อาการของโรคเลือดออก Subarachnoid hemorrhage เป็นอย่างไร

 

โรคนี้จะไม่มีอาการเตือนมาก่อน อาการที่มักจะพบได้แก่

  • การปวดศีรษะอย่างมากรุนแรงเฉียบพลัน ไม่เคยปวดแบบนี้มาก่อน เวลาที่เริ่มปวดจนปวดมากใช้เวลาเป็นนาที เริ่มต้นปวดตุ๊บๆ ต่อมากระจายไปทั้งศีรษะ
  • อาเจียนพุ่งเนื่องจากความดันในสมองเพิ่มมากขึ้น
  • คอแข็งเกร็งเนื่องจากมีการกระตุ้นเยื่อหุ้มสมอง อาการคอแข็งจะเกิดหลังจากปวดศีรษะไปแล้วประมาณ 6 ชั่วโมง
  • ไม่ชอบแสงจ้าๆ
  • อาจจะมีอาการชัก ซึมลง และอาจจะหมดสติ
  • มีปัญหาเรื่องการมองเห็น เช่นเห็นภาพซ้อน มองเห็นเป็นจุดดำ ตาบอดชั่วคราว

สาเหตุของเลือดออกในชั้น Subarachnoid hemorrhage

สาเหตุของโรคเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางอาจจะแบ่งออกเป็น

  1. สาเหตุของเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางที่เกิดขึ้นเอง (spontaneous) 85%
  2.  เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางจากการบาดเจ็บ (traumatic SAH)

เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางที่เกิดขึ้นเอง (spontaneous)

  1. เกิดจากการแตกของหลอดเลือดโป่งพอง aneurysm ตำแหน่งที่พบได้บ่อยได้แก่บริเวณฐานของสมองที่เรียกว่า Circle of Willis ตำแหน่งและความถี่ที่พบแสดงในรูป
  2. หลอดเลือดผิดปรกติที่เรียกว่า  arteriovenous malformation (AVM) พบได้ร้อยละ 5
  3. เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางที่ไม่พบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ15-20 เมื่อนำผู้ป่วยที่มีเลือดออก ไปฉีดสีไม่พบว่ามีการโป่งพองของหลอดเลือด
  4. ความผิดปกติของหลอดเลือดในไขสันหลัง
  5.  และการมีเลือดออกจากเนื้องอกต่างๆ
  6. สาเหตุอื่นๆ เช่น การใช้โคเคน
  7.  ความผิดปกติที่เม็ดเลือดแดงเป็นรูปเคียว (sickle cell disorder)
  8. การใช้ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด 
  9. ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด

 เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางจากการบาดเจ็บ (traumatic SAH)

 เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางจากการบาดเจ็บมักจะเกิดในผู้สูงอายุที่หกล้มและศีรษะกระแทกพื้น ส่วนในวัยรุ่นก็เกิดจากอุบัติเหตุมอเตอร์ไซด์ ผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บที่สมองร้อยละ 60 จะมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางตรวจพบได้จาก CT scan  เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางจากการบาดเจ็บ (traumatic SAH) นี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บริเวณใกล้กับตำแหน่งที่เกิดกะโหลกศีรษะร้าวหรือสมองช้ำ

ปัจจัยเสี่ยง

  • หลอดเลือดโป่งพอง Aneurysm ผู้ที่หลอดเลือดโป่งพองมีขนาดใหญ่จะมีโอกาศแตกมากกว่าขนาดเล็ก หากหลอดเลือดโป่งพองที่มีขนาดเล็กกว่า 7 มมมักจะไม่แตก
  • ความดันโลหิตสูง
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มสุรามากเกินไป
  • Fibromuscular dysplasia (FMD) and other connective tissue disorders
  • เป็นโรค polycystic kidney disease
  • ประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้

เลือดออก subarachnoid อาการและสาเหตุ การวินิจฉัยและการรักษา

 

เพิ่มเพื่อน