การวินิจฉัยโรคสมองขาดเลือด
สำหรับญาติที่พบผู้ป่วยที่มีอาการเหมือนจะเป็นหลอดเลือดสมองตีบ หากมีเครื่องเจาะตรวจน้ำตาลในเลือด ควรจะเจาะทันทีเพราะว่าทั้งน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือน้ำตาลในเลือดสูงจะมีอาการเหมือนโรคหลอดเลือดสมอง หากน้ำตาลต่ำและผู้ป่วยรู้สึกตัวและกลืนอาหารได้ก็ให้น้ำผลไม้ดื่ม แต่หากไม่รู้สึกตัวหรือกลืนไม่ได้หากให้อาหารทางปาก หากมีอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองโทรแจ้งเบอร์ 1669 หรือต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันทีเพราะมีเวลารักษา 4.5 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการ
การวินิจฉัยจะต้องอาศัย
- ประวัติการเจ็บป่วย โรคหลอดเลือดสมองมักจะมีอาการแบบปัจจุบันทันด่วน อาการมักจะเกิดและเป็นมากในไม่กี่ชั่วโมง
- สำหรับบ้านที่มีเครื่องวัดความดันโลหิตควรจะวัดทันที พร้อมอัตราการเต้นของหัวใจ เพราะความดันโลหิตอาจจะต่ำหรือสูงก็ได้
- การตรวจร่างกายจะพบว่ามีอ่อนแรงของร่างกายซีกหนึ่ง หรืออ่อนแรงแขนหรือขาข้างหนึ่ง บางรายอาจจะมีปากเบี้ยว มีชาครึ่งซีก
- ตัวอย่างเลือดเพื่อการทดสอบค่าสารต่างๆ เช่น CBC,การตรวจเอ็นไซม์ของตับ เอ็นไซม์ของหัวใจ
- ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เพราะหัวใจสั่นพริ้วจะมีความเสี่ยงของลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
- การวัดคลื่นไฟฟ้าของสมอง (EEG)
- การวัดความเร็วของกระแสเลือด เพื่อประเมินความตีบของเส้นเลือด
- การเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan)
- เครื่องตรวจร่างกายโดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง (MRI & MRA)
- การตรวจหัวใจด้วยเคลื่อนคลื่นเสียงความถี่สูง 2D Echocardiography
กลับไปหน้าโรคหลอดเลือดสมอง | สาเหตุของโรคสมองขาดเลือด | อาการสมองขาดเลือด | การวินิจฉัยโรคสมองขาดเลือด | การรักษาโรคสมองขาดเลือด | การป้องกันโรคสมองขาดเลือด | การดูแลหลังเกิดโรคสมองขาดเลือด