การให้ยาละลายลิ่มเลือด Thrombolytic
การให้ยาละลายลิ่มเลือดสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจะเป็นทางเลือกหากผู้ป่วยไม่สามารถใส่สายสวนหัวใจ เพื่อถ่างหลอดเลือดหัวใจได้ จะให้ยาละลายลิ่มเลือดในกรณีที่เป็นชนิด ST Elevation เท่านั้น เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดนี้เกิดจากมีลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดหัวใจทำให้เลือดหยุดไปเลี้ยงหัวใจ การจะให้จะต้องให้อย่างเร็วเพราะหากช้ากล้ามเนื้อหัวใจจะตาย เราจะให้ในกรณี
ข้อบ่งชี้ในการให้ยาละลายลิ่มเลือด
- เป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST Elevation เท่านั้น
- คลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นชนิด Left bundle branch block ที่เกิดขึ้นใหม่
- ระยะเวลาที่เหมาะสมในการฉีดไม่ควรเกิด 12 ชั่วโมงหากจะได้ผลดีควรจะให้ภายใน 3 ชั่วโมง
- ที่สำคัญต้องไม่มีข้อห้ามในการให้ยาละลายลิ่มเลือด
- ไม่สามารทำการใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจได้ หรือใช้เวลารอนานกว่า 90 นาที
จะรู้ได้อย่างไรว่าลิ่มเลือดได้ละลายแล้ว
เมื่อให้ยาละลายลิ่มเลือดแล้วหากลิ่มเลือดละลายเลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจที่ยังไม่ตายการเปลี่ยนแปลงที่แสดงว่าอาการดีขึ้นคือ
- อาการเจ็บหน้าอกดีขึ้น
- มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้ากลับสู่ใกล้เคียงปรกติซึ่งมักจะเกิดภายใน 90 นาที
- มีการเต้นของหัวในผิดปรกติ
- ผลเลือดมี cardiac enzyme เพิ่มขึ้น เช่น CPK/MB
ข้อห้ามในการห้ามยาละลายลิ่มเลือด
- ข้อห้ามโดยเด็ดขาด
- ผู้ที่กำลังมีเลือดออกในร่างกาย เช่นเลือดออกทางเดินอาหารภายใน 2-4 สัปดาห์
- มีภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีก Aortic Dissection
- ช่วยฟื้นคืนชีพนานกว่า 10 นาที
- ความดันโลหิตสูงมากกว่า 180/110 มิลิเมตรปรอท
- มีโรคทางสมอง
- ได้รับอุบัติทางศีรษะ หรือมีเนื้องอกในศีรษะมาไม่นานภายใน 2 เดือน
- มีความผิดปรกติของหลอดเลือดในสมอง arteriovenous malformation or aneurysm
- มีเลือดออกในสมองภายใน 6 เดือน
- ผ่าตัดใหญ่ภายใน 14 วัน
- การตั้งครรภ์
- เป็นโรคเลือดออกง่าย
- อายุมากกว่า 75 ปี
- มีอาการเกิน 12 ชั่วโมง
โรคแทรกซ้อนจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด
- เลือดอกในสมองพบได้ประมาณร้อยละ 0.9-1 ปัจจัยเสี่ยงสำหรับการเกิดเลืิดออกในสมองได้แก่
- อายุมาก
- น้ำหนักตัวน้อย
- เพศหญิง
- เคยเป็นดรคหลอดเลือดสมองมาก่อน
- ความดันโลหิตสูงขณะอยู่ในโรงพยาบาล
- เลือดออกในอวัยวะอื่นจนกระทั่งต้องให้เลือดพบได้ร้อยละ 4-13
- ความดันดลหิตต่ำ เนื่องจากแพ้ยา พบไม่บ่อย
นอกจากการให้ยาละลายลิ่มเลือดแล้วจะต้องให้ยาอีกสองชนิดได้แก่
ชนิดของยาละลายลิ่มเลือด |
|
ยาละลายลิ่มเลือดมีหลายชนิด การเลือกใช้อย่างเหมาะสม ขนาดที่พอเหมาะและถูกเวลาจะทำให้ผลการรักาาได้ผลดี อ่านที่นี่ |
การให้ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด |
|
การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะต้องให้ยาละลายลิ่มเลือด ขณะเดียวกันอาจจะจำเป็นต้องให้ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด อ่านที่นี่ |
การให้ยาต้านเกล็ดเลือด |
|
การเกิดลิ่มเลือดส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เกล็ดเลือดเกาะติดกัน การให้ยาต้านเกล็ดเลือดจะป้องกันการเกิดลิ่มเลือด อ่านที่นี่ |