jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

 

หลักในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจะต้องค้นหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อค้นหาพบแล้วก็ให้ทำการปรับปรุง ปัจจัยเสี่ยงได้แก่

ปัจจัยเสี่ยงเรื่องโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

หัวใจเต้นสั่นพริ้ว Atrial Fibrillation

ผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติที่เรียกว่าหัวใจเต้นสั่นพริ้ว จะมีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดจากหัวใจไปอุดหลอดเลือดในสมองที่เรียกว่า embolic stroke ผู้ป่วยและผู้ดูแลจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับหัวใจเต้นสั่นพริ้วดังต่อไปนี้

 

การประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยง เสี่ยงสูง ให้ระวัง เสี่ยงต่ำ
ความดันโลหิตสูง >140/90 หรือไม่ทราบ 120-139/80-89 <120/80
หัวใจเต้นสั่นพริ้ว ไม่ทราบ หัวใจเต้นปกติ หัวใจเต้นปกติ
สูบบุหรี่ สูบบุหรี่ พยายามเลิกสูบ ไม่สูบบุหรี่
ระดับคอเลสเตอรอล >240 200-239 <200
เบาหวาน เป็น เสี่ยงต่อเบาหวาน ไม่เป็น
ออกกำลังกาย ไม่ออกกำลังกาย ออกกำลังกายบ้าง ออกกำลังประจำ
น้ำหนัก อ้วน น้ำหนักเกินเล็กน้อย น้ำหนักปกติ
โรคหลอดเลือดในครอบครัว มีประวัติ ไม่แน่ใจ ไม่มี
ผลรวม      

การแปรผล

ท่านจะต้องทราบอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง และรีบไปโรงพยาบาล

ปัจจัยเสี่ยงเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

อาหาร

การรับประทานอาหารจานสุขภาพจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีสุขภาพดีขึ้น และลดการเกิดโรคอ้วนลงพุง รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ รับประทานผักและผลไม้ให้มาก รับประทานธัญพืช ปลา ถั่ว นมพร่องมันเนย เนื้อไก่ เนื้อไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว เกลือ น้ำตาล แนวทางอาหารเพื่อสุขภาพได้แก่

ตัวอย่างอาหาร 2-1-1

 

การออกกำลังกาย

ผู้ที่ออกกำลังกาย 5 วันต่อสัปดาห์จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คำแนะนำในการอกกำลักาย

ให้หยุดสูบบุหรี่

ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มสองเท่าของคนไม่สูบ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง เกิดลิ่มเลือดได้งาย และเพิ่มคราบที่ผนังหลอดเลือด ควรจะเลิกสูบบุหรี่ งดการสูบบุหรี่ เนื่องจากสารเคมีในบุหรี่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็งและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนั้นคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่หากได้รับควันบุหรี่จากผู้ที่สูบก็ได้รับความเสี่ยงเช่นกัน

การดื่มสุรา

การดื่มสุรามากจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมองจึงแนะนำให้ดื่มไม่เกิน2 และ1 หน่วยสุราในชายและหญิงตามลำดับ

หนึ่งหน่วยสุราเท่าแอลกอออล์ 14 กรัม

ควบคุมน้ำหนัก

ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยให้ดัชนีมวลกายประมาณ23

โรคที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

โรคที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้แก่

สำหรับความเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง โรคแทรกซ้อนหลอดเลือดสมอง

เพิ่มเพื่อน