โรคแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดสมอง
โรคแทรกซ้อนของสมองขาดเลือดแบ่งออกเป็นสองระยะได้แก่
โรคแทรกซ้อนในระยะเฉียบพลัน(ในเวลา 7 วันหลังเกิดอาการ)
- สมองบวมโดยมากจะเกิดภายใน 72 ชั่วโมงผู้ป่วยจะมีอาการซึมลง หากบวมมากจะทำให้มีการกดก้านสมองซึ่งอันตรายทำให้เสียชีวิตได้
- ขนาดของสมองขาดเลือดเพิ่มมากขึ้นหรือสมองขาดเลือดเป็นซ้ำ
- Hemorrhagic transformation of the infracted area หมายถึงมีเลือดออกบริเวณที่สมองขาดเลือด
- ชัก
- ปอดบวม
- เลือดออกทางเดินอาหาร
- ลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่เท้า
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
โรคแทรกซ้อน
โรคแทรกซ้อนของภาวะสมองขาดเลือดแบ่งออกเป็น โรคแทรกซ้อนที่เกิดหลังจากเกิดภาวะสมองขาดเลือดภายในหนึ่งสัปดาห์ ส่วนใหญ่เกิดจากการบวมของสมอง หรือเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมองได้แก่
- การเกิดคราบไปอุดซ้ำของภาวะผนังหลอดเลือดแดงหนา (Arteriosclerosis) ในหลอดเลือด
- อาการสมองบวม cerebral edema เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย
- มีเลือดออกจากหลอดเลือดแตก ทำให้อาการผู้ป่วยทรุดลง
- ความผิดปกติที่น้ำไขสันหลังคั่งในกะโหลกศีรษะเนื่องจากเกิดการอุดตันในหลอดเลือด ทำให้ความดันในสมองเพิ่มขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการซึมลงจนกระทั่งไม่รู้สึกตัว
ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่เกิดหลังจากเกิดอาการแล้วหนึ่งสัปดาห์มักจะเกิดจากการดูแลและภาวะจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงเช่น
- ปอดบวม (Pneumonia)เนื่องจากผู้ป่วยกลืนได้ไม่ดีจึงมีการสำลักน้ำลายหรืออาหาร เมื่อเวลาที่ผู้ป่วยดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารจะมีอาการไอหรือสำลักแสดงว่าผู้ป่วยมีปัญหาในการกลืน
- การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะเนื่องจากผู้ป่วยบางรายมีปัญหาในการขับปัสสาวะ นอกจากนั้นบางรายยังคาสายสวนปัสสาวะทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
- อาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ
- โรคเบาหวานน้ำตาลอาจจะสูงเกินไป หรือต่ำเกินไปจำเป็นต้องตรวจน้ำตาลให้ถี่ขึ้น
- การไม่สมดุลทางประจุของสารละลายอิเล็กโทรไลท์
- แผลกดทับ ผู้ป่วยไม่สามารถพลิกตัวเอง ดังนั้นจะต้องมีผู้ช่วยคอยพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันแผลกดทับ
โรคหลอดเลือดสมอง | ชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง | ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอัมพาตและการป้องกัน | อาการของโรคหลอดเลือดสมอง | อาการเตือนหลอดเลือดสมอง | การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง | การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง | การเตรียมตัวก่อนออกจากโรงพยาบาล | โรคแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมอง | หลังจากโรคหลอดเลือดสมอง | การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง