เมื่อเกิดสมองขาดเลือดจะมีผลอะไรตามมา
- ร้อยละ10 ของผู้ป่วยจะหายเหมือนคนปรกติ
- ร้อยละ25หายอาการใกล้เคียงคนปรกติ
- ร้อยละ40 หากแต่ยังมีอาการซึ่งต้องการความช่วยเหลือ
- ร้อยละ10 ต้องอยู่ในสถานพยาบาล
- ร้อยละ20เสียชีวิต
- ร้อยละ25 จะเกิดโรคสมองขาดเลือดซ้ำในห้าปี
อาการต่างๆจะดีขึ้นใน 3 เดือน หากอาการต่างๆไม่ดีขึ้นโอกาศที่ดีขึ้นจะน้อยลง
อัตราการเสียชีวิตเป็นอย่างไร
อัตราการเสียชีวิตจะขึ้นกับอายุ
- ผู้ที่มีอายุระหว่า40-69ปีจะมีอัตราการเสียชีวิใน1ปีเท่ากับร้อยละ14-24
- สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 70จะมีอัตราเสียชีวิตระหว่าร้อยละ 22-27
การทำนายอาการของโรค
- สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดไม่รุนแรง อาจเป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว มีอาการชามือหรือเท้า หรือเป็นอัมพาตชั่วคราว (Transient Ischemic Attacks) นั้น ผู้ป่วยหนึ่งในสามคนอาจมอัมพาตอย่างถาวรได้ในอนาคตอันใกล้ และ 50% ของภาวะสมองขาดเลือดประเภทนี้อาจเกิดในช่วงระหว่าง 1 ปีแรกหลังพบอาการ
- อัตราการเสียชีวิต 15-30 % ของผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต เกิดจากอาการที่เกิดตามมาคือ ภาวะเลือดออกในสมอง ภาวะเส้นเลือดตีบอย่างรุนแรง การติดเชื้อ และอื่นๆ
- หลังจากได้รับการรักษาและมีอาการดีขึ้นแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
ในการดูแลผู้ป่วยจากภาวะสมองขาดเลือด ท่านอาจใช้แนวทางดังนี้
- เนื่องจากมีความอ่อนแรงหรืออัมพาตที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ผู้ป่วยอาจช่วยเหลือตัวเอง ไม่ค่อยได้ และต้องการความช่วยเหลือเพื่อเปลี่ยนท่าทางทุกสองชั่วโมงเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาด้วยกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง ด้วยการรักษาโดยให้ทำกิจกรรมเบาๆ รวมถึงสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงและยากต่อการกลืนอาหาร
- การหดตัวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ร่วมกับความไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวได้ เป็นอาการที่จะเกิดขึ้นหลังการเป็นอัมพาต ซึ่งผู้ป่วยควรได้รับการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง
- การสูญเสียการรับรู้ทางประสาทสัมผัส (Sensory loss) ผู้ป่วยบางรายอาจไม่สามารถรู้สึกได้ถึงความร้อน ความเย็น ความเจ็บปวด ในส่วนของร่างกายที่เป็นอัมพาต จึงอาจทำให้ตัวเองบาดเจ็บโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับการแนะนำให้ใส่ใจกับอวัยวะส่วนที่เป็นอัมพาตนั้น
- ความวุ่นวายและสับสนทางอารมณ์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีความสับสน สูญเสียความทรงจำ และคิดอย่างไม่เป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นจึงสำคัญมากที่ครอบครัวจะมีความเข้าใจ แสดงความใส่ใจ และให้การช่วยเหลือ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
- Aphasia คือ การสูญเสียความสามารถในการพูด โดยอาจเป็นการสูญเสียความสามารถในความเข้าใจและการใช้คำศัพท์เพียงบางส่วนหรือทั้งหมด การแก้ไขด้านการพูด (Speech therapy) จึงอาจช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามีทักษะในการสื่อสารได้บ้างภายใน 6-12 เดือน
- สรุป การหลีกเลี่ยงภาวะสมองขาดเลือดก็คือการป้องกันไม่ให้มีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น สามารถทำได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ให้น้อยที่สุด ปัจจุบันนี้ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้ส่วนใหญ่แล้วสามารถรักษาให้หายได้ และการดูแลรักษาอย่างเป็นระบบจะมีผลอย่างมากต่อการลดโอกาสเกิดภาวะสมองขาดเลือด ท่านควรอย่างยิ่งที่จะได้รับการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่เสมอ ความรวดเร็วในการตรวจพบและการรักษาถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ป่วยภาวะสมองขาดเลือด
กลับไปหน้าโรคหลอดเลือดสมอง | สาเหตุของโรคสมองขาดเลือด | อาการสมองขาดเลือด | การวินิจฉัยโรคสมองขาดเลือด | การรักษาโรคสมองขาดเลือด | การป้องกันโรคสมองขาดเลือด | การดูแลหลังเกิดโรคสมองขาดเลือด