การดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


 

การดูแลผู้ป่วยที่บ้านและขณะนำส่ง

เนื่องจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI เป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง การรักษาจะให้ได้ผลดีจะต้องรักษาภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการของโรค ดังนั้นผู้ป่วยและญาติจะต้องรู้จักโรคนี้ และเตรียมการส่งผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที

  • ผู้ป่วยและญาติจะต้องเรียนรู้ถึงอาการของโรค STEMI ว่ามีความแตกต่างอาการที่เจ็บหน้าอกอย่างไร หากอาการผิดไปจากเดิมจะต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยการโทรเบอร์ 1669
  • ผู้ป่วยควรจะมีประวัติการรักษา ชนิดของยาที่รับประทาน ผลเลือดที่ผ่านมาไปพร้อมกับตัวผู้ป่วย
  • ประวัติการรับประทานยาชนิดอื่น
  • ต้องมีเบอร์โทรฉุกเฉินสำหรับติดต่อโรงพยาบาลที่จะไปรักษา รวมทั้งเบอร์โทรของศูนย์กู้ชีพ
  • รถพยาบาลฉุกเฉินควรจะมีบุคคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี

ภายในรถควรจะมีเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และสามารถส่งผลการตรวจให้แพทย์ประเมิน

การประเมินผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน

เป้าหมายของการรักษาคือประเมินว่าผู้ป่วยเป็นโรค STEMI หรือไม่โโยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหากพบว่า


คลื่นไฟฟ้าหัวใจ

  • มีการยกขึ้นของ ST-segment มากกว่า 2 mmในการตรวจที่หน้าอกอย่างน้อย 2 2ตำแหน่ง และมีการยกของ ST-segmentอย่างน้อย 1 mmในการตรวจคลื่นไฟฟ้าของแขนขา 2 ตำแหน่งติดกันหรือ
  • กระแสไฟฟ้ามีการกั้นของ left bundle branch block ที่เพิ่งจะเกิด

ในรายที่มีเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งจะต้องส่งผู้ป่วยไปรักษาโดยการเปิดหลอดเลือดที่อุดตันซึ่งมีวิธีการต่อไปนี้

  • สำหรับโรงพยาบาลที่สามารถใส่สายสวนสีและทำบอลลูนได้ให้ทำภายใน 90 นาทีนับแต่เกิดอาการ
  • สำหรับโรงพยาบาลที่ทำการใส่สายสวนไม่ได้ หากสามารถส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่ทำได้ภายใน 90 นาทีก็ให้ส่ง
  • สำหรับโรงพยาบาลที่ทำการใส่สายสวนไม่ได้ และใช้เวลาเกิน 90 นาทีในการส่งก็ให้ยาละลายลิ่มเลือดภายใน 30 นาทีนับตั้งแต่มาถึงโรงพยาบาล

เป้าหมายของการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน



  • ควบคุมอาการเจ็บหน้าอก
  • ประเมินผู้ป่วยเพื่อส่งผู้ป่วยไปรักษา
  • ส่งผู้ป่วยที่ความเสี่ยงต่ำขึ้นตึกผู้ป่วยสามัญ
  • ก่อนให้ผู้ป่วยกลับต้องประเมินให้ดี

การรักษาที่ห้องฉุกเฉิน

การรักษาเริ่มต้น การรักษาในโรงพยาบาล

การวินิจฉัยโรค โรคแทรกซ้อน

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน