หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ก่อนทำการผ่าตัดแพทย์จะต้องพิจารณาว่าผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้หรือข้อห้ามของการผ่าตัดหรือไม่ ซึ่งต้องเริ่มต้นจากประวัติการเจ็บป่วย ประวัติโรคประจำตัว ประวัติอาการของโรค การตรวจร่างกายทั่วไป การประเมินความแข็งแรงของหัวใจและปอด
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG (Electrocardiogram)
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่ง่ายเป็นการตรวจว่าหัวใจเต้นเร็วหรือไม่ และมีการเต้นผิดปรกติหรือไม่ บริเวณที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดกว้างหรือไม่ อ่านที่นี่
การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของหัวใจ Echocardiography
เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจหัวใจ ซึ่งจะแสดงขนาดของหัวใจ รูปร่างของหัวใจ ลิิ้นหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และบอกบริเวณที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงาน บริเวณกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือด อ่านที่นี่
นอกจากนั้นยังสามารถทำ stress echo ซึ่งเป็นการตรวจคลื่นเสียงหัวใจในขณะที่หัวใจทำงานมากเพื่อบ่งบอกว่าหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ อ่านที่นี่
การวิ่งสายพานตรวจหัวใจ Stress Test
สำหรับผู้ที่หลอดเลือดหัวใจตีบมาก และเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ การตรวจคลื่นไฟฟ้าในขณะพักก็สามารถวินิจฉัยได้ แต่สำหรับผู้ที่หลอดเลือดตีบไม่มากพอที่จะเกิดอาการหรือตรวจพบในขณะพัก จำเป็นต้องตรวจในขณะหัวใจทำงานหนักเช่นการวิ่ง หากมีหลอดเลือดตีบก็จะแสดงความผิดปรกติในขณะที่วิ่งสายพาน อ่านที่นี่
การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ Coronary Angiography and Cardiac Catheterization
เป็นการตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยการใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ และฉีดสี ซึ่งจะทำให้เห็นหลอดเลือดหัวใจว่ามีตีบที่เส้นไหน และตีบมากน้อยเพียงใด
ปัจจัยอื่นๆที่นำมาพิจารณาว่าจะผ่าตัดหรือไม่
การผ่าตัดหัวใจ ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด