โรคขาดวิตามิน เอ

วิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันมีความสำคัญเกี่ยวกับการมองเห็น ภูมิคุ้มกันของร่างกาย การสืบพันธ์ และสุขภาพผิวหนัง วิตามินเอในธรรมชาติมีอยู่สองรูปแบบคือ Preformed vitamin A เป็นวิตามินที่พบในเนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม น้ำมันตับปลา ตับ ไข่แดง เขยวิตามินเหล่านี้ออกฤทธิ์ได้เลย อีกพวกหนึ่งเป็นวิตามินเอที่ได้จากพืช เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ผลไม้สีส้มเช่น ส้ม ฟักทองซึ่งมีสาร betacarotene ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอวิตามินเหล่านี้จะต้องมีการเปลี่ยนในร่างกายก่อนจึงออกฤทธิ์ได้ วิตามินเหล่านี้พบในพืชเป็นส่วนใหญ่ ตับเป็นแหล่งสะสมของวิตามินเอ คนปกติจะไม่ขาดวิตามินเอ กลุ่มที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามินคือ คนท้อง แม่ที่เลี้ยงบุตรด้วยนมตัวเอง ทารก ท้องร่วงเรื้อรัง

กลุ่มเสี่ยงต่อการขาดวิตามินเอ

ทารกและก่อนวัยเข้าเรียน

  • ทารกที่ไม่ได้กินนมแม่ หรือทารกที่กินนมแม่ แต่อย่านมแม่เร็วเกินไป แล้วเลี้ยงต่อด้วยนมอื่นๆ ที่ไม ่เหมาะสมกับวัย
  • เด็กที่ ไม่ได้รับอาหารตามวัยเมื่อถึงเวลาอันสมควร เช่น ให้เด็กกินแต่แป้งกวน หรือข้าวต้มใส่น้ำตาลหรือเกลือ หรือกินข้าวกับน้ำแกงจืดโดยไม่ได้กินไข่ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้ที่มีสีเหลือง รวมทั้งไขมัน
  • เด็กที่เป็นโรคติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด อีสุกอีใส ท้องร่วงเรื้อรังซึ่งมีความต้องการใช้วิตามินเอ ในปริมาณสูง
  • เด็กที่เป็นโรคขาดสารอาหาร ประเภทโปรตีนและกำลังงานระดับ 1, 2 และ 3
  • เด็กที่ไม่ได้รับบริการด้านสาธารณสุขที่เหมาะสม เช่น ไม่ได้รับบริการภูมิคุ้มกันโรคและไม่ได้รับการชั่ง น้ำหนักทุก 3 เดือน

เด็กวัยเรียน

  • เด็กที่ขาดสารอาหารประเภทโปรตีน และกำลังงานและไม่ได้บริโภคอาหารที่มีวิตามินเอ

หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร

  • หญิงที่งดอาหารที่มีประโยชน์ เช่น อาหารพวกเนื้อสัตว์ และผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้สีเหลืองหรือส้ม รวมทั้งไขมันระหว่างตั้งครรภ์และให้นมลูก

สาเหตุของการขาดวิตามินเอ

  • จากการขาดอาหาร โดยเฉพาะคนที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก เนื่องจากข้าวมีวิตามินเอต่ำ
  • ขาดวิตามินเอ เนื่องจากการดูดซึม การสะสม หรือกลไกการขนส่ง เช่นโรคท้องร่วงเรื้อรัง โรตตับอ่อนอักเสบ ท่อน้ำดีอุดตัน
  • ผู้ที่รับประทานอาหารน้อย เช่นผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรัง
  • ผู้ที่ขาดธาตุสังกะสีโดยมากพบร่วมกับผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรัง

อาการของคนขาดวิตามิน เอ

ความรุนแรงของโรคขาดวิตามินเอขึ้นกับอายุ หากขาดวิตามินเอตั้งแต่อายุน้อยจะมีอาการรุนแรง

อาการทางระบบการมองเห็น

  • ตาบอดกลางคืน Night blindness เด็กจะมองไม่ชัดในที่มืด ทำให้เด็กหกล้มง่าย
  • ตาแห้ง ตาขาวจะแห้งมีรอยย่น เรียกสะเก็ดปลากระดี่ หรือ Bitot'spot การมองเห็นยังคงปกติ
  • ตาวุ้น Keratomalacia ในระยะแรกกระจกตาจะแห้ง และขุ่น ต่อมาจะเหลวเหมือนลำไย เนื่องจากโปรตีนมีการติดเชื้อได้ง่าย

ระบบสืบพันธุ์

  • มีการสร้างฮอร์ดมนเพศชายน้อยลง อัตราการผสมของไข่และเชื้อต่ำ และอัตราการเสียชีวิตในครรภ์สูง

ระบบการเจริญเติบโต

  • ในเด็กเล็กจะมีการเจริญเติบโตช้า
  • การขาดวิตามินเอทำให้การเจริญเติบโตของกระดูก กระดูดอ่อน ฟัน ช้ากว่าปกติ ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตช้า

ระบบภูมิคุ้มกัน

  • การขาดวิตามินเอทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวที่ผิวหนัง ผนังลำไส้ และผนังหลอดลม จะติดเชื้อได้ง่าย และใช้เวลานานในการหาย

อาการทางผิวหนัง

วิตามินเอจะมีส่วนสำคัญในการซ่อมแซมผิวหนังและต่อต้านการอักเสบ

  • ที่ผิวหนังจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นตุ่มเรียก Follicular keratosis เนื่องจากมีการสร้าง keratin ที่รากขน
  • ผิวหนังอักเสบเนื่องจากผิวแห้ง คันและอักเสบ
  • ผมแห้ง
  • เล็บเปราะ
  • แผลที่ผิวหนังหายช้า

วิตามินเอ | โรคขาดวิตามินเอ | การวินิจฉัยและการรักษาโรคขาดวิตามินเอ | ต่อหน้าที่ 2

วิตามิน

วิตามินเอ | วิตามินบี1 | วิตามินบี2 | วิตามินบี3 | วิตามินบี5 | วิตามินบี6 | วิตามินบี12 | วิตามินซี | วิตามินดี | วิตามินอี | โฟลิก |


แมกนีเซียม สังกะสีวิตามินเอ วิตามินซ วิตามินอีแร่ธาตุวิตามิน

October 1, 2004