หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การวินิจฉัยเบาหวานขณะตั้งครรภ์
แพทย์จะตรวจพบภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้จากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด โดยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ แพทย์มักตรวจประเมินความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานด้วยวิธีต่อไปนี้
สำหรับหญิงตั้งครรภ์รายที่มีความเสี่ยงไม่สูงมาก แพทย์จะตรวจวินิจฉัยภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อีกครั้งในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 โดยเฉพาะช่วงอายุครรภ์ระหว่าง 24-28 สัปดาห์ หากตรวจพบว่าเป็นเบาหวานอาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจจากแพทย์บ่อยครั้งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ โดยแพทย์จะตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและอาจให้ผู้ป่วยเฝ้าระวังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในแต่ละวันร่วมด้วย
เด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มักพบความผิดปกติได้หลายแบบ เช่นเด็กตัวโตมีน้ำหนักมากกว่า4000กรัม [macrosomia] หรือพบความพิการแต่กำเนิด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทราบว่า คนที่ตั้งครรภ์กลุ่มไหนจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
แบ่งผู้หญิงขณะตั้งครรภ์เป็น3กลุ่มดังนี้
ในกลุ่มเสี่ยงสูงให้ตรวจหากลูโคสในเลือดให้เร็วที่สุด หากปกติให้ตรวจอีกครั้งเมื่อตั้งครรภ์24-48สัปดาห์
ในกลุ่มเสี่ยงปานกลางให้ตรวจหากลูโคสเมื่อตั้งครรภ์24-48สัปดาห์
ในกลุ่มเสี่ยงต่ำไม่ต้องตรวจหากลูโคส
วิธีการตรวจ
ให้เจาะวัดระดับกลูโคสในพลาสมาหลังการอดอาหารอย่างน้อย8ชั่วโมง [fasting plasma glucose :FPG] > 126มก.% หรือ การสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา [random plasma glucose:RPG] โดยไม่กำหนดเวลาอดอาหาร >200 มก.%ให้วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน หากน้ำตาลต่ำกว่านี้ให้ทดสอบว่าเป็น GDM หรือไม่
มก.% | mmol/l | |
กลูโคสหลังงดอาหาร8- ชม. | 92 | 5.1 |
1-ชั่วโมงหลังกินกลูโคส | 180 |
10.0 |
2-ชั่วโมงหลังกินกลูโคส |
153 | 8.5 |
3-ชั่วโมงหลังกินกลูโคส |
140 | 7.8 |
ข้อแนะนำ
แพทย์จะนำเลือดไปตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยจะมีการตรวจอยู่สองแบบ คือ แบบ 1 ขั้นตอน และ แบบ 2 ขั้นตอน ดังนี้
แบบ 1 ขั้นตอน ประกอบด้วยการทดสอบด้วยน้ำตาลกลูโคสขนาด 75 กรัม (75-g oral glucose tolerance test)
แพทย์จะให้ผู้ป่วยอดอาหารเช้ามาก่อน และเจาะเลือดเพื่อวัดระดับน้ำตาล จากนั้นให้ดื่มสารละลายที่มีน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม และเจาะเลือดหลังจากดื่มไปแล้ว 1 และ 2 ชั่วโมงตามลำดับ จะถือว่าเป็นเบาหวานเมื่อเจาะน้ำตาลได้
แบบ 2 ขั้นตอน ประกอบด้วยการคัดกรองด้วยน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม และกลูโคส 100 กรัม
โรคเบาหวานและสุภาพสตรี
โรคเบาหวานกับการตั้งครรภ์ | การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ | โรคเบาหวานกับคุณสุภาพสตรี | การตรวจวินิจฉัยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | การเตรียมตัวตั้งครรภ์ | อาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | การรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | โรคแทรกซ้อนเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | การป้องกันเบาหวานขณะตั้งครรภ์
หลักการรักษา
การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง