การรักษาเบื้องต้นกล้ามเนื้อหัวใจตายจากเหตุขาดเลือด
Aspirin
- ควรจะให้ aspirin ทันทีทุกราย นอกจากในรายที่แพ้ยา
- ขนาดที่ให้: 160- 325 mg เคี้ยวหลังจากนั้นให้ขนาด 75–162 mg รับประทานวันละ 4 ครั้ง
Pain control
Nitroglycerin
- อมใต้ลิ้นขนาด: 0.3–0.4 mg ทุก 5 นาทีทั้งหมด 3 ครั้งในรายที่ความดันโลหิต systolic มากกว่า 100 mmHg
- หากให้ชนิดหยดเข้ากระแสเลือด:ให้เริ่ม 10 µg/minและปรับจนขนาดเต็มที่100 µg/min, โดยการเฝ้าระวังความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด.
- ไม่ควรให้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจห้องขวาขาดเลือด RV infarction.
- หากผู่ป่วยรับประทาน sildenafil หรือviagra ต้องหยุดยานี้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง และหยุดยา tadalafil อย่างน้อย 48 ชั่วโมง
- อาจจะมีอาการแพ้ยาทำให้ความดันโลหิตต่ำในบางรายซึ่งแก้ไขโดยการให้ atropine
Morphine sulfate
- ให้ขนาด 2–4 mg ฉีดเข้ากระแสเลือดช้าๆทุก 5–10จนกระทั่งทุเลาปวด
- ผลข้างเคียง
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- หายใจช้าลง แก้ไขโดยการให้ naloxone, 0.4–1.2 mg IV
- ความดันโลหิตต่ำแก้ไขโดยการให้ atropine, 0.5 mg IV; หรืออาจจะให้น้ำเกลือเพิ่มอย่างระมัดระวัง
ยา Beta-adrenergic antagonists
- ประโยชน์ของการให้ยานี้
- ลดความต้องการออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ
- ลดอาการเจ็บหน้าอก
- ลดพื้นที่หัวใจที่เสียหายจากการขาดเลือด
- ลดการเต้นผิดปรกของหัวใจ
- ลดอัตราการเสียชีวิต
- ยานี้จะได้ประโยชน์มากในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว และยังมีอาการเจ็บหน้าอก
- ขนาดยาที่ใช้
- ชนิดให้ทางหลอดเลือด: metoprolol, 5 mg ทุก 2–10นาทีจะกระทั่งได้ครบ 15 mg
- ตามด้วยการให้ยาทางปาก : metoprolol, 50 mg ทุก 6 ชมจนครบ 48 ชั่วโมงจึงเปลี่ยนมาเป็น 100 mg ทุก 12ชั่วโมง
- ข้อห้ามในการใช้ยานี้
- ผู้ป่วยที่กำลังมีปัญหาหัวใจวาย อ่านหัวใจวาย
- ภาวะที่หัวใจสูบฉีดเลือดไม่พอ เช่น มือเท้าเย็น ผิวลาย ปัสสาวะออกน้อย
- ควรจะต้องระวังในผู้ป่วยเหล่านี้เพราะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดช็อคจากหัวใจ
- อายุ > 70 ปี
- ความดัน Systolicต่ำกว่า < 120 mmHg
- หัวใจเต้นเร็วกว่า 110ครั้งต่อนาทีหรือน้อยกว่า < 60ครั้งต่อนาที
- ให้ยานี้ช้าเกินไป
- ข้อห้ามอื่นๆ
- PR interval greater than 0.24 seconds
- Second- or third-degree heart block
- เป็นโรคหอบหืด
การเปิดหลอดเลือด Reperfusion:
จะต้องเลือกผู้ป่วยอย่างเหมาะสม และทันเวลา ซึ่งมีวิธีการอยู่ 3 วิธีได้แก่
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว