การตรวจร่างกาย

มักจะไม่พบความผิดปรกติ ที่สำคัญจะพบการกดจุดเจ็บทั่วๆไปของร่างกาย การตรวจเลือดมักจะให้ผลลบ

การวินิจฉัย

ใช้เกณฑ์ของ American colledge of Rheumatology ดังนี้

  1. มีอาการปวดทั่วร่างกายแบบเรื้อรังอย่างน้อย 3 เดือน
  2. พบจุดกดเจ็บมากกว่า 11 จุดจากการกด 18 จุดวิธีกดให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกด กดจนเล็บซีด

การเจาะเลือดตรวจ

ยังไม่มีการตรวจที่ยืนยันว่าเป็นโรคf fibromyalgiaเลือดที่เจาะได้แก่

การรักษา

การรักษาแบ่งออกเป็นการรักษาด้วยยา และ การดูแลตัวเอง

การใช้ยารักษา
ยาจะลดอาการเจ็บปวด และทำให้การนอนหลับดีขึ้น ยาเหล่านี้ได้แก่

  • ยาแก้ปวดได้แก่  paracetamol จะลดอาการปวดและข้อยึด Tramadolใช้เป็นยาแก้ปวด แพทย์อาจจะจ่ายยา NSAID เช่น ibuprofen naproxen sodium การใช้ยาอาจจะใช้ยาชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกันก็ได้
  • ยาต้านซึมเศร้า เช่นยา  Duloxetine และ milnacipranจะลดอาการปวดและอาการอ่อนล้า ส่วน amitriptylineหรือ fluoxetineจะช่วยเรื่องการนอนหลับการให้ยาในกลุ่มต้านซึมเศร้า เช่น amitriptyllin 10mg ก่อนนอนและปรับยาทุก 1-2 สัปดาห์จนกระทั่งคุมอาการได้
  • ยากันชักเช่น Gabapentin (Neurontin)สามารถลดอาการปวดลงได้ pregabalin เป็นยาที่ได้รับรองว่ารักษาโรคนี้ได้

เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีปัญหาด้านจิตใจ เป็นคนวิตกกังวลง่ายจึงต้องให้ความรู้ว่าไม่อันตราย ไม่ก่อให้เกิดความพิการและไม่ทำให้อายุสั้น เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายและเจ็บปวดทรมาน

การดูแลตัวเองสำหรับโรค Fibromyalgia syndrome

แพทย์ทางเลือก

  • การฝังเข็มซึ่งจะปรับสมดุลของสารเคมีที่หลั่งจากปลายประสาท จากการศึกษาเชื่อว่าการฝังเข็มจะลดอาการเจ็บปวดลงได้
  • การนวด จะทำให้กล้ามเนื้อไม่เกร็ง มีการผ่อนคลายของความเครียดซึ่งจะลดอาการปวด 
  • การโยคะและรำไทเก็ก เชื่อว่าจะลดอาการปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อมีการผ่อนคลาย

อ่านเรื่องโรคปวดกล้ามเนื้อ fibromyalgia