ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด19
การแพร่กระจายของเชื้อโควิด | อาการของโรคโควิด19 | ความรุนแรงของโรคติดเชื้อโอไมครอน | การติดต่อของโรคโควิด | การติดเชื้อโควิคจะเกิดได้ง่ายที่สุดช่วงไหน | เมื่อสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นโควิดจะต้องกักตัวนานแค่ไหน | เมื่อติดโรคโควิดแล้วต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง | ฉันจะกลับไปใกล้ชิดกับผู้อื่นได้ต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ | ฉีดวัคซีนแล้วจะป้องกันการติดเชื้อโควิคได้หรือไม่ | การป้องกันการติดเชื้อโควิด | การตรวจหาการติดเชื้อโควิด19

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโอไมครอน
คนที่ติดเชื้อโอไมครอนจะมีอาการเร็วกว่าการติดเชื้อโควิด19ชนิดอื่นกล่าวคือ ผู้ติดเชื้อ omicron จะมีอาการหลังติดเชื้อประมาณ 3 วันในขณะที่เชื้อดั้งเดิมจะมีอาการหลังติดเชื้อประมาณ 5-6 วัน ส่วนสายพันธุ์เดลต้าจะมีอาการหลังติดเชื้อประมาณ 5 วัน การที่มีอาการเร็วก็หมายถึงว่าเชื้อสามารถแพร่กระจายโดยที่คนติดเชื้ออาจจะไม่มีอาการ
การแพร่กระจายของเชื้อโควิด
ระยะฟักตัวของโรค incubation Period
เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายก็จะมีการแบ่งตัวภายในเซลล์ของร่างกาย เมื่อจำนวนเชื้อแบ่งตัวได้มากถึงจำนวนหนึ่งก็จะเกิดอาการของโรคเราเรียกระยะเวลานี้ว่าระยะฟักตัวของโรค ในแต่ละคนระยะฟักตัวของโรคไม่เท่ากัน และระยะฟักตัวของแต่ละโรคก็ไม่เท่ากัน ระยะฟักตัวของโลกโควิค19 จะอยู่ประมาณ 2 ถึง 14 วัน โรค จากรายงานของ CDC พบว่าร้อยละ 95 ของผู้ป่วยจะเกิดอาการภายในระยะเวลา 11.5วัน โดยเฉลี่ยจะเกิดอาการของโลก covid หลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 5 วัน
สรุป
ระยะฟักตัวของโรคโควิดจะอยู่ประมาณ 2 ถึง 14 วันเฉลี่ยประมาณ 5 วันหลังจากได้รับเชื้อเชื้อกลายพันธุ์เช่น เดลต้า omicron จะมีระยะฟักตัวที่สั้นกว่าเชื้อโควดิดั้งเดิมเช่นเชื้อ Delta ระยะฟักตัวจะเหลือประมาณ 4 วัน
อาการของโรคโควิด19
อาการของโรคโควิตที่พบได้บ่อยที่สุดได้แก่
-
ไข้
-
ไอแห้งๆ
-
อ่อนเพลีย
อาการอื่นๆที่อาจพบได้ในผู้ป่วยโรค covid
-
หนาวสั่น
-
หายใจเหนื่อย
-
ปวดกล้ามเนื้อ
-
แสบคอ
-
คัดจมูกน้ำมูกไหล
-
จมูกไม่ได้กลิ่น หรือรับรส
-
อาการระบบทางเดินอาหารได้แก่คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง
เป็นโรคโควิดจะเกิดอาการอะไรก่อน
จากการศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยโรคโควิดพบว่าอาการของการเกิดโรคเป็นตามลำดับดังนี้
-
มีไข้
-
ไอแห้งๆ
-
แสบคอ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ
-
คลื่นไส้ อาเจียน
-
ท้องร่วง
แต่อย่างไรก็ตามอาการของผู้ป่วยโรคโควิดก็ไม่ได้รียงตามขั้นตอนดังกล่าวทุกรายไป
อาการของการติดเชื้อโอไมครอน
อาการของคนที่ติดเชื้อOmicronจะมีอาการเหมือนไข้หวัดแต่อาการที่พบได้บ่อย 5อาการได้แก่
-
น้ำมูกไหล
-
แสบคอ
-
คัดจมูก
-
ปวดศีรษะ
-
ไอแห้งๆ
-
ไข้
อาการของผู้ป่วยที่ได้วัคซีนเมื่อติดเชื้อ Omicron จะมีอาการแสบคอ ไอแห้งคัดจมูก จาม ปวดตามตัวนอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆที่อาจพบได้คือคลื่นไส้อาเจียนและท้องร่วง อาการสำหรับผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนจะมีแนวโน้มที่อาการจะเป็นนานกว่าและรุนแรงกว่า เริ่มต้นอาจจะอาการไม่ต่างกับคนที่ได้วัคซีนแต่จะดำเนินของโรคจะเป็นไปทางที่แย่ลง เช่น ไข้ ไอ ปวดตามตัว หายใจลำบากจนกระทั่งเป็นปอดบวม สำหรับการวิจัยที่อังกฤษพบว่าอาการที่สำคัญ 5 อาการของผู้ติดเชื้อ Omicron ได้แก่น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย จาม และแสบคอ ส่วนเรื่องการรับรส หรือการได้กลิ่นยังปกติซึ่งแตกต่างจากสายพันธ์เดลต้า
ผู้ป่วยกลุ่มไหนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคโควิดชนิดรุนแรง
ผู้ป่วยโรคโควิดร้อยละ 80 จะมีอาการเบาและหายได้เองแต่ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงได้แก่
-
ผู้สูงอายุ
-
กลุ่มซึ่งมีโรคประจำตัวเช่นถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง
-
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอเช่นโรคมะเร็ง โรคเอดส์
-
ผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน
จากการศึกษาที่ประเทศจีนพบว่าอาการของโรคโควิดที่มีโรคแทรกซ้อนหลังจากเกิดอาการของโควิคแล้วประมาณ 5-8 วัน
-
หายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบาก
-
แน่นหน้าอกจุกหน้าอก
-
ริมฝีปากผิวหนังและเล็บซีด หรือออกสีม่วง
-
ลุกขึ้นนั่งลำบาก
-
สับสน
หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นต้องรีบติดต่อโรงพยาบาลเพื่อรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล
ความรุนแรงของโรคติดเชื้อโอไมครอน
จากข้อมูลที่รวบรวมได้พบว่าผู้ติดเชื้อ Omicronจะนอนโรงพยาบาลน้อยกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม และใช้เวลาในการรักษาในโรงพยาบาลสั้นกว่า แต่ผู้ป่วยที่สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัวและโดยเฉพาะไม่ได้รับการฉีดวัคซีนจะมีอาการที่รุนแรงได้ อาการของผู้ป่วยที่รุนแรงได้แก่อาการไข้และอาการทางปอดซึ่งจะต้องได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน
การติดต่อของโรคโควิด
ทางเสมหะ
covid ติดต่อจากคนสู่คนโดยผ่านทางเสมหะซึ่งเกิดขณะที่เราพูด หัวเราะ จาม หรือไอ เสมหะซึ่งมีไวรัสอยู่จะเข้าทางจมูกปากตาและทำให้เกิดการติดเชื้อ ผู้ติดเชื้อ covid จำนวนมากที่ไม่มีอาการของโควิคแต่สามารถแพร่เชื้อได้เรียกว่า ผู้ติดเชื้อบางรายจะสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนที่จะเกิดอาการของโรคเรียกการแพร่เชื้อนี้ว่า presymptomatic transmission ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ง่ายเช่น
-
บ้านหรือสถานที่คนอยู่รวมกันเช่น บ้านพัก บ้านพักผู้สูงอายุ หอพัก โรงงาน
-
อากาศถ่ายเทไม่ดี
-
สถานที่อัดคนอยู่จำนวนมากอากาศถ่ายเทไม่ดีและมีคนที่สวมหน้ากากอนามัยไม่ถูกต้อง
การสัมผัส
โดยการเอามือไปสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อแล้วเอามือนั้นเข้าปาก จมูก และตา การติดต่อวิธีนี้ไม่ใช่วิธีหลักในการระบาด
การสวมหน้ากากอนามัยจะเป็นการป้องกันการติดเชื้อโควิคได้ดีโดยเฉพาะกรณีที่คนติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ โดยแนะนำว่าให้สวมหน้ากากอนามัยทุกคนเมื่ออยู่ในอาคารโดยเฉพาะ
-
ผู้ที่ฉีดวัคซีนไม่ครบ
-
ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแต่ไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโควิดสูง
-
ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแต่มีภูมิของร่างกายอ่อนแอ
สำหรับนอกอาคารก็ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากแต่ให้สวมหน้ากากในบริเวณซึ่งมีคนแออัดอากาศถ่ายเทไม่ดี และมีความเสี่ยงในการสัมผัสโรคสูงก็ให้พิจารณาสวมหน้ากาก
การติดเชื้อโควิคจะเกิดได้ง่ายที่สุดช่วงไหน
จากการศึกษาพบว่าในระยะสัปดาห์แรกจะพบเชื้อโควิคในระบบทางเดินหายใจแต่เมื่อผ่านไปแล้ว 9 วันก็ตรวจไม่พบเชื้อหมายความว่าเมื่อติดเชื้อแล้ว 9 วันเชื้อก็จะไม่ ติดต่อ นักวิจัยพบว่าช่วงที่จะมีการติดต่อได้ง่ายๆคือในช่วง 6 วันโดยจะโดยคนติดเชื้อจะแพร่เชื้อได้ 2 วันก่อนเกิดอาการและหลังเกิดอาการจะแพร่เชื้อได้อีก 3 วัน
สรุป
จากหลักฐานการวิจัยพบว่าเชื้อจะสามารถแพร่ได้ 2 วันก่อนเกิดอาการและ 3 วันหลังจากเกิดอาการ
เมื่อสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นโควิดจะต้องกักตัวนานแค่ไหน
แบ่งออกเป็นผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนไม่ครบและผู้ที่ได้รับการฉีดสัคซีนครบ
ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนไม่ครบ
หากท่าน ได้สัมผัสผู้ป่วยที่ติดโควิคใกล้ชิดเช่นอยู่ในระยะ 6 ฟุตคุยกันเกิน 15 นาทีท่านก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดท่านจะต้องกักตัวดังต่อไปนี้
-
อยู่บ้าน 14 วันหลังจากสัมผัสกับผู้ป่วยครั้งสุดท้าย
-
เว้นระยะห่างกับผู้อื่น
-
ติดตามอาการของโควิคทุกวัน
สำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ
หากท่านสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็น covid ให้ท่านปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้
-
ติดตามอาการของโควิค
-
ให้ตรวจ ATK หลังจากสัมผัสแล้ว 5-7 วัน
-
ให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในอาคารเป็นเวลา 10 วันหรือจนกระทั่งผลตรวจให้ผลลบ
มีข้อยกเว้นว่าท่านจะต้องไปพบแพทย์แม้ว่าจะฉีดวัคซีนครบได้แก่กลุ่มคนที่
-
สูงอายุ
-
ผู้ที่มีโรคประจำตัว
-
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
-
คนตั้งครรภ์
เมื่อติดโรคโควิดแล้วต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง
เมื่อติดโรคโควิดแล้วให้ปฏิบัติตัวดังนี้
-
อยู่บ้าน จะออกนอกบ้านเพื่อพบแพทย์เท่านั้น
-
แยกตัวเองออกจากสมาชิกในครอบครัวให้มากที่สุด
-
สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องเข้าใกล้ผู้อื่น
-
ดื่มน้ำให้พอ
-
ติดตามอาการ หากอาการแย่ลงให้ไปพบแพทย์
ฉันจะกลับไปใกล้ชิดกับผู้อื่นได้ต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
-
ใช้เวลาอย่างน้อย 10 วันตั้งแต่มีอาการของโรคโควิด
-
ไม่มีไข้อย่างน้อย 24 ชั่วโมงโดยที่ไม่ได้ใช้ยาลดไข้
-
อาการต่างๆดีขึ้น
ฉีดวัคซีนแล้วจะป้องกันการติดเชื้อโควิคได้หรือไม่
จากรายงานพบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนครบกำหนดยังสามารถติดเชื้อได้ประมาณร้อยละ 2.6 โดยที่ผู้ติดเชื้อมักจะไม่มีอาการหรือมีอาการแต่น้อย ดังนั้นผู้ที่ฉีดวัคซีนครบอาจจะนำเชื้อไปติดคนรอบข้างจึงต้องระมัดระวังเรื่องของการแพร่เชื้อสำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ แม้ว่าการฉีดวัคซีนจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% แต่การฉีดวัคซีนก็มีประโยชน์ดังต่อไปนี้
-
การฉีดวัคซีนจะลดการติดเชื้อของคนในครอบครัวพบว่าครอบครัวของผู้ที่ฉีดวัคซีนจะมีการติดเชื้อประมาณร้อยละ 25 ส่วนครอบครัวที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนจะมีการติดเชื้อประมาณร้อยละ 38
-
ไวรัสโควิดสามารถแพร่กระจายไปยังผู้ที่ฉีดวัคซีนและไม่ได้ฉีดวัคซีน
-
ผู้ที่ฉีดวัคซีนจะหายได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน
การป้องกันการติดเชื้อโควิด
-
วัคซีน
วิธีป้องกันการติดเชื้อได้ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน วัคซีนที่ใช้มีด้วยการหลายชนิดได้แก่
-
ชนิดเชื้อตาย
-
ไวรอล Vector
-
mrna
-
proteins unit
-
ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อและอาการรุนแรง เช่นผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนควรจะสวมหน้ากากอนามัยครอบทั้งปาก และจมูกโดยเฉพาะในบริเวณซึ่งมีผู้คนหนาแน่นและมีการติดเชื้อมากหรือคุณไม่ได้ฉีดวัคซีน
-
ล้างมือให้ล้างมือบ่อยๆเดี๋ยวจะเพาะอยู่ในที่สาธารณะล้างมือก่อนที่จะเอามือจับหน้าเอามือเข้าปากจมูก หรือตาโดยใช้น้ำและสบู่เป็นเวลาอย่างน้อย 20 นาทีหากไม่มีน้ำและสบู่ใช้แอลกอฮอล์เหลว
-
ให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 6 ฟุตจับคนอื่น
-
หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดที่มีคนอยู่มากและอากาศถ่ายเทไม่ดีเช่นตลาด บ่อนการพนัน สถานบันเทิง สนามมวย
-
ให้เช็ดถูพื้นผิวที่สัมผัสบ่อยเช่นลูกบิดประตูคีย์บอร์ดราวบันได
บทสรุป
ผู้ที่ได้รับเชื้อโควิคมักจะเกิดอาการภายหลังได้รับเชื้อ 2-14 วันโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 5 วันเชื้อไก่พันธุ์เช่นเดลต้าหรือ omicron จะมีระยะฟักตัวต่ำกว่านี้ ระยะที่มีการแพร่เชื้อได้มากก็คือ 2 วันก่อนเกิดอาการและ 3 วันหลังจากเกิดอาการหลังจากมีอาการแล้ว 9 วันก็ไม่พบเชื้อในทางเดินหายใจ
การหายจากโรคโควิด
พูดติดเชื้อ Omicron ที่มีอาการเบามักจะหายเป็นปกติใน 1-2 สัปดาห์ตั้งแต่เกิดอาการ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงใช้เวลา 6 สัปดาห์หรือมากกว่าและอาจจะมีความพิการเกิดขึ้นกับหัวใจไตปอดและสมอง ผู้ติดเชื้อ Omicron ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องเข้า ICU นอกเสียจากว่าผู้ป่วยมีโรคประจำตัวมากทำให้ต้องดูแลใกล้ชิด
สรุป
แนะนำให้ประชาชนฉีดวัคซีนเนื่องจากว่าการฉีดวัคซีนจะทำให้การติดเชื้อโควิดOmicron ไม่รุนแรง
การตรวจหาการติดเชื้อโควิด19
การตรวจว่ามีการติดเชื้อโควิด19หรือไม่มีการตรวจสองวิธีคือ
-
การตรวจหา Antigen เป็นการตรวจว่ามีเชื้อในร่างกายหรือไม่
-
การตรวจหา Antibody เป็นการตรวจว่าร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิดหรือไม่
การตรวจหา Antigen
การตรวจ Antigen เป็นการตรวจหาว่าร่างกายเรามีเชื้อโควิด19 หรือไม่โดยการเก็บสารคัดหลั่งที่จมูก คอหรือน้ำลายมาตรวจซึ่งมีวิธีการตรวจสองวิธีคือ
-
ATK เป็นการน้ำสารคัดหลังจากจมูก คอหือน้ำลายมาทดสอบการตรวจนี้ให้ผลค่อนข้างเร็ว และสามารถตรวจได้ด้วยตัวเอง
-
RT-PCR เป็นการตรวจหาปริมาณเชื้อว่ามีมากหรือน้อย การตรวจ RT-PCR มีความแม่ยำกว่าการตรวจ ATK ส่วนผลการตรวจอาจจะใช้เวลาเป็นวันจึงจะทราบผล
การตรวจภูมิคุ้มกัน Antibody
การภูมิคุ้มกันจะต่างจากการตรวจหาเชื้อที่การตรวจภูมิคุ้มกันจะตรวจจากเลือดผุ้ป่วย การตรวจภูมิจะใช้ในการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิดไม่ได้ ถ้าค่าภูมิขึ้นแสดงว่าเคยติดเชื้อโควิดมาก่อน การตรวจภูมิไม่แนะนำให้ตรวจเพื่อ
-
วินิจฉัยว่ากำลังติดเชื้อโควิด
-
ตรวจภูมิว่าขึ้นหรือไม่หลังจากการฉีดวัควีน
-
ตรวจเพื่อพิจารณาว่าจะฉีดเข็มกระตุ้นหรือไม่
-
ตรวจเพื่อพิจารณาว่าจะกักตัวหรือไม่เมื่อสัมผัสผู้ป่วยโควิด
โรคโควิด19เกิดจากการติดเชื้อโคโรนาไวรัสพบครั้งแรกที่เมืองวูฮั่นประเทศจีนในปี คศ 2019 โรคนี้ติดต่อง่ายและระบาดไปทั่วโลก อาการที่สำคัญจะมีอากาศเหมือไข้หวัด ปอดบวม และอาจจะลามไปอวัยวะอื่นๆ