การรักษาโรคกรวยไตอักเสบ

การรักษากรวยไตอักเสบ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกรวยไตอักเสบประมาณร้อยละ80ที่สามารถรักษาที่บ้าน จะมีเพียงร้อยละ20ที่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่เป็นโรคกรวยไตอักเสบที่อาการไม่มากสามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะ และยาลดไข้

ยาปฏิชีวนะ

ควรจะได้รับยาปฏิชีวนะนานระหว่าง7-14 วัน สำหรับคนส่วนใหญ่ จะใช้ยาปฏิชีวนะที่เรียกว่า ciprofloxacin หรือ co- amoxiclav
ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของ ciprofloxacin รวมถึงรู้สึกป่วยและท้องเสียส่วนยา co- amoxiclav ทำให้ยาเม็ดคุมกำเนิดจะทำให้ประสิทธิภาพของยาปฏิชีนะลดลง ดังนั้นคุณอาจจำเป็นต้องใช้รูปแบบของการคุมกำเนิดอื่นในระหว่างการรักษา สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์อาจจะให้ยา
14 วันโดยใช้ยาเซฟาเลกซินซึ่งเป็นยาปฏิชีวนที่แนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์
โดยปกติแล้วคุณจะเริ่มรู้สึกดีขึ้นค่อนข้างเร็วและจะรู้สึกดีขึ้นหลังจากรักษาประมาณสองสัปดาห์
ถ้าอาการของคุณไม่ดีขึ้นหลังการรักษา 24 ชั่วโมงแพทย์จะต้องนัดมาประเมินผลการรักษา

ยาแก้ปวด

การยาแก้ปวดเช่นพาราเซตามอลจะช่วยบรรเทาอาการของความเจ็บปวดและอุณหภูมิสูง
แต่ไม่แนะนำให้ใช้ ยาแก้ปวดกลุ่ม (NSAIDs) เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคไตวาย

เคล็ดในการดูแลตัวเอง

  • เมื่อเข้าห้องน้ำให้นั่งบนโถ เนื่องจากการยืนบนโถจะทำให้ถ่ายปัสสาวะไม่หมด ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อ
  • ดื่มน้ำให้มากซึ่งจะป้องกันการขาดน้ำ และเพิ่มการขับเชื้อออกจากร่างกาย
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

การดูและในโรงพยาบาล

แพทย์ที่ดูแลท่านจะแนะนำให้ท่านตรวจเพิ่มเติมหากท่านเป็นผู้ชายเนื่องจากโรคกรวยไตอักเสบมักจะพบในผู้ชายที่มีปัญหาในทางเดินปัสสาวะเช่น เป็นนิ่ว หรือต่อมลูกหมากโต ส่วนสตรีแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมหากเป็นกรวยไตอักเสบมากกว่า 2 ครั้งต่อปี สำหรับเด็กแนะนำว่าควรจะรักษาในโรงพยาบาลทุกราย

การรักษาโรคกรวยไตอักเสบในโรงพยาบาลอาจมีความจำเป็นในกรณี

  • คุณกำลังขาดน้ำอย่างรุนแรง
  • คุณไม่สามารถที่จะกลืนหรือดื่มของเหลวหรือยาใด ๆ
  • คุณมีอาการของโลหิตเป็นพิษ
  • คุณตั้งครรภ์และมีไข้สูง
  • สุขภาพโดยทั่วไปของคุณไม่ดี
  • หลังการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะไปแล้ว 24 ชั่วโมงยังไม่ดีขึ้น
  • มีระบบภูมิคุ้มกันลดลง
  • คุณมีสิ่งปลกปลอมภายในระบบทางเดินปัสสาวะของคุณเช่นนิ่วในไตหรือสายสวนปัสสาวะ
  • คุณมีโรคเบาหวาน
  • คุณอายุเกิน 65
  • คุณมีโรคไตของคุณเช่น polycystic โรคไตเรื้อรัง

เมื่อคุณรักษาในโรงพยาบาล

  • แพทย์จะให้น้ำเกลือเพื่อที่จะให้ยาปฏิชีวนะ และสารน้ำ
  • มีการตรวจวัดสัญญาณชีพบ่อยขึ้น
  • ผู้ป่วยทั่วๆไปจะตอบสนองต่อการรักาาดี และสามารถกลับบ้านในเวลา 3-7 วัน
  • ให้ยาลดไข้
  • ติดตามผลการเพาะเชื้อจากปัสสาวะและเลือด
  • ติดตามโรคร่วม

การรักษา

ผู้หญิงอายุน้อยที่มีอาการและอาการแสดงของกรวยไตอักเสบ pyelonephritis เฉียบพลันที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนสมารถให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ได้ โดยมีเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น โดยควรจะได้รับน้ำเกลือ และยาปฏิชีวนะทางน้ำเกลือ

ผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมักจะมีอาการป่วยอย่างรุนแรงที่ตั้งครรภ์หรือผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีความผิดปกติของโรคร่วมที่เพิ่มความซับซ้อนของการจัดการหรืออัตราภาวะแทรกซ้อน (เช่นเบาหวานโรคปอดเรื้อรังมา แต่กำเนิดหรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ได้มา) ค่าเข้าชมก็อาจจะแนะนำให้เลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีสถานการณ์ทางสังคมที่ไม่แน่นอนเนื่องจากเป็นไปได้ของการปฏิบัติที่ไม่ดีหรือไม่ดีติดตาม

การผ่าตัดฉุกเฉินอาจจะระบุไว้ในผู้ป่วยที่มีไข้หรือผลเลือดบวกวัฒนธรรมเรื้อรังนานกว่า 48 ชั่วโมง; ในผู้ป่วยที่มีสภาพเสื่อม; หรือในผู้ป่วยที่ปรากฏเป็นพิษได้นานกว่า 72 ชั่วโมง ผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีฝี pyelonephritis emphysematous หรือแคลคูลัสขัดขวาง สาเหตุอาจจะไม่เห็นได้ชัดในทันที แต่การเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดในภาพทางคลินิกใบสำคัญแสดงสิทธิการประเมินผลได้ทันทีสำหรับการแทรกแซงการผ่าตัดที่อาจเกิดขึ้น

หลังจากการกู้คืนจากการติดเชื้อเฉียบพลันผู้ป่วยอาจจะเป็นผู้สมัครสำหรับการผ่าตัดที่จะย้อนกลับเงื่อนไขที่จูงใจไตติดเชื้อซ้ำและความเสียหายของไต เงื่อนไขเหล่านี้รวมถึงความผิดปกติ แต่กำเนิด fistulae ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะ, ยั่วยวนต่อมลูกหมากโต, นิ่วไตและกรดไหลย้อน vesicoureteral

ยาปฏิชีวนะ

การเลือกยาปฏิชีวนะโดยทั่วไปจะยาที่ออกฤทธิ์กว้างเนื่องจากผลเพาะเชื้อจากปัสสาวะและเลือดยังไม่ได้ผล การเลือกยาควรจะเลือกยาปฏิชีวนะตามความไวของเชื้อโรคประจำท้องถิ่นนั้น และประเมินผลการรักษาหลังจากได้ยาปฏิชีวนะไปแล้ว 48 ชั่วโมง โดยทั่วไปจะรักษา 14 วัน

เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุได้แก่เชื้อ E coliยาที่ใช้ได้ผลได้แก่ fluoroquinolones, cephalosporins, penicillins, carbapenems และ aminoglycosides

การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะ

ยาที่ควรใช้เป็นครั้งแรก
  • ciprofloxacin (Cipro) 500 mg รับประทานวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 7 วันหรือ
  • ciprofloxacin extended-release (Cipro XR) 1000 mg รับประทานวันละครั้งหรือ
  • levofloxacin (Levaquin) 750 mg รับประทานวันละครั้งเป็นเวลา 5 วัน
  • หากเชื้อโรคดื้อต่อยากลุ่ม fluoroquinolone มากกว่า 10% ควรจะให้ยา ceftriaxone (Rocephin) 1g ทางหลอดเลือด หรือให้ aminoglycoside (gentamicin 7 mg/kg หรือ  tobramycin 7 mg/kg หรือ amikacin 20 mg/kg หยอดเข้าทางน้ำเกลือ)
ยาที่ควรจะใช้หากไม่สามารถใช้ยาข้างต้น
  • trimethoprim/sulfamethoxazole 160 mg/800 mg (Bactrim DS, Septra DS) 1 เม็ดวันละ สองครั้งเป็นเวลา 14 วัน
  • หากใช้ยา trimethoprim/sulfamethoxazole โดยที่ไม่ทราบผลเพาะเชื้อควรจะใช้ยาceftriaxone (Rocephin) 1g ทางหลอดเลือด หรือให้ aminoglycoside (gentamicin 7 mg/kg หรือ  tobramycin 7 mg/kg หรือ amikacin 20 mg/kg หยอดเข้าทางน้ำเกลือ)
ยาทางเลือก
  • ยากลุ่ม beta-lactams มักจะใช้ไม่ได้ผล หากจะใช้ควรจะได้รับยา ceftriaxone (Rocephin) 1g ทางหลอดเลือด หรือให้ aminoglycoside (gentamicin 7 mg/kg หรือ  tobramycin 7 mg/kg หรือ amikacin 20 mg/kg หยอดเข้าทางน้ำเกลือ)
  • amoxicillin-clavulanate (Augmentin) 500 mg/125 mg รับประทานวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 14 วัน
  • amoxicillin-clavulanate (Augmentin) 250 mg/125 mg รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3-7d วัน
  • cefaclor 500 mgรับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน

 

เมื่อไรจะใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานหรือชนิดฉีด

สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะที่จะต้องนอนโรงพยาบาลสามารถให้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน โดยควรที่จะได้รับยาทางหลอดน้ำเกลือ หรือให้ยาเข้าทางกล้ามเนื้อ แล้วจึงตามด้วยยาชนิดรับประทาน ทั้งนี้จะต้องประเมินแล้วว่าผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้พอ ไม่มีลักษณะของโลหิตเป็นพิษ สามารถรับประทานยาปฏิชีวนะได้ และไม่มีภาวะแทรกซ้อน

การติดตามการรักษากรวยไตอักเสบ

เมื่อตัดสินใจรักษาแบบผู้ป่วยนอกแล้วการติดตามผลการรักษามีความสำคัญมาก โดยทั่วไปจะนัดตรวจซ้ำ 1-2 วัน

  • ในรายที่ไม่แน่ใจว่าจะรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้หรือไม่ กรณีเช่นนี้จะนัดมาตรวจซ้ำ 1 วันหลังรักษา
  • หากแพทย์แน่ใจว่าผู้ป่วยสามารถให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้จะนัดตรวจซ้ำในเวลา 2 วันหลังการรักษา

ต้องแนะนำว่าหากมีอาการเปลี่ยนแปลงที่เร็วและรุนแรงก็ให้รีบเข้าโรงพยาบาลทันที

ผู้ที่แข็งแรงและไม่มีโรคแทรกซ้อนไม่จำเป็นต้องเพาะเชื้อจากปัสสาวะซ้ำ

  • สำหรับผู้ที่มีโรคแทรกซ้อนจะต้องนัดมาตรวจทางรังสีเพื่อหาสาเหตุของโรค
  • ให้พักผ่อนให้มากที่สุด
  • หยุดงานประมาณสองสัปดาห์

การดูแลคนตั้งครรภ์ที่ป่วยด้วยกรวยไตอักเสบ

สรุป

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกรวยไตอักเสบจะต้องรีบให้การรักษาเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน ผู้ที่แข็งแรงไม่มีโรคประจำตัวสามารถรักาาแบบผู้ป่วยนอก แต่สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่นคนตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือผู้ที่มีสุขภาพไม่ดี กลุ่มคนเหล่านี้ควรจะนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยทุกรายควรจะได้รับการเพาะเชื้อทั้งปัสสาวะและเลือด หลังการรักษา24-48 ชม ควรจะประเมินผลการรักษา ยาปฏิชีวนะควรจะได้ประมาณ14 วัน

 







เกี่ยวกับโรคไต
โรคไต 
โรคไตวายเรื้อรัง 
โรคต่อมลูกหมาก 
ทางเดินปัสสาวะอักเสบ 
นิ่วในไต 
ปัสสาวะรดที่นอน 
อาการโรคไต 
โรคไตจากยา 
การตรวจโปรตีนในปัสสาวะ 
โรค Nephrotic syndrome