิวหนัง เล็บและฟัน
  • Sodium เกลือหากได้รับเกินจะเป็นความดันโลหิตสูง
  • Zinc สังกะสี หากได้รับเกินจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน และหลอดเลือด

รายละเอียดเกี่ยวกับวิตามินแต่ละตัว

ายละเอียดเกี่ยวกับเกลือแร่แต่ละตัว

รายละเอียดเกี่ยวกับอาหารเสริม

กลับหน้าแรก

แร่ธาตุ

แมกนีเซียม | สังกะสี | โพแทสเซี่ยม | ธาตุเหล็ก | แคลเซี่ยม | แมกนีเซี่ยม | เกลือโซเดี่ยม

วิตามิน

วิตามินเอ | วิตามินบี1 | วิตามินบี2 | วิตามินบี3 | วิตามินบี5 | วิตามินบี6 | วิตามินบี12 | วิตามินซี | วิตามินดี | วิตามินอี | โฟลิก |