เลือดคั่งในสมอง Chronic subdural hematoma ระยะเรื้อรัง
เลือดคั่งในสมอง
เป็นภาวะที่มีเลือดออกในชั้น Subdura เรื้อรัง ภาวะเลือดคั่งในสมองมักจะเจอในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีซึ่งสมองเริ่มจะฝ่อ ทำให้เส้นเลือดที่ห้อยจากกระโหลกมายังสมองฉีกขาดเมื่อศีรษะได้รับอุบัติเหตุ เลือดเก่าที่คั่งบางส่วนจะสลายกลายเป็นน้ำเลือด ภาวะนี้จะเกิดเลือดออกหลายสัปดาห์ก่อน
- เลือดที่ออกจะค่อยๆไหลที่ละน้อยโดยที่ไม่มีอาการ จนกระทั่งมีเลือดมากพอจึงกดสมองทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ และมีอาการอ่อนแรง
- ผู้ป่วยน้อยกว่าครึ่งจะจำไม่ได้ว่าเกิดอุบัติเหตุเมื่อไร
- กลุ่มผู้ป่วยมักจะมีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ ดื่มสุราเรื้อรัง โรคลมชัก รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
สาเหตุของเลือดคั่ง subdural hematoma เรื้อรัง
สมองผู้สูงอายุจะเริ่มฝ่อทำให้ระยะห่างระหว่างสมอง และชั้น dura ยาวขึ้นจะทำให้เกิดการดึงรั้งของหลอดเลือดดำ เมื่อศีรษะได้รับอุบัติเหตุอาจจะไม่รุนแรงก็ทำให้มีการฉีกขาดของหลอดเลือดดำ ทำให้มีเลือดไหลออกมาสะสมช้าๆ
ปัจจัยเสี่ยงได้แก่
- ผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรัง
- ผู้ที่ใช้ยา aspirin,NSAID
- รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- โรคตับ หรือโรคเลือด ที่ทำให้เลือดออกง่าย
- ได้รับอุบัติเหตุทางศีรษะ
- ผู้สูงอายุ
อาการของโรคเลือดคั่งในสมอง subdural hematoma เรื้อรัง
เมื่อไรจึงสงสัยว่ามีเลือดออก subdural hematoma เรื้อรัง
ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการ อาการจะขึ้นกับขนาดของก้อนเลือด ตำแหน่งที่มีเลือดออก อาการทั่วไปได้แก่
- อาการที่พบได้บ่อยที่สุดคืออาการปวดศีรษะ
- สับสน หรือโคม่าหมดสติ
- ความจำเสื่อม
- คลื่นไส้อาเจียน
- พูดลำบาก หรือมีปัญหาการกลืน
- เดินเซ หรือมีปัญหาการทรงตัว
- โรคลมชัก
- อ่อนแรงแขนขาหรือใบหน้าครึ่งซีก
การวินิจฉัยเลือดคั่งในสมองsubdural hematoma เรื้อรัง
การวินิจฉัยจะทำ computer scan ของสมองจะพบรอยดำโดยมากอยู่สองข้างของสมอง
การตรวจร่างกายของแพทย์
แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกาย การตรวจร่างกายจะเน้นเรื่อง
- การทรงตัว
- การใช้มือทำงาน
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- การเดิน
- การรับรู้ความรู้สึก
- สภาพจิตใจ
การรักษาเลือดคั่งในสมองsubdural hematoma เรื้อรัง
เป้าหมายของการรักษาคือคุมอาการ และป้องกันสมองมิให้เสียหาย
- หากมีอาการชักให้ใช้ยากันชัก
- หากมีสมองบวมก็สามารถให้ยาลดการบวมการสมอง
การผ่าตัด Craniotomy
อาจจะเจาะกระโหลกศีรษะเป็นรูเพื่อระบายเลือด และน้ำเลือดออกโดยต่อท่อดูดออก
โรคแทรกซ้อนเลือดคั่งในสมอง subdural hematoma เรื้อรัง
- สมองพิการอย่างถาวร
- หลังจากหายจะยังคงมีอาการ
- วิตกกังวล
- สับสน
- ความจำเลอะเลือน
- มึนงง
- ปวดศีรษะ
- ความจำเสื่อม
- ชัก
เมื่อไรจะต้องไปพบแพทย์
- เมื่อมีอาการชัก
- ไม่ตอบสนองต่อคำสั่งหรือการเขย่าตัว
- หมดสติ
อาการดังกล่าวต้องรีบไปโรงพยาบาล