การรักษาทั่วไปเลือดออกในสมองsubdural hematoma
- หากพบผู้ป่วยที่เกิดเหตุไม่ควรขยับคอหากไม่แน่ใจว่ากระดูกต้นคอหักหรือไม่
- ประเมินเรื่องสัญญาณชีพ ตรวจการหายใจ ทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนของโลหิต
- ใส่ท่อช่วยหายใจหากพิจารณาแล้วว่าหายใจไม่พอ
- เมื่อระบบไหลเวียน ระบบหายใจคงที่จึงส่งผู้ป่วยตรวจทางรังสี
- หากพบว่ามีเลือดออกต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับการรักษาแบ่งเป็น 2 วิธีคือ
การผ่าตัดและการรักษาแบบประคับประคอง
การผ่าตัดมีข้อบ่งชี้คือ
- ควรพิจารณาทำในรายที่มีชั้นเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองหนามากกว่า 10 มม.
- และก้อนเลือดนั้นมีการกดเบียด
- ร่องกลางของสมองให้เคลื่อนไปจากตรงกลาง (midline shift) มากกว่า 5 มม.
- นอกจากนี้ ถ้าผู้ป่วยมีระดับการรู้สึกตัวแย่ในระดับ GCS น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 หรือรูม่านตาขยายโตมากก็ควรรีบตัดสินใจผ่าตัดในทันที.
การผ่าตัดทำได้สองแบบคือ
- Craniotomy คือการเปิดกระโหลกศีรษะเพื่อที่ศัลยแพทย์จะนำเลือดออกจากสมอง
- Burr holes คือการเจาะรูและใส่สายเพื่อดูดเอาเลือดออก
สำหรับผู้ที่เลือดออกน้อยกว่าเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และอาการคงที่การรักษาจะประคับประคอง
โรคแทรกซ้อนของเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง ( subdural hematoma)
- เสียชีวิตเนื่องจากสมองถูกกด
- ความดันในสมองเพิ่มมากขึ้น
- สมองบวม
- เลือดออกซ้ำหลังผ่าตัด
- โรคลมชัก
- แผลติดเชื้อ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- พิการถาวร
- โคม่า
ผลของเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง ( subdural hematoma) เป็นอย่างไร
- ผู้ป่วยที่มีเลือดออกร่วงกับสมองมีการถูกทำลายจะมีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 50
- สำหรับผู้ที่มีเลือดอกสมองโดยที่เนื้อสมองไม่ได้รับอันตรายจะมีอัตราเสียชีวิตร้อยละ 20.5
- ผู้ที่มีเลือดออกในสมองระยะเรื้อรังจะมีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 5
สรุป
ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง เป็นภาวะที่พบ บ่อยจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ ซึ่งมีอาการและอาการแสดงที่สำคัญ
- ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและมีประวัติหมดสติ
- จำเหตุการณ์ไม่ได้ทั้งก่อนและหลังอุบัติเหตุ
- ปวดศีรษะอย่างต่อเนื่อง
- อาเจียน
- มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกจนกระทั่งหมดสติ และพฤติกรรม
การรักษามีทั้งให้การผ่าตัดหรือรักษาแบบประคับประคองก็ได้ ในรายที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด พบว่ามีอัตราตายได้ถึงร้อยละ 40-60. อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยที่รวดเร็ว และให้การรักษาที่รีบด่วนจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น.