วิตามินเอ Vitamin A


วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น(VISSION) การเจริญเติบโตของกระดูก การแบ่งตัวของเซลล์ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค

วิตามินเอจะช่วยทำให้ผิวหนังมีความแข็งแรง และซ่อมแซมผิวของตาและหลอดลมทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายยากขึ้น และยังกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะ lymphocyte ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คนเราต้องการวิตามินวันละ ชายต้องการวันละ 900 mcg หญิงต้องการวันละ 700 mcg และเด็กต้องการวันละ 300–600 mcg


ปริมาณวิตามินเอในอาหาร

หน้าที่ วิตามิน A

  • เป็นส่วนประกอบสำคัญของ cornea และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธ์ นอกจากนี้ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง Beta carotene (หรือ pro vitamin A) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นวิตามิน A ในร่างกาย Beta carotene เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถชะลอความแก่ได้
  • อาการเมื่อขาดวิตามิน A จะมีตาแห้ง คันและตาอักเสบ ตามองไม่เห็นในเวลากลางคืน ผมแห้ง ผิวแห้งและหยาบ ติดเชื้อได้ง่าย ถ้าขาดมากฟันและกระดูกไม่แข็งแรง
  • แหล่งอาหาร วิตามิน A พบมากในตับ ไข่แดง นม น้ำมันตับปลา ไก่ Beta carotene พบมากในผักสีเขียว ผลไม้สีเหลืองและเขียวเข็ม
  • การป้องกันการขาดวิตามิน เอ สามารถทำได้โดยการรับประทานผลไม้สีส้มหรือเหลือง ผักใบเขียวโดยรับประทานสดๆ การเก็บรักษาผักและผลไม้ให้เก็บในภาชนะและแช่ตู้เย็น ผักควรใช้วิธีการต้มหรืออบมากกว่าการทอด

ชนิดของวิตามินเอ

  1. อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่าRetinol เป็นวิตามินเอ ที่พบในสัตว์เช่นตับ นม น้ำมันตับปลา เนื้อสัตว์ ไก่ เป็นวิตามินที่ออกฤทธิ์ได้ทันทีเช่นretinol, retinal และ retinoic acid Retinol อาจจะเปลี่ยนเป็น Retinal retinoic acid ซึ่งเป็นรูปแบบวิตามินอีกชนิดที่ออกฤทธิ์ได้ทันที
  2. วิตามินเอที่พบในพืชเรียก Provitamin A carotenoids เป็นวิตามินที่ต้องเปลี่ยนแปลงในร่างกายก่อนที่จะออกฤทธิ์ พบในพืชใบเขียวซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ในธรรมชาติ Provitamin A carotenoids อยู่ได้หลายรูปแบบได้แก่ beta-carotene, alfa-carotene, lutein, zeaxanthin, lycopene, and cryptoxanthin , วิตามินเอชนิด beta-carotene จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ retinol และออกฤทธิ์ได้ดี แต่ alfa-carotene, lutein, zeaxanthin จะออกฤทธิ์ได้ประมาณครึ่งหนึ่งของ beta-carotene แต่ lycopene, cryptoxanthin จะไม่เปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม


ผักผลไม้ที่ให้วิตามินเอส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม เพราะมีเบต้าแคโรทีนและแคโรนอยด์ที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอต่อไป เนื่องด้วยวิตามินเอในผักผลไม้มีความไวต่อออกซิเจนมาก ดังนั้นวิธีการต้มที่ป้องกันการสูญเสียวิตามินได้ดีทีสุดคือ ควรปิดฝาภาชนะขณะต้มและใส่น้ำน้อยๆ

วันหนึ่งเราต้องการวิตามินเอ วันละเท่าไร

ปริมาณวิตามินเอที่เราต้องการขึ้นกับเพศและอายุ

Life Stage Recommended Amount
Birth to 6 months 400 mcg RAE
Infants 7–12 months 500 mcg RAE
Children 1–3 years 300 mcg RAE
Children 4–8 years 400 mcg RAE
Children 9–13 years 600 mcg RAE
Teen males 14–18 years 900 mcg RAE
Teen females 14–18 years 700 mcg RAE
Adult males 900 mcg RAE
Adult females 700 mcg RAE
Pregnant teens 750 mcg RAE
Pregnant adults 770 mcg RAE
Breastfeeding teens 1,200 mcg RAE
Breastfeeding adults 1,300 mcg RAE

กลุ่มที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามินเอ

  • ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • ทารก เด็กเล็ก คนท้อง ในประเทศกำลังพัฒนา
  • ผู้ป่วยโรค cystic fibrosis
  • ผู้ป่วยที่มีโรคลำไส้ h Crohn’s disease, ulcerative colitis, or celiac disease

อาการของการขาดวิตามินเอ

อาการที่สำคัญของการขาดวิตามินเอได้แก่การมองเห็นในที่มีแสงสว่างน้อย ผู้ที่ขาดวิตามินเอจะมองไม่เห็นในเวลากลางคืน ถ้าไม่รักษาอาจจะทำให้ตาบอด ในระยะยาวผู้ที่ขาดวิตามินเองจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ เช่นปอดบวม การติดเชื้อ เช่นโรคหัด ท้องร่วง

ประโยชน์ของวิตามินเอ

  1. ตาฟาง หน้าที่ของวิตามินเอคือช่วยในการแปลงแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้าซึ่งจะส่งไปยังการมองเห็น หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อยแต่ในเวลากลางวันจะเห็นเป็นปกติ และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้ นอกจากนั้นโรคประสาทตาเสื่อมที่พบมากในกลุ่มอายุมากกว่า 50 ปีและเป็นสาเหตุให้สูญเสียสายตา พบว่าเมื่อได้รับยาต้านอนุมูลอิสระ(รวมทั้งรวมทั้งวิตามินเอ)ปรากฎว่าลดการเกิดโรคได้ร้อยละ25 สรุปวิตามินเอจะป้องตาบอดกลางคืนและชลอการเกิดจอประสาทตาเสื่อม
  2. ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง วิตามินเอจะควบคุมการเจริญของเซลล์ซึ่งจะมีผลลดการเกิดมะเร็ง จากการศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอจากพืชสูงจะลดการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ แต่การให้วิตามินเอที่มาจากสัตว์จะไม่ลดการเกิดมะเร็ง นอกจากนั้นผู้ที่สูบบุหรี่เมื่อได้ beta-carotene จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด
  3. เสริมภูมิคุ้มกัน โดยเสริมความแข็งแรงของเยื่อบุ ตา ปอด ทางเดินอาหาร อวัยวะเพศ เพื่อป้องกันเชื้อโรครุกเขาเซลล์ นอกจากนั้นยังช่วยสร้างปริมาณเม็ดเลือดขาวซึ่งจับเชื้อโรค และยังพบอีกว่าประเทศที่มีโรคติดเชื้อเช่ยหัด มาราเรีย เมื่อแก้ภาวะขาดวิตามินเอทำให้ความเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคลดลง
  4. ลดการเกิดสิว สิวเกิดจากการที่ต่อมไขมันอุดตันจากเซลล์ที่ตายแล้วและไขมัน การขาดวิตามินเอจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดสิว การใช้วิตามินทั้งชนิดทาหรือชนิดรับประทานจะช่วยลดการเกิดสิว
  5. ความแข็งแรงของกระดูกขึ้นกับโปรตีน แคลเซี่ยม และวิตามินดี การรับประทานวิตามินเอจะเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก พบว่าการรับประทานวิตามินอย่างเพียงพอจะลดความเสี่ยงของกระดูกหัก

อันตรายจากการได้รับวิตามินเอเกินขนาด

วิตามินเอถูกใช้ในหลายภาวะ รวมทั้งมีการผสมในวิตามิน คนปกติรับประทานวิตามินเอน้อยกว่า 10,000 ต่อวันจะไม่มีผลเสียการรับประทานวิตามินเอมากไปก็จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ การรับประทานวิตามินเอในขนาดสูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจจะเกิดภาวะวิตามินเอในเลือดสูง

ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาปริมาณวิตามินเอที่เด็กควรได้รับ

  • เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปีไม่ควรเกิน 2000 IU/ต่อวัน
  • เด็กอายุน้อยกว่า 4-8 ปีไม่ควรเกิน 3000 IU/ต่อวัน
  • เด็กอายุน้อยกว่า 9-13 ปีไม่ควรเกิน 5700 IU/ต่อวัน
  • เด็กอายุน้อยกว่า 14-18 ปีไม่ควรเกิน 9300 IU/ต่อวัน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงจากวิตามินเอ

  • ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือผู้ที่เลี้ยงบุตรด้วยนม หากรับประทานวิตามินเอมากกว่า 10,000 IU ต่อวันอาจจะเกิดผลข้างเคียง ควรตรวจสอบปริมาณวิตามินที่รับประทาน
  • ผู้ที่ดื่มสุราจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดพิษที่ตับ
  • ผู้ที่เป็นไขมันโลหิตสูงบางชนิดเมื่อได้รับวิตามินเอจะเพิ่มความเสี่ยงต่อวิตามินเอระดับสูง
  • ผู้ที่เป็นโรคตับหากได้รับวิตามินเอจะเกิดพิษได้ง่าย
  • ผู้ที่ขาดธาตุสังกะสีจะเกิดพิษกับวิตามินเอได้ง่าย

อาการสำคัญของผู้ที่ได้รับวิตามินเอมากไป ได้แก่ ปวดศีรษะ ตามัว คลื่นไส้ มึนงง ปวดกล้ามเนื้อ หากได้รับวิตามินเอมากไปอาจจะโคม่าและเสียชีวิต

หากได้รับวิตามินเอมากในขณะตั้ครรภ์อาจจะทำให้ทารกพิการทาง ตา กระโหลก ปอด หัวใจ

ส่วนผู้ที่ได้รับวิตามินเอจากพืชจะมีปัญหาน้อยกว่าผู้ที่ได้วิตามินเอจากอาหารเสริม คนต่อไปนี้ไม่ควรได้รับวิตามินเอเกิน

อายุ ไม่ควรเกิน
ทารกแรกคลอด-12เดือน 600 mcg
เด็กอายุ 1–3 ปี 600 mcg
เด็กอายุ 4–8 ปี 900 mcg
เด็กอายุ 9–13 ปี 1,700 mcg
วัยรุ่น 14–18 ปี 2,800 mcg
ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 19 3,000 mcg

 

ผลเสียของวิตามินเอมากไป

  • แท้งลูกหรือพิการ หญิงมีครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์คลอดออกมาพิการหรือแท้งได้ เนื่องจากวิตามินเอมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กมีความผิดปกติที่ทางเดินปัสสาวะ กระดูกผิดรูป หรือมีติ่งปูดออกมาที่บริเวณหู
  • อ่อนเพลีย หากร่างกายได้รับวิตามินเอเกินครั้งละ 15,000 ไมโครกรัม จะมีผลทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและอาเจียนได้
  • เจ็บกระดูกและข้อต่อ เบื่ออาหาร เซื่องซึม นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ผมร่วง ปวดศีรษะ ท้องผูก ทั้งหมดนี้เป็นโทษในระยะยาวที่เกิดจากการรับประทานวิตามินเอมากเกินไป
  • ในสัตว์กระเพาะเดี่ยวเมื่อได้รับเกินความต้องการ 4-10 เท่า จะทำให้โครงกระดูกผิดปกติ
  • ในสัตว์เคี้ยวเอื้องเมื่อได้รับเกิน 30 เท่า จะเกิดอาการผิดปกติ

อาหารที่มีวิตามินเอ

วิตามินเอพบได้ในอาหารหลายชนิด และมีการเติมวิตามินเอในอาหารหลายชนิดเช่นนม ตัวอย่างอาหารที่มีวิตามินเอ

  • ปลาบางชนิดเช่น herring และ salmon
  • เครื่องในเช่น ตับ
  • ผักใบเขียว เหลือง หรือสีส้ม เช่น ผักโขม แครอท บร็อคโคลี่
  • ผลไม้เช่น แคนตาลูป มะม่วง apricots
  • นมและผลิตภัณฑ์นม เนย
  • ไข่

Retinol เป็นวิตามินเอ ที่พบในสัตว์เช่น ไข่ นม ตับ นมพร่องมันเนยจะมีวิตามินเอต่ำเพราะวิตามินเอละลายในไขมัน ดังนั้นนมพร่องมันเนยจึงต้องเติมวิตามินเอ วิตามินเอจากสัตว์จะดูดซึมได้ดี

วิตามินเอที่มาจากพืชใบเขียวจะดูดซึมไม่ดีเท่าวิตามินที่มาจากสัตว์ พืชใบเขียวจะมีวิตามิน Provitamin A carotenoids มาก

 

ร่ายกายต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU

แหล่งวิตามินในธรรมชาติ จำนวน ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
ผักตำลึง น้ำหนัก 100 กรัม 18,608 IU
ยอดชะอม น้ำหนัก 100 กรัม 10,066 IU
คะน้า น้ำหนัก 100 กรัม 9,300 IU
แครอท น้ำหนัก 100 กรัม 9,000 IU
ยอดกระถิน น้ำหนัก 100 กรัม 7,883 IU
ผักโขม น้ำหนัก 100 กรัม 7,200 IU
ฟักทอง น้ำหนัก 100 กรัม 6,300 IU
มะม่วงสุก 1 ผล(โดยเฉลี่ย) 4,000 IU
บรอกโคลี 1 หัว(โดยเฉลี่ย) 3,150 IU
แคนตาลูบ น้ำหนัก 100 กรัม 3,060 IU
แตงกวา 1 กิโลกรัม 1,750 IU
ผักกาดขาว น้ำหนัก 100 กรัม 1,700 IU
มะละกอสุก 1 ชิ้นยาว(โดยเฉลี่ย) 1,500 IU
หน่อไม้ฝรั่ง น้ำหนัก 100 กรัม 810 IU
มะเขือเทศ น้ำหนัก 100 กรัม 800 IU
พริกหวาน 1 เม็ด(โดยเฉลี่ย) 500-700 IU
แตงโม 1 ชิ้นใหญ่ 700-1,000 IU
กระเจี๊ยบเขียว น้ำหนัก 100 กรัม 470 IU
ปริมาณวิตามินเอ ในอาหารที่มาจากสัตว์

Food

Vitamin A (IU)*

%DV**

ตับวัวปรุงสุก 3 ounces

27,185

545

ตับไก่ปรุงสุก 3 ounces

12,325

245

นมเติมวิตามิน 1 cup

500

10

เนย 1 ounce

284

6

นม 1 cup

249

5

ไข่

226

5

ปริมาณวิตามินเอ beta carotene ในพืช

Food

Vitamin A (IU)*

%DV**

น้ำแครอท

22,567

450

แครอทต้มสุก cup slices

13,418

270

ผักโขม cup

11,458

230

ผัก Kale cup

9,558

190

Carrots,1 raw (7? inches)

8,666

175

Vegetable soup, canned, chunky, ready-to-serve, 1 cup

5,820

115

Cantaloupe,1 cup cubes

5,411

110

ผักโขม 1 cup

2,813

55

Apricots cup

2,063

40

Apricot nectar, canned, ? cup

1,651

35

มะละกอ, 1 cup cubes

1,532

30

มะม่วง, 1 cup sliced

1,262

25

ข้าวโอ๊ต 1 cup

1,252

25

ถั่วต้ม ? cup

1,050

20

น้ำมะเขือเทศ, 6 ounces

819

15

Peaches, canned, juice pack, ? cup halves or slices

473

10

ผล Peach, 1 medium

319

6

พริก Pepper, sweet, red, raw, 1 ring (3 inches diameter by ? inch thick)

313

6

* IU = International Units.
** DV = Daily Value.

This is a reader-friendly overview of Vitamin A and Carotenoids. For more details, see our health professional fact sheet on Vitamin A and Carotenoids.

วิตามินเอ | โรคขาดวิตามินเอ | การวินิจฉัยและการรักษาโรคขาดวิตามินเอ | ต่อหน้าที่ 2

วิตามิน

วิตามินเอ | วิตามินบี1 | วิตามินบี2 | วิตามินบี3 | วิตามินบี5 | วิตามินบี6 | วิตามินบี12 | วิตามินซี | วิตามินดี | วิตามินอี | โฟลิก |

Google
 

เพิ่มเพื่อน