การรักษานิ่วในไต การรักษาโดยการผ่าตัด การสลายนิ่ว และการส่องกล้อง
โชคดีที่นิ่วส่วนใหญ่สามารถขับถ่ายได้เองโดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการดื่มน้ำเป็นปริมาณมาก และรับประทานยาแก้ปวด เมื่อนิ่วขับออกมาให้นำนิ่วไปพบแพทย์
การรักษานิ่วด้วยยา
- ยาที่ใช้รักษานิ่วที่เกิดจากเกลือแคลเซียม
- ยาขับปัสสาวะได้แก่ hydrochlorothiazide chlorothiazide ซึ่งสามารถลดการขับแคลเซียมแต่ต้องให้โปแตสเซียมเสริมด้วยเนื่องจากยาขับปัสสาวะ จะทำให้โปแตสเซียมในเลือดต่ำซึ่งส่งผลให้ citrate ต่ำเกิดนิ่วได้ง่าย
- Cellulose phosphate ยาตัวนี้จะจับกับแคลเซียมในลำไส้ใช้ในกรณีที่ปัสสาวะมีแคลเซียมสูงและเกิดนิ่วซ้ำ
- Potassium magnesium citrate จากรายงานสามารถลดการเกิดนิ่วได้ร้อยละ85ควรระวังยาที่เพิ่มโปแตสเซียมในเลือดและผู้ป่วยที่ไตวาย
- ให้รับประทานอาหารที่มีวิตามิน B6 เช่นกล้วย ถั่ว แตงโม ถั่วเหลือง ธัญพืชหรือรับประทานวิตามิน B6
- Cholestyramine เป็นยาที่ใช้รักษาไขมันในเลือดสูงแต่สามารถนำมาใช้รักษานิ่วได้
- ยาที่ใช้รักษานิ่วที่เกิดจากกรดยูริก
- เนื่องจากกรดยูริกจะตะกอนเป็นนิ่วในภาวะกรดดังนั้นต้องได้รับด่าง sodium bicarbonate แต่ควรระวังในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
- ยาที่ลดกรดยูริกได้แก่ allopurinol และยาที่ลดกรดยูริกในปัสสาวะได้แก่ Potassium citrate
- ยาที่ใช้รักษานิ่ว Struvite Stones
- ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียต้องให้นาน 10-14 วัน
- Acetohydroxamic Acid ยานี้จะลดการเกิดนิ่วแม้ว่าในปัสสาวะยังมีเชื้อแบคทีเรีย
- Aluminum Hydroxide Gel เพื่อจับกับ phosphate ในลำไส้
- sodium bicarbonate เพื่อเพิ่มความเป็นด่างให้แกปัสสาวะ
การรักษาด้วยการผ่าตัด
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
- ก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่เกินไปที่จะหลุดออกเอง
- ก้อนนิ่วมีขนาดโตขึ้น
- ก้อนนิ่วอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
- ก้อนนิ่วทำให้เกิดการติดเชื้อ
วิธีการผ่าตัด
- Extracorporeal shock wave lithotripsy (ESWL) ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงส่งพลังผ่านผิวหนังไปสู่ก้อนนิ่วทำให้ก้อนนิ่วแตกออกเป็นก้อนเล็กๆ สลายนิ่วโดยขนาดของนิ่วต้องไม่เกิน 2.5 ซม.ก้อนนิ่วอยู่เหนือท้องน้อยใช้ได้ดีกับนิ่วชนิดstruvite stones ใช้ไม่ได้ผลกับcystine stones อัตราความสำเร็จร้อยละ70-90หลังทำผู้ป่วยสามารถไปทำได้ได้ โรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือเลือกออกทางเดินปัสสาวะผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงยา aspirin ก่อนทำ 2 สัปดาห์ ข้อห้ามทำคือ คนท้อง มีภาวะเลือดออกผิดปกติ อ้วนมาก มีการอุดทางเดินปัสสาวะ
- Ureteroscopy โดยการสวนส่องกล้องแล้วใช้ตะกร้าคล้องเอานิ่วในท่อไตออกโดยเฉพาะที่มีขนาดน้อยกว่า5 mmและอยู่ต่ำกว่ากระดูกสะโพก
- Open nephrostomy ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว
- Percutaneous nephrolithotomy คือการเจาะเข้าไปยังกรวยไตและนำนิ่วออกมาในกรณีที่ใช้ESWLแล้วไม่ได้ผลหรือเป็นนิ่วชนิดcystine stonesหรือนิ่วขนาดใหญ่
การใช้คลื่นเสียงสลายนิ่ว |
การเจาะเอานิ่วออกผ่านทางผิวหนัง |
การส่องกล้องเพื่อเอานิ่วออก |
นิ่วในไต | อาการนิ่วในไต | การป้องกันนิ่วในไต | สาเหตุนิ่วในไต | โรคแทรกซ้อน| การรักษานิ่วในไต