การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบซ้ำ


สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมาก่อนโอกาศที่จะเกิดการตีบซ้ำจะมีมาก หากไม่ดูแลปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ ก็จะเกิดการตีบซ้ำ

ปัจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบ

  1. อายุ ชายมากกว่า 45 ปี,หญิงอายุมากกว่า 55 ปี หรือวัยหมดประจำเดือน
  2. ความดันโลหิตสูง มากกว่า 140/90 มม.ปรอท
  3. โรคเบาหวาน
  4. สูบบุหรี่
  5. HDL cholesterol < 35 mg%
  6. มีญาติสายตรงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก่อนวัย(ชายน้อยกว่า55ปี หญิงน้อยกว่า 65 ปี)
  7. ถ้า HDL > 60 mg% ให้ลบปัจจัยเสี่ยงออกข้อหนึ่ง

ปัจจัยเสี่งข้อที่ 1 และ6ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

การป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบซ้ำ Secondary prevention

ผู้ป่วยและญาติจะต้องดูแลอะไรบ้าง

  • ความดันโลหิตสูง เป้าหมายของความดันโลหิตอยู่ที่ 140/90 มิลิเมตรปรอท สำหรับบุคคลที่ไม่เป็นเบาหวานหรือโรคไต และ130/80 มิลิเมตรปรอทสำหรับคนที่ป่วยเป็นเบาหวานและโรคไต
  • ยาต้านเกล็ดเลือดเช่นเอสไพรินทร์ขนาด81-162 มิลิกรัม อาจจะใช้ยา clopidogrel ในช่วงแรกของโรค
  • การควบคุมระดับไขมันในเลือด LDL ให้ต่ำกว่า 100 mg/dLโดยการปรับพฤติกรรมหรือการใช้ยา statin
  • การควบคุมน้ำหนัก ผู้ที่มีน้ำหนักเกินจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เป้าหมายดัชนีมวลกายอยู่ที่18.5 - 22.เส้รรอบเอวอยู่ที่ 90และ80เซ็นติเมตรในชายและหญิง
  • การหยุดสูบบุหรี่การหยุดสูบบุหรี่จะลดอัตราการเสียชีวิตลงได้หนึ่งในสาม
  • การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
  • การออกกำลังกาย เป้าหมายของการออกกำลังกายวันละ 30 - 60 นาที่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วันการออกกำลังกายจะทำให้การควบคุมน้ำหนัก การควบคุมความดัน การควบคุมเบาหวานดีขึ้น
  • การได้รับยาลดความดันโลหิตกลุ่มปิดกั้เบต้า betablocker เพราะยาปิดกั้นเบต้าจะลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดข้อห้ามในการให้ยาปิดกั้นเบต้า
  • การได้รับยาลดความดันกลุ่ม ACE Inhibitors มีการศึกษาว่ายากลุ่มนี้สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ร้อยละ10-20
  • โรคเบาหวาน ให้ควบคุมโรคที่พบร่วมกับโรคเบาหวานเช่นไขมัน ความดันโลหิตสูง
  • การจัดการเรื่องโรคซึมเศร้า

การเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหัวใจ

การเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหัวใจทำได้โดยการใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ หรือการผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือดหัวใจ

 

เพิ่มเพื่อน

กลับหน้าแรก