วิธีการหลีกเลี่ยงสารที่มีผลต่อทารกในครรภ์

เนื่องจากสารเคมีในสภาพแวดล้อมมีมากมายซึ่งคุณแม่ไม่สามารถที่จะศึกษาได้หมด คุณแม่ควรจะศึกษาสารเคมี หรือสภาวะแวดล้อมอะไรที่ควรจะหลีกเลี่ยงเพื่อมิให้เกิดผลต่อทารกในครรภ์

  1. สารเคมี

  • ยาฆ่าแมลงหรือฆ่าหนูจะเป็นพิษต่อทารกในครรภ์ และทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ควรจะหลีกเลี่ยงยาฆ่าแมลง
  • กลิ่น ควันหรือสารระเหยจากสีทาบ้าน ทินเนอร์ การทำเฟอร์นิเจอร์ สิ่งเหล่านี้อันตรายต่อสมองทารก และทำให้คลอดก่อนกำหนด ดังนั้นควรจะหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีสารเคมีดังกล่าว
  • Spray ที่ใช้ในบ้านอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว และอาจจะเป็นอันตรายต่อสมองทารกให้สำรวจในบ้านว่ามีสารเคมีที่เป็นอัตรายต่อสุขภาพหรือไม่ สารเคมีบางชนิดเราใช้งานอยู่ทุกวัน ให้อ่านสลากโดยละเอียดว่ามีผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ หากมีผลต่อการตั้งครรภ์ให้เก็บออกจากบ้านก่อนการตั้งครรภ์ หรือหากพบระหว่างการตั้งครรภ์ก็ให้คนช่วยเก็บออกจากบ้าน
  • สำรวจโรงรถ ห้องเก็บของ ห้องซักรีดค้นหาแหล่งที่อาจจะมีสารเคมี เช่น ยาเบื่อหนู สารที่ระบุว่ามีพิษ เช่นยาฆ่าแมลง สารที่ติดไฟ หรือระเบิดได้ ควรจะเปิดหน้าต่างให้มีการระบายอากาศที่ดี
  • เฝ้าหาสาเคมีที่มีกลิ่นฉุน มีควัน น้ำยาซักผ้า น้ำยารีดผ้า หากไม่แน่ใจให้หลีกเลี่ยงสารดังกล่าว
  1. หลีกเลี่ยงการใช้ยาฆ่าแมลงภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน เพราะสารเคมีเหล่านี้จะเป็นสารเคมีที่คนตั้งครรภ์สัมผัสได้บ่อยที่สุด

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีโดยเฉพาะยาฆ่าแมลง หากสัมผัสจะต้องรีบล้างมือด้วยน้ำและสบู่
  • งดการใช้ยาฆ่าแมลงในบริเวณบ้านในตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ เพราะละอองสารเคมีอาจจะเร็ดลอดเข้ามายังในบ้าน
  • หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีการฉีดยาฆ่าแมลง
  1. หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีการทาสี หรือลอกสี หรือการตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวจะกลิ่นสารเคมี และสารระเหยซึ่งระคายเคืองต่อจมูก และเป็นผลเสียต่อสุขภาพ

  • ระยะตั้งครรภ์ควรจะหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีการทาสี ตกแต่งห้องสำหรับทารก เพราะจะมีสารระเหยและกลิ่นซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพแม่และลูก
  1. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่ใช้ในบ้าน เช่นน้ำยากัดพื้น น้ำยาขัดห้องน้ำ หรือน้ำยาล้างห้องน้ำชนิดเข้มข้นซึ่งจะมีสาร ammonia ซึ่งจะมีกลิ่นฉุน ให้ใช้สารที่สกัดจาดธรรมชาติ แทน

  2. หลีกเลี่ยงสารตะกั่ว

  3. ในช่วงตั้งครรภ์จมูกจะรับกลิ่นได้ค่อนข้างดี ดังนั้นหากคุณแม่ได้กลิ่นที่ฉุนเฉียว หรือระคายเคืองคุณแม่จะต้องหยุดใช้ หรือหลีกเลี่ยงบริเวณดังกล่าว เพราะอาจจะมีผลเสียต่อสุขภาพ
  4. ปรึกษากับผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหรือสารเคมีที่เป็นพิษต่อคุณแม่หรือทารก

การตกไข่ | การปฏิสนธิ | การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ | การตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ | การรับประทานกรดโฟลิค | ยาที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ | การคำนวณวันคลอด | สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ | สุรา บุหรี่กาแฟ | อาหารที่เพิ่มเชื้ออสุจิ | วิตามินที่ร่างกายต้องการ | การทดสอบการตั้งครรภ์ | การออกกำลังระหว่างตั้งครรภ์ | การวางแผนทางการเงิน | 8วิธีหลีกเลี่ยงสารพิษ | การตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี | ความพร้อมทางร่างกาย | การคำนวณอายุครรภ์ | การตั้งครรภ์ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ การตั้งครรภ์และความเครียด | x-ray และการตั้งครรภ์ | การตั้งครรภ์และการใช้ยา | การตั้งครรภ์และการท่องเที่ยว

 

เพิ่มเพื่อน