การวินิจฉัย Diagnosisโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
เมื่อสงสัยว่ามีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอักเสบแพทย์จะส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยดังต่อไปนี้
- การตรวจปัสสาวะ วิธีการเก็บที่ถูกต้องคือเก็บปัสสาวะช่วงกลางของปัสสาวะซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
- ให้ถอดกางเกงใน
นั่งบนโถส้วม
- ฟอกมือด้วยสบู่ทั้งสองข้อง
- ใช้มือข้างหนึ่งแหวกแคมใน
- ใช้มืออีกข้างหนึ่งทำความสะอาดบริเวณรูเปิดท่อปัสสาวะด้วยน้ำยา
povidone-iodine หรือสบู่
- ถ่ายปัสสาวะช่วงแรกทิ้งไป
- เก็บปัสสาวะช่วงกลาง
การตรวจพบเม็ดเลือดขาวร่วมกับ a positive leukocyte esterase dip test จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยว่าเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบแม้ว่าตรวจปัสสาวะแล้วปริมาณเม็ดเลือดขาวยังไม่มากพอ แต่หากอาการเหมือนการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอักเสบก็สามารถให้การวินิจฉัยว่ามีทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- การเพาะเชื้อจากปัสสาวะถ้าพบเชื้อมากกว่า 100,000 colonies/mLแสดงว่ามีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การเพาะเชื้อจะทำการเพาะเฉพาะผู้ป่วยที่แพทย์สงสัยว่ามีกรวยไตอักเสบหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่มีโรคแทรกซ้อน
- ถ้าหากเคยรักษาทางเดินปัสสาวะอักเสบมาเมื่อเดือนที่แล้ว และการเพาะเชื้อครั้งนี้ขึ้นตัวเดียวกับคราวที่แล้วแสดงว่าการรักษาล้มเหลวเรียก
Relapse
- ถ้าการเพาะเชื้อครั้งนี้เป็นคนละตัวกับคราวที่แล้วเรียก Reinfection
- complete blood count (CBC) การเจาะเลือดเพื่อแยกว่าการติดเชื้อนั้นเป็นการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะหรือกรวยไตอักเสบ หากเป็นกรวยไตอักเสบจะพบเม็ดเลือดขาวในเลือดจะสูง
- การหน้าที่ของไตไม่จำเป็นต้องทำทุกรายจะทำเฉพาะในรายที่สูงอายุ หรือสงสัยว่าจะมีโรคแทรกซ้อน หรือต้องให้ยาที่มีพิษต่อไต
- การตรวจทาง
x-ray และหรือ ultrasound
ไม่จำเป็นต้องทำทุกรายจะทำในรายที่สงสัยว่าจะมีนิ่ว
หรือปัสสวะไหลย้อนการตรวจพิเศษนี้จะทำในรายที่เป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบที่เกิดในผู้ชาย