ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
เป็นเรื่องที่น่ายินดีว่าโรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ โดยท่านจะต้องเรียนรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยทั่วไปปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น
- ปัจจัยเสียงที่เปลี่ยนแปลงได้
- ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้แบ่งออกเป็น
- ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้แก่
- การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะทำให้หัวใจทำงานเพิ่มขึ้น และเกิดลิ่มเลือดได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็งด้วย
- การดื่มสุรา พบว่าการดื่มสุรามากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หากดื่มประมาณหนึ่งหน่วยสุราจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
- การออกกำลังกาย ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
- ภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วนจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน
- ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องใช้ยาได้แก่
- ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันมากกว่า 140/90 มม ปรอท จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น
- ไขมันในเลือดสูง
- หัวใจเต้นสั่นพริ้ว ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นสั่นพริ้วจะมีโอกาศเกิดลิ่มเลือดในหัวใจ ซึ่งมีโอกาศที่จะหลุดไปอุดหลอดเลือดสมอง
- โรคเบาหวาน โรคเบาหวานมักจะพบร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดแข็ง
- โรคหลอดเลือดแข็ง
ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ได้แก่
- อายุ อายุมากจะเสี่ยงเพิ่มขึ้น
- เพศ อายุน้อยเพศชายจะเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง แต่ผู้หญิงจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ชาย ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
- เชื้อชาติ บางเชื้อชาติจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูง
- ประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
- เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือ TIA มาก่อน
- ผนังหัวใจรั่ว patent foramen ovale
เมื่อท่านทราบความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมาประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
สาเหตุของหลอดเลือดสมอง | อาการของโรคหลอดเลือดสมอง |
โรคหลอดเลือดสมอง | ชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง | ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอัมพาตและการป้องกัน | อาการของโรคหลอดเลือดสมอง | อาการเตือนหลอดเลือดสมอง | การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง | การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง | การเตรียมตัวก่อนออกจากโรงพยาบาล | โรคแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมอง | หลังจากโรคหลอดเลือดสมอง | การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง