หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

การวางแผนการตรวจและการรักษา

 

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองมักจะมีสัญญาณเตือน ควรดำเนินชีวิตโดยไม่ประมาก เช่นการออกกำลังกายการควบคุมน้ำหนัก การเลือกรับประทานอาหาร และการตรวจสุขภาพประจำปี เมื่อแพทย์ได้ข้อมูลประวัติผู้ป่วยที่มีสัญญาณอันตราย แพทย์จะตรวจร่างกายโดยวัดความดันโลหิต ฟังหัวใจว่ามีเสียงลิ้นหัวใจว่ารั่วหรือไม่ ฟังเสียงที่หลอกเลือดแดงใหญ่ที่คอ ว่ามีเสียง ฟู่หรือไม่ ถ้าได้ยินเสียงฟู่แพทย์จะส่งตรวจคลื่นความถี่สูง Doppler ultrasound scan เพื่อวัดว่าหลอดเลือดแดงที่คอตีบมากน้อยแค่ไหน ถ้าหากตีบน้อยกว่า 70%แพทย์จะให้ยา aspirin หรือ ticlopidine ถ้าหากตีบเกิน 70%แพทย์แนะนำผ่าตัด

ผู้ที่มีอาการเหมือนโรคสมองขาดเลือดจะต้องรีบไปโรงพยาบาล เพราะผลการรักษาจะขึ้นกับระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนกระทั่งรักษา หากรักษาได้เร็วผลการรักษาจะให้ผลดี

การใส่ขดลวด

สำหรับผู้ที่หลอดแดงใหญ่ที่คอตีบ และไม่สามารถผ่าตัดได้ก็มีวิธีการรักษาโดยการใส่ขวดลวดถ่างหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ และมีร่มสำหรับกันไม่ให้ลิ่มเลือดไปอุดยังหลอดเลือดสมองซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ


การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

สำหรับญาติที่พบผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรง อาจจะพบผู้ป่วยนอนกับพื้น หรือพบว่าล้มลง ท่านจะต้องให้ผู้ป่วยนอนตะแคงเพื่อไม่ให้สำลักอาหาร หรือทางเดินหายใจถูกอุด ที่สำคัญหากผู้ป่วยไม่รู้ตัวห้ามป้อนยาหรือน้ำ เพราะจะทำให้สำลักและเกิดปอดบวม

สิ่งที่สำคัญสำหรับการรักษาคือจะต้องทราบว่าอาการอ่อนแรงหรือไม่รู้สึกตัวเกิดเมื่อไรเพราะหากอาการอ่อนแรงเกิดภายใน 3 ชั่วโมงแพทย์จะพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือดthrombolytic แต่มีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งมีอาการอ่อนแรงในขณะหลับทำให้ไม่ทราบว่าเป็นมานานแค่ไหน เราจะแบ่งผู้ป่วยออกเป็นสองกลุ่ม

กลุ่มที่1 มีอาการมาน้อยกว่า 3 ช.ม. นับตั้งแต่เริ่มมีอาการจนเมื่อมาถึงโรงพยาบาล แพทย์อาจจะให้ยาละลายลิ่มเลือดช่วยรักษา โดยที่ไม่มีข้อห้าม แต่เนื่องจากตัวยา มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก จึงต้องได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจากแพทย์ รวมทั้งตรวจเลือดและเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าจะให้ยาตัวนี้ได้หรือไม่ และต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล อ่านที่นี่

กลุ่มที่ 2 มีอาการมามากกว่า 3 ช.ม. และผู้ป่วยที่มีอาการมาน้อยกว่า 3 ช.ม. แต่ไม่สามารถให้การรักษาในแบบที่ 1 ได้เนื่องจากเหตุผลใดๆ ก็ตามที่แพทย์จะเป็นผู้พิจารณา โดยมากจะต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล หากเป็นมาหลายวันและมีอาการไม่มากแพทย์จะให้กลับไปดูแลที่บ้าน การพิจารณาเลือกใช้ยา หรือการผ่าตัดรักษาขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ผู้ป่วยบางรายที่มีระดับความดันโลหิตสูงมากๆ อาจต้องได้ยาลดความดันหยดทางน้ำเกลือเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อลดระดับความดันโลหิตอย่างรวดเร็วให้ลงมาระดับที่ปลอดภัย ในทางกลับกันผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการลดหรืองดยาความดันโลหิตสูงชั่วคราวในช่วงสัปดาห์แรก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ ส่วนการรักษาอื่นๆที่สำคัญได้แก่ การทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ การดูแลป้องกันมิให้เกิดโรคแทรกซ้อน และการรักษาแก้ไขปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น

การให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด Anticoagulants

สำหรับผู้ที่มีโรคหัวใจเต้นสั่นพริ้ว หรือมีภาวะหัวใจวาย และมีลิ่มเลือดในหัวใจจะต้องได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด

การรักษาความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคสมองขาดเลือด ในขณะที่เกิดสมองขาดเลือดหากความดันโลหิตสูงไม่มากแพทย์จะยังไม่ให้ยาลดความดันโลหิต แต่หากสูงมากแพทย์จะให้ยาลดความดันโลหิต ยาที่นิยมใช้ได้แก่

การเลือกยาขึ้นกับความเห็นของแพทย์

ยาลดไขมันกลุ่ม Statin

สำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้หลอดเลือดแข็งดังนั้นจะต้องได้รับยากลุ่ม statin เพื่อลดไขมัน

ผู้ที่มีหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอตีบ Carotid stenosis

ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีคราบที่หลุดจากผนังหลอดเลือดไปอุดหลอดเลือดในสมองทำให้เกิดกลุ่มโรคที่เรียกว่า สมองขาดเลือดชั่วคราวTransient ischemic attack (TIA) กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้มีการรักษาดังนี้

กลับไปหน้าโรคหลอดเลือดสมอง | สาเหตุของโรคสมองขาดเลือด | อาการสมองขาดเลือด | การวินิจฉัยโรคสมองขาดเลือด | การรักษาโรคสมองขาดเลือด | การป้องกันโรคสมองขาดเลือด | การดูแลหลังเกิดโรคสมองขาดเลือด

เพิ่มเพื่อน