การติดเชื้อราดำ Mucormycosis

เชื้อราดำคืออะไร

การติดเชื้อราดำ Mucormycosis พบน้อยเกิดจากการติดเชื้อรากลุ่ม mucormycetes ซึ่งพบใน

  • เศษใบไม้ที่หมัก
  • การหมักปุ๋ย
  • ดิน
  • ไม่ผุๆ

เชื้อนี้ให้เกิดการติดเชื้อที่ ไซนัส ติดเชื้อที่ปอด ผิวหนัง ตาและสมอง มักจะติดเชื้อในคนที่มีโรคประจำตัวอยู่ก่อน เช่น โรคเบาหวาน โรคที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี หรือกลุ่มคนที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการน้ำท่วม แผ่นดิไหว พายุ โดยเชื้อจะเข้าตามบาดแผล คนปกติอาจจะติดเชื้อจากการหายใจเอาเชื้อนี้เข้าไป หรือเข้าตามผิวหนังที่มีแผลเมื่อเราไปสัมผัสกับน้ำ หรือดิน

ใครที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อราดำ

การดำเนินชีวิตปกติเราจะสัมผัสกับราดำ แต่ไม่เกิดโรคเนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ดีของคน แต่หากคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากโรคหรือยาก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อราดำ ภาวะดังกล่าวได้แก่

  • โรคเบาหวานโดยเฉพาะผู้ที่ควบคุมเบาหวานไม่ดี
  • โรคมะเร็ง
  • การปลุกถ่ายอวัยวะ
  • การปลุกถ่ายเซลล์ต้นแบบ Stem cell transplant
  • ผู้ที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ
  • ผู้ที่ใช้ steroid เรื้อรัง
  • ผู้ที่มีฐาตุเหล็กในเลือดสูง
  • ผู้ที่ขาดสารอาหาร
  • ทารกคลอดก่อนกำเนิด
  • ภาวะกรดในเลือด
  • แผลไฟไหม้
  • ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว พายุ

โรคติดเชื้อราดำไม่ใช่โรคติดต่อ


การติดเชื้อราในปอด

อาการของการติดเชื้อราดำ

การติดเชื้อราดำมีกลุ่มอาการห้ากลุ่มได้แก่

  1. กลุ่มอาการติดเชื้อทางเดินหายใจและสมอง(Rhinocerebral mucormycosis) เป็นการติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุด การติดเชื้อพบในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี ผู้ป่วยปลุกถ่ายไต ผู้ป่วยปลุกถ่ายไขกระดูกการติดเชื้อราดำจะเริ่มในรูจมูก ลุกลามไปยังไซนัส ไปที่กระบอกตา และลามเข้าสมอง อาการสำคัญได้แก่
  • หน้าบวมด้านเดียว ปวดใบหน้า
  • ปวดศีรษะ โรคแทรกซ้อนที่สำคัญของการติดเชื้อราดำทางจมูกคือเชื้อราดำลุกลามเข้าสมองทำให้เกิดการอักเสบของสมอง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศรีษะ บวม และแดงส่วนหน้าผาก บางรายอาจจะมีปัญหาเรื่องความจำ ซึมลง
  • บวมบริเวณแก้มข้างหนึ่ง รวมทั้งจมูก และบวมขอบตาร่วมกับอาการปวดบริเวณโหนกแก้มข้างหนึ่ง เชื้ออาจจะลามมาที่ผิวหนังทำให้เห็นเป็นแผลดำซึ่งเป็นอาการที่สำคัญของการติดเชื้อราดำที่ไซนัส
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล เชื้อราดำจะทำให้มีการอักเสบของไซนัสและช่องจมูกทำให้เกิดอาการคัดจมูกข้างเดียว และมีน้ำมูก
  • มีไข้
  • หากเชื้อลุกลามจะมีอาการหนังตาตก มีปัญหาเรื่องสายตา
  • เห็นรอยแผลดำที่สันจมูกหรือในปาก เชื้อราดำอาจจะมีการทำลายกระดูกโหนกแก้ม ขากรรไกร จมูก บวมเนื้อเยื่อในช่องจมูกและมีสะเก็ดสีดำ
  • มีปัญหาเรื่องการมองเห็น เชื้อราดำอาจจะทำลายเส้นประสาทตา ทไให้มัปัญหาการมองเห็น บางรายตาบอดถาวร
  1. กลุ่มอาการติดเชื้อในปอด(Pulmonary mucormycosis) มักจะเกิดกับคนไข้ที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือด และมีเม็ดเลือดขาวต่ำมาก ผู้ป่วยจะมีอาการ
  • ไข้
  • ไอ
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจลำบาก
  • มักจะลุกลามไปหลอดเลือดทำให้เกิดโพรงในปอด แะไอเป็นเลืด
  1. กลุ่มอาการติดเชื้อที่ผิวหนัง(Cutaneous mucormycosis)  การติดเชื้อที่ผิวหนังอาจจะเกิดผิวหนังที่ได้รับบาดเจ็บเช่นไฟไหม้ หรือได้รับบาดเจ็บอื่นๆได้รับเชื้อโดยตรง ทำให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าว บวม แดง มีหนองและมีเนื้อตายสีดำ การติดเชื้ออีกชนิดหนึ่งเชื้อมาตามกระแสเลือดทำให้ผิวหนังอักเสบ บวม แดง
  • ปวดบริเวณแผล
  • ร้อนรอบแผล
  • แดงรอบแผล
  • บวมรอบแผล
  1. กลุ่มอาการติดเชื้อทางเดินอาหาร(Gastrointestinal mucormycosis)  พบน้อยเกิดจากคนได้รับประทานเชื้อ มักจะพบในทารกคลอดก่อนกำหนด หรือผู้ที่ขาดอาหาร จะมีอาการ
  • ปวดแน่นท้อง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาจจะมีเลือดออกทางเดินอาหาร
  1. กลุ่มอาการแพร่กระจายตามกระแสเลือด(Disseminated mucormycosis) หากมีการติดเชื้อและเชื้อนั้นแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด ตำแหน่งที่เชื้อไปได้แก่ สมอง ม้าม หัวใจ ผิวหนัง อาการของโรคในกลุ่มนี้ขึ้นกับว่าติดเชื้อที่อวัยวะไหน และมีอาการตามอวัยวะที่ติดเชื้อ

การติดเชื้อราดำอาจจะมีการแพร่กระจายไปตามกระแสเลือดที่เรียกว่าโลหิตเป็นพิษ เชื้อราดำจะไปยังม้าม หัวใจ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะทำให้ผู้ป่วยหมดสติ

การวินิจฉัยติดเชื้อราดำ

  • การวินิจฉัยโรคเริ่มจากประวัติการเจ็บป่วยในอดีตว่ามีโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงหรือไม่ ประวัติยาที่รับประทาน นอกจากนั้นก็ประวัติพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อว่ามีหรือไม่
  • ประวัติต่อมาก็ประวัติการเจ็บป่วยครั้งนี้ เรื่องไข้ น้ำมูก ไอ ปวดหัว ปวดจมูก
  • การตรวจร่างกายจะเน้นตามประวัติการเจ็บป่วย
  • การตรวจพิเศษ ขึ้นกับอวัยวะที่ติดเชื้อ เช่นหากสงสัยไซนัสก็ต้องตรวจรังสีไซนัส หากสงสัยว่าติดเชื้อในปอดก็ต้องตรวจรังสีปอด หรือการตรวจ CT
  • การตรวจชิ้นเนื้อ และการเพาะเชื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัย


การรักษาเชื้อราดำ

เมื่อได้รับการวินิจฉัยจะต้องรีบให้การรักษาให้เร็วที่สุด การรักษาจะต้องประกอบไปด้วยการผ่าตัดเอาเนื้อตายทิ้งและการรักษาด้วยยารักษาเชื้อราได้แก่

  • Amphotericin B
  • Isavuconazole
  • Posaconazole

ในช่วงแรกแพทย์จะให้ยาขนาดสูงทางน้ำเกลือ เมื่อควบคุมโรคได้แพทย์จะลดขนาดยาลง และอาจจะเปลี่ยนเป็นยารับประทาน

ผู้ป่วยที่เป็นมากหรืออาการรุนแรง แพทย์อาจจะต้องผ่าเอาเนื้อตายออก เช่นที่จมูก ตา

นอกจากนั้นจะต้องรักษาโรคประจำตัวด้วย

โรคแทรกซ้อนของการติดเชื้อราดำ

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่

  • ตาบอด
  • เกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • มีการทำลายเส้นประสาท
  • เลือดออกในปอด
  • เลือดออกทางเดินอาหาร

การป้องกันการติดเชื้อราดำ

สภาพอากาศปกติจะมีเชื้อราดำน้อย คนเราจะได้เชื้อราดำจากสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อมากดังกล่าวข้างต้น

การป้องกันที่ดีคือการลดโอกาศที่จะสูดดมเชื้อราดำ

  • หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีฝุ่น หรือดิน เช่นสถานที่ก่อสร้าง หรือสถานที่มีการขุด หากจำเป็นต้องเข้าในบริเวณดังกล่าวจะต้องสวมหน้ากาก N95
  • หลีกเลี่ยงแหล่งน้ำติดเชื้อ เช่นน้ำขังหลังน้ำท่วม น้ำขังบริเวณก่อสร้าง
  • หากผิวหนังมีแผลให้ล้างแผลด้วยน้ำสบู่
  • หากท่านมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมเกี่ยวกับฝุ่น ดิน เช่นการทำสวน ขุดดิน หากจำเป็นต้องมีกิจกรรมดังกล่าวให้สวมถุงมือ สวมรองเท้า สวมเสื้อแขนยาว สวมถุงมือเมื่อเสร็จงานให้ล้างเครื่องมือด้วยน้ำสบู่ และรีบอาบน้ำ

การติดเชื้อราดำในผู้ป่วยโควิด