การป้องกันโรคหลอดเลือดตีบซ้ำ

โรคหลอดเลือดแดงแข็งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงตีบและเกิดโรค หลอดเลือดแข็ง และตีบมีทั้งการดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่นโรคไตเสื่อม โรคหลอดเลือดขาตีบ หรือโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ สำหรับโรคหลอดเลิอดแดงตีบที่มีอาการแบบเฉียบพลัน ซึ่งจะต้องรับให้การรักษาให้ทันเวลาหากไม่ทันเวลาก็จะทำให้เกิดความพิการตามมา เช่นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากหลอดเลือดแดงตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบและสมองขาดเลือด

สำหรับผู้ที่เกิดป่วยเป็นโรคหลอดเลือดตีบทั้งหัวใจและหลอดเลือดสมอง เมื่อหายแล้วหากท่านยังไม่ดูแลตนเองก็จะเกิดโอกาศเป็นซ้ำได้ วิธีที่ป้องกันมิให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบซ้ำได้แก่การควบคุมปัจจัยเสี่ยง

ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ดังนั้นการควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 140/90 มิลิเมตรปรอท จะสามารถลดการเกิด โรคหลอดเลือดแดงตีบได้ วิธีการควบคุมความดันโลหิตทำได้โดย

  • การรับประทานอาหาร DASH diet เพื่อลดความดันโลหิตสูง
  • การลดการรับประทานเกลือโซเดี่ยม
  • การควบุมน้ำหนัก มิให้เกิดภาวะอ้วนได้แก่ ดัชนีมวลกายไม่เกิน 25 กก/ตารางเมตร และเส้นรอบเอวไม่เกิน 90,80 ซม ชายและหญิงตามลำดับ
  • การลดน้ำหนัก
  • การออกกำลังกาย
  • การควบุมไขมันในเลือด
  • การเพิ่มการรับประทานผักและผลไม้

การสูบบุหรี่

เป้าหมายต้องหยุดสูบบุหรี่ และไม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีบุหรี่

คำแนะนำ

  1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจจะต้องงดบุหรี่
  2. ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจจะต้องไม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สูบบุหรี่
  3. สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ไม่ได้อาจจะใช้แผ่นนิโคติน หรือยาช่วย

ไขมันในเลือดสุง

ไขมันในเลือดสูงจะเป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหลอดเลือดสมองตีบดังนั้นผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวข้างต้นจะต้องควบคุมระดับไขมันมิให้สูง

เป้าหมายของระดับไขมันในเลือด

  • LDL cholesterol < 100 mg/dL
  • กรณีที่ triglyceride มากกว่า 200 mg/dL ค่า non-HDL cholesterol ควรจะน้อยกว่า 130 mg/dL. (ค่าNon-HDL cholesterol เท่ากับค่า total cholesterol ลบ HDL cholesterol.)

วิธีการลดไขมันในเลือด

  • ควบคุมปริมาณไขมันโดยรับประทานไขมันอิ่มตัว saturated fats น้อยกว่า 7% ของพลังงานทั้งหมด และมีปริมาณไขมัน Trans และ cholesterolน้อยกว่า 200 mg/d
  • ให้รับประทาน plant stanol/sterols ประมาณ 2 g/d และใยอาหาร มากกว่า 10 g/d
  • ให้ออกกำลังกาย และลดน้ำหนัก
  • ให้รับประทานไขมัน omega-3 fatty acids ในรูปแบบ ปลา หรือยา 1 กรัมต่อวัน
  • หากไขมัน triglyceride สูงก็ให้ยาลดไขมัน
  • ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ และ TIA จะให้การรักษาด้วยยาลดไขมันกลุ่ม Statin เมื่อระดับ LDL-C มากกว่า 100

ภาวะผิดปกติของน้ำตาล

เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะพบว่ามีโรคเบาหวานร่วมด้วย ดังนั้นผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องตรวจระดับน้ำตาลทุกราย

เป้าหมาย

เป้าหมายของการควบุมเบาหวานคือระดับน้ำตาลเฉลี่ย glycosylated hemoglobin (HbA1c) ต้องน้อยกว่า7%.

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ควรจะได้รับการตรวจเลือดว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ วิธีการตรวจหรือเวลาที่จะตรวจให้พิจารณาเป็นรายๆ
  • การรักษาเบาหวานให้ทำตามเกณฑ์ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ค่าน้ำตาลเฉลี่ยใกล้เคียงค่าเป้าหมาย
  • รักษาความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดอื่นๆเช่น การออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมความดันโลหิต ควบคุมไขมันในเลือด

ภาวะอ้วน และ ภาวะอ้วนลงพุง Metabolic Syndrome

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะมีภาวะอ้วนมากถึงร้อยละ 18-44 ภาวะอ้วนหมายถึงผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง กลไกเชื่อว่าคนอ้วนจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันดลหิตสูง ไขมันในเลือดสุง ภาวะดื้อต่ออินซูลิน และ การอักเสบ ความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจะเริ่มเพิ่มตั้งแต่ดัชนีมวลกายที่ 20 กิโลกรัม/ตารางเมตร พบว่าดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้นทุก 1 กิโลกรัม/ตารางเมตร ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5

ค่าเป้าหมายอยู่ที่

  • ค่าดัชนีมวลกายเป้าหมายอยู่ที่ 18.5-23.9 kg/m2
  • เส้นรอบเอวน้อยกว่า 34 และ 32 นิ้วในชายและหญิงตามลำดับ

คำแนะนำ

  1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง TIA ทุกคนควรจะได้รับการประเมินดัชนีมวลกาย (Class I; Level of Evidence C)
  2. แม้ว่าการลดน้ำหนักจะมีผลต่อการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ผลต่อโรคหลอดเลือดสมองยังไม่ชัดเจน
  3. มีการประเมินดัชนีมวลกาย หรือเส้นรอบเอวทุกครั้ง และแนะนำให้ผู้ป่วยคุมน้ำหนัก
  4. หากดัชนีมวลกายหรือเส้นรอบเอวเกินให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  5. เป้าหมายระยะแรกให้ลดน้ำหนักลงประมาณร้อยละ10 จากค่าเริ่มต้น

การออกกำลังกาย

สมาคมโรคหัวใจของอเมริกาแนะนำให้มีการออกกำลังกายแบบแอร์โรบิคสัปดาห์ละ5 วันครั้ง 30 นาที ปัญหาที่เกิดกับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองคือการอ่อนแรง การทรงตัว ความรู้สึกทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีการออกกำลังกายน้อย

  1. สำหรับผู้ป่วยที่สามารถออกกำลังกายได้แนะนำให้ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-4 ครั้งครั้งละ40นาที หรือจนเหงื่อออกออกหรือใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว อาจจะออกกำลังโดยการเดินเร็ว จ้อกกิ้ง และการขี่จักรยาน
  2. ก่อนที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจจะออกกำลังกายจะต้องประเมินความเสี่ยงและทดสอบ exercise test ก่อนออกกำลัง
  3. ให้ออกกำลังกาย 30-60 นาทีโดยการเดินเร็ว และเสริมด้วยการปรับพฤติกรรมเช่น งานบ้าน งานสวน เดินไปทำงาน
  4. ส่งเสริมให้ออกกำลังกายดดยการยกน้ำหนัก 2 วันต่อสัปดาห์
  5. สำหรับผู้ป่วยที่อยากจะออกกำลังกายจะต้องอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่
  6. สำหรับผู้ที่ไม่สามารถจะออกกำลังกายจะต้องอยู่ในการดูแลของนักกายภาพเพื่อกระตุ้นให้มีการออกกำลังกาย
  7. สำหรับผู้ป่วยที่เสี่ยงเช่นหลังเกิดโรคหลอดเลือดหัวในใหม่ๆ หรือมีภาวะหัวใจวายต้องอยู่ในความดูแลของแพทย

ภาวะโภชนการ

ภาวะโภชนาการเกินได้กล่าวไว้ในภาวะอ้วนหรือ metabolic syndrome สำหรับหรับภาวะทุโชนาการจะกล่าวต่อไป

ภาวะทุโภชนาการ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาจจะมีภาวะทุโภชนาการเนื่องจากปัญหาโรคของผุ้ป่วย ผู้ป่วยไม่สามารถจะรับประทานอาหารเองได้ หรือมีปัญหาการดูดซึม แต่มีปัญหาเรื่องการประเมินภาวะทุโภชนาการ ซึ่งอาจจะใช้การประเมินดัชนีมวลกาย ระดับ albumin ในเลือด เส้นรอบแขน ความหนาของผิวหนัง ประเมินกันว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะมีภาวะทุโภชนการประมารร้อยละ8-13

คำแนะนำ

  1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทุกรายจะต้องมีการประเมินภาวะโภชนาการทั้งเกินและขาด
  2. ผู้ป่วยที่มีภาวะทุโภชนาการจะต้องปรึกษาโภชนากร
  3. ไม่แนะนำการให้วิตามินโดยไม่มีข้อบ่งชี้
  4. ให้รับปรทานเกลือไม่เกิน 2.4 กรัม( 1 ชช) หากต้องการลดความดันลงอีกให้ลดเกลือลงเหลือ 1.5 กรัม(ครึ่งชช)
  5. ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองแนะนำให้รับประทานอาหารเมดิเตอร์เรเนียนแทนอาหารไขมันต่ำ อาหารเมดอเตอร์เรเนียนจะเน้น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว เนื้อสัตว์ที่ไขมันต่ำเช่น เนื้อปลา ไก่ เป็ด น้ำมันมะกอก



นอนกรน

พบว่าผู้ป่วยมากกว่าครึ่งของโรคหลอดเลือดสมองจะมีภาวะนอนกรน Obstructive Sleep Apnea (การวัดว่าเป็นโรคนอนกรนหรือไม่จะวัดจำนวนครั้งต่อชั่วโมงที่หยุดหายในในขณะหลับ หากมากกว่า 5 ครั้งต่อชั่วดมงจะถือว่าเป็นโรคนี้ ความรุนแรงจะตามจำนวนครั้งของการหยุดหายใจ)

  1. เนื่องจากพบผู้ป่วยนอนกรนจำนวนมากในกลุ่มผุ้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ดังนั้นจึงควรจะตรวจว่าเป็นโรคนี้หรือไม่
  2. ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนอนกรนควรจะได้รับการรักษาด้วย CPAP

การดื่มสุรา

คำแนะนำ

  1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ดื่มหนักควรจะลดการดื่มลง
  2. การดื่มอย่างพอเหมาะ(ผู้ชายไม่เกิน 2 ดื่ม ผู้หญิงไม่เกิน 1 ดื่ม)

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง

อาการของโรค

การสูบบุหรี่

การป้องกันการเกิดซ้ำ