การวินิจฉัยนิ่วในไต


อาการนิ่วทางเดินปัสสาวะ

ผู้ที่มีนิ่วส่วนใหญ่ไม่มีอาการ อาการส่วนใหญ่เกิดจากนิ่วหลุดไปอุดทางเดินปัสสวะ ทำให้เกิดอาการเจ็บที่หลังและชายโครง นอนเปลี่ยนท่าจะไม่หาย ปวดบิดๆเป็นๆหายๆ อาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะจะมากหรือน้อยขึ้นกับขนาดของนิ่ว ตำแหน่งที่นิ่วนั้นอุดอยู่ นิ่วนั้นอุดทางเดินปัสสาวะมากน้อยแค่ไหน

นิ่ว
  • นิ่วที่อุดท่อไตกับกรวยไต ureteropelvic junction [UPJ] ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเอวโดยที่ไม่มีอาการปวดร้าวไปบริเวณขาหนีบ
  • นิ่วอุดที่ท่อไต (ureter)ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องอย่างทันทีปวดอย่างรุนแรงปวดบิดเหมือนคลอดลูก บางคนปวดเอวและปวดร้าวลงมาบริเวณอวัยวะเพศ อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • นิ่วอุดที่ท่อไตต่อกับกระเพาะปัสสาวะ (ureterovesicle junction) ผู้ป่วยจะมีอาการระคายเคืองเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะ
  • นิ่วอยู่ในกระเพาะปัสสาวะอาจจะไม่มีอาการ หรืออาจจะมีอาการปัสสาวะขัด

บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หากมีการติดเชื้อจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายอาจจะทุบเบาๆบริเวณหลังอาจจะทำให้ปวดเพิ่มขึ้น



การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  • จะพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะ
  • ถ้าพบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะจะต้องตรวจว่ามีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือไม่โดยการตรวจ CBC
  • การตรวจการทำงานของไตหากพบว่าค่า creatinin มากกว่า 2 mg% ไม่ควรฉีดฉีดสีตรวจไตเพราะอาจจะทำให้ไตเสื่อมควรเลี่ยงไปใช้การตรวจ CT,ultrasound

การตรวจทางรังสี

  1. x-ray เงาไตที่เรียก KUB (Kidney, ureter, and bladder) ถ้าหากเป็นนิ่วที่ทึบแสงก็สามารถเห็นนิ่วได้หากเป็นนิ่วที่ไม่ทึบแสงก็ไม่สามารถเห็น
  2. CTปกติไม่ค่อยใช้เนื่องจากต้องใช้หลาย cut 
  3. IVP (Intravenous pyelogram) เป็นการฉีดสีเข้าเส้นเลือดดำ และสีนั้นจะถูกขับออกทางไตหลังจากฉีดจะ x-ray เงาไตที่เวลา 1 ,5 ,10 ,15 นาทีหลังฉีดสี ข้อต้องระวังคือแพ้ต่อสีที่ฉีดและทำให้เกิดไตวายได้
  4. Ultrasound ข้อดีคือสามารถตรวจในคนท้องได้ไม่ต้องเจอรังสี ทำในคนสูงอายุได้อย่างปลอดภัยข้อเสียคือมักจะไม่พบนิ่วที่ท่อไตและความไวในการตรวจต่ำ

นิ่วในไต | อาการนิ่วในไต | การป้องกันนิ่วในไต | สาเหตุนิ่วในไต | โรคแทรกซ้อน| การรักษานิ่วในไต