การตั้งครรภ์ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ high-risk pregnancy
หมายถึงการตั้งครรภ์ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากการตั้งครรภ์นี้อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณแม่ และทารก และอาจจะต้องการการตรวจพิเศษเพิ่มเติมแต่มิได้หมายความว่าเด็กที่คลอดมาจะมีปัญหาทางสุขภาพทุกราย โดยมากคุณแม่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้
|
- ทารกอยู่ผิดท่า
- คุณแม่มีโรคประจำตัว
|
- คุณแม่ติดสุรา ยาเสพติด หรือ สูบบุหรี่
- อายุน้อยกว่า 17 ปีหรือมากกว่า 35 ปี
- ตั้งครรภ์แฝด
- มีประวัติแท้งมากกว่า 3 ครั้ง
- เคยคลอดบุตรที่เป็นโรคทางพันธุกรรม หรือโรคไต
- ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อน
- คลอดก่อนกำหนด
- ครรภ์เป็นพิษ
- เป็นโรคติดเชื้อเช่นโรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ติดเชื้ออื่นๆเช่น ไข้สุกใส หัดเยอรมัน ซิฟิลิส โรค toxoplasmosis,
- หากคนท้องรับประทานยา lithium, phenytoin, valproic acid (Depakene),หรือ carbamazepine
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดการตั้งครรภ์เสี่ยง
1โรคประจำตัว
สำหรับท่านที่มีโรคประจำตัวบางชนิดจะมีความเสี่ยงต่อทั้งสุขภาพคุณแม่และทารกโรคดังกล่าวได้แก่
- ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะสามารถตั้งครรภ์ได้และคลอดบุตรปกติ สำหรับผู้ที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ดีอาจจะทำให้ไตคุณแม่ไตเสื่อมเร็ว และทารกก็มีโอกาศเกิดน้ำหนักน้อยกว่าปกติ และครรภ์เป็นพิษ
- โรคเบาหวาน สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะต้องควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การที่น้ำตาลสูงจะเกิดความเสี่ยงในการเกิดทารกพิการ
- โรคไต ปกติผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเสื่อมจะตั้งครรภ์ยาก และหากตั้งครรภ์จะมีโอกาศแท้งสูง คนท้องที่เป็นโรคไตจะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งอาหาร ยา และการนัดตรวจที่ถี่ขึ้น
- โรคภูมิต้านตนเองเช่นโรค SLE ผู้ที่เป็นโรคนี้จะเสี่ยงต่อการเกิดการคลอดก่อนกำหนด และทารกตายในครรภ์ นอกจากนั้นยาบางชนิดอาจจะมีผลเสียต่อทารก
- ผู้ที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทั้งทำงานมากไปหรือน้อยเกิดไปอาจจะทำให้ทารกเกิดปัญหาเช่น หัวในวาย น้ำหนักตัวน้อย ทารกพิการ
- สำหรับผู้ที่เป็นหมันและได้รับยากระตุ้นให้เกิดการตั้งครรภ์เมื่อตั้งครรภ์จะเกิดโรคแทรกซ้อนมากกว่าผู้ที่ตั้งครรภ์ปกติ
- โรคอ้วน ผู้ที่อ้วนจะเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และอาจจะคลอดยาก
- โรคเอดส์ ผู้ที่ติดเชื้อนี้จะมีภูมิต้านทานต่ำ ลูกที่เกิดสามารถได้รับเชื้อของแม่ระหว่างคลอด หรือการให้น้ำนม การควบคุมโรคเป็นอย่างดีจะป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่ไปยังลูก สำหรับแม่ที่ยังมีเชื้อเอดส์มากแนะนำให้คลอดโดยการผ่าตัดทางหน้าท้องซึ่งจะลดการติดเชื้อ
2อายุ
- ผู้ที่ตั้งครรภ์อายุน้อยจะเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง การเกิดโลหิตจาง และคลอดเร็วกว่าผู้ที่ตั้งครรภ์อายุมาก นอกจากนั้นผู้ที่ตั้งครรภ์อายุน้อยจะมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และส่วนมากมักจะไม่ได้ฝากครรภ์ตามกำหนดเวลา ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นจะเป็นความเสี่ยงของตั้งครรภ์
- สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปีจะมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้
- จะต้องทำการคลอดโดยการผ่าตัดทางหน้าท้อง
- โรคแทรกซ้อนของการคลอดเช่น เลือดออกมากระหว่างคลอด
- การคลอดใช้เวลานานกว่า 20 ชั่วโมง หรือ
- การคลอดไม่ก้าวหน้า
- มีโรคทางพันธุกรรม เช่น Down syndrome
3วิถีชีวิต
ผู้ที่มีวิถีชีวิตบางประเภทจะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ อ่านยาเสพติดที่นี่
- ผู้ที่ดื่มสุรา สมาคมควบคุมโรคของอเมริกาได้แนะนำว่าให้หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์ควรจะหยุดสุราก่อนและขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากสุราจะผ่านไปยังลูกผ่านทางสายสะดือ และทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด
- การสูบบุหรี่จะทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกพิการ หรือเด็กจะเสียชีวิต ที่สำคัญพ่อบ้านก็ไม่ควรจะสูบบุหรี่
3ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ high-risk pregnancy แพทย์จะดูแลอะไรบ้าง
- แพทย์จะนัดตรวจถี่กว่าการตั้งครรภ์ของคนปกติ
- มีการตรวจ ultrasound ถี่ปกติเพื่อประเมินการเจริญเติบโตของทารก
- มีการวัดระดับความดันโลหิตของคุณแม่บ่อยขึ้น
- ตรวจปัสสาวะเพื่อหาโปรตีน และตรวจการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- การตรวจทางพันธุกรรมในกรณีที่คุณแม่อายุมากกว่า 35 ปี
- หากคุณแม่มีโรคแพทย์จะจ่ายยารักษาเช่น โรคเบาหวาน หอบหืด โรคความดันโลหิตสูง
- ในบางกรณีแพทย์อยากจะให้คุณแม่คลอดก่อนครบกำหนดคลอด
หากท่านมีโรคประจำตัวท่านต้องปรึกษาแพทย์เพื่อควบคุมอาการให้คงที่จะตั้งครรภ์ และเมื่อตั้งครรภ์ท่านจะต้องได้รับการดูแลโดยทีมแพทย์ โรคที่อาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ได้แก่
- โรคหัวใจ
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคไต
- โรคภูมิต่อต้านเนื้อเยื่อตัวเอง
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- โรคเบาหวาน
- โรคมะเร็ง
- โรคติดเชื้อ
การป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงทำได้อย่างไร
- ก่อนการตั้งครรภ์ให้ปรึกษาแพทย์ก่อน แพทย์จะซักประวัติถึงโรคประจำครอบครัว ประวัติการตั้งครรภ์ ประวัติโรคประจำตัว แพทย์จะแนะนำให้ท่านรับวิตามินก่อนการตั้งครรภ์โดยเฉพาะกรดโฟลิก
- สำหรับท่านที่มีบุตรยาก และใช้บริการของคลินิคมีบุตรยาก ท่านจะต้องปรึกษาว่าจะนำตัวอ่อนเข้าไปฝังในมดลูกกี่อัน เนื่องจากอาจจะเกิดครรภ์แฝดซึ่งเสี่ยงต่อสุขภาพของแม่และลูก
- ให้ไปฝากครรภ์ตามนัด เจ้าหน้าที่จะติดตามสุขภาพของคุณแม่และทารก
- รับประทานอาหารสุขภาพ กรดโฟลิก แคลเซี่ยม ธาตุเหล็ก
- รักษาน้ำหนักมิให้เกินโดยปกติน้ำหนักคุณแม่จะเพิ่มประมาณ 11-16 กิโลกรัม หากน้ำหนักคุณแม่เกินก่อนการตั้งครรภ์น้ำหนักที่เพิ่มอาจจะไม่ถึง11 กิโลกรัม
- หลีกเลี่ยง บุหรี่ สุรา ยาเสพติด
- ให้ห่างจากผู้ที่เป็นหวัด
การดูแลผู้ตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงแตกต่างกับการดูแลคนท้องปกติอย่างไร
หากการท้องพิจารณาแล้วว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง แพทย์จะมีการตรวจเพิ่มเติมตามข้อบ่งชี้
- การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจหาความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น
- การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจโรคทางพันธุกรรม โรคความผิดปกติของสมองและไขสันหลัง
- การตรวจเซลล์จากรกเพื่อตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรม
- การตรวจเลือดจากเส้นเลือดที่สายสะดือเพื่อตรวจความผิดปกติของพันธุกรรม และของเลือด
- การตรวจ Biophysical profile และ nonstress test
สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์เสี่ยงหากมีอาการดังต่อไปนี้ให้ปรึกษาแพทย์
- เลือดออกช่องคลอด
- ปวดศีรษะ
- ปวดท้องน้อย
- น้ำเดินก่อนกำหนด
- มดลูกบีบตัวบ่อย
- ทารกดิ้นน้อยลง
- ปัสสาวะแล้วปวด
- ตาพร่ามัว
การตกไข่ | การปฏิสนธิ | การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ | การตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ | การรับประทานกรดโฟลิค | ยาที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ | การคำนวณวันคลอด | สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ | สุรา บุหรี่กาแฟ | อาหารที่เพิ่มเชื้ออสุจิ | วิตามินที่ร่างกายต้องการ | การทดสอบการตั้งครรภ์ | การออกกำลังระหว่างตั้งครรภ์ | การวางแผนทางการเงิน | 8วิธีหลีกเลี่ยงสารพิษ | การตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี | ความพร้อมทางร่างกาย | การคำนวณอายุครรภ์ | การตั้งครรภ์ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ การตั้งครรภ์และความเครียด | x-ray
และการตั้งครรภ์ | การตั้งครรภ์และการใช้ยา | การตั้งครรภ์และการท่องเที่ยว