ยาคลายความวิตกกังวล Diazepam

ยา Diazepamใช้บรรเทาอาการวิตกกังวลทั่วไป รวมทั้งอาการวิตกกังวลก่อนการผ่าตัด ใช้รักษาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และควบคุมกล้ามเนื้อสั่นที่เกิดจากการชักและการถอนเหล้า

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา Diazepam

  • ใช้รักษาโรควิตกกังวล รวมทั้งใช้รักษาโรคที่เกิดจากความเครียด
  • ใช้รักษาอาการที่เกิดจากการหยุดสุรากระทันหัน
  • ใช้รักษาอาการชัก
  • ใช้คลายกล้ามเนื้อ

ขนาดยาและวิธีการใช้ยา Diazepam

  • ขนาดรับประทานตามแพทย์สั่ง ยา Diazepam จัดอยู่ในยาประเภทออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 4
  • มีขายในรูปยาเม็ดและแคปซูลขนาด 2 และ 5 มก.
  • ยา Diazepamใช้เพื่อบรรเทาอาการวิตกกังวล และอาการชัก เพื่อคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง หรือเพื่อควบคุมอาการกระสับกระส่ายซึ่งเป็นผลจากการขาดแอลกอฮอล์ วิธีใช้ยา 
  • ยา Diazepam อยู่ในรูปแบบยาเม็ด ใช้สำหรับรับประทาน โดยทั่วไปรับประทานวันละ 1-4 ครั้ง หรือให้ใช้ยา Diazepamตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด โดยห้ามใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุ และหากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
  • รับประทานยา Diazepam ได้ทั้งก่อนหรือหลังอาหาร แต่ควรรับประทานยาให้ตรงเวลาทุกครั้ง
  • หากการรับประทานยา Diazepam ทำให้เกิดอาการไม่สบายท้อง ให้รับประทานยาพร้อมอาหารจะช่วยลดอาการไม่สบายท้องได้
  • ห้ามหยุดใช้ยาด้วยตัวเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน
  • หากมีความจำเป็นต้องรับประทานยาลดกรด ให้รับประทานหลังจากรับประทานยา Diazepamแล้วอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • การรับประทานยา Diazepam อาจ ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ มึนงงได้เมื่อลุกยืนขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนท่าทางอย่างช้าๆ
  • การรับประทานยา Diazepam อาจทำให้มีอาการง่วงซึม
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในระหว่างที่รับประทานยา Diazepam อยู่
  • หลีกเลี่ยงการซื้อยาบรรเทาอาการหวัด ยาแก้ไอ หรือยาแก้แพ้มารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

ก่อนใช้ยา diazepam

  • การแพ้ยาโดยเฉพาะยากลุ่ม Benzodiazepam ได้แก่ diazepam, alprazolam , chlordiazepoxide , clonazepam , clorazepate, estazolam, flurazepam , lorazepam, oxazepam , prazepam, temazepam, triazolam หรือแพ้ยาอื่นๆ
  • แจ้งชื่อยาที่ท่านซื้อรับประทานเอง วิตามิน สมุนไพร หรือยาที่แพทย์สั่งจ่ายโดยเฉพาะ
    • ยารักษาโรคภูมิแพ้ antihistamines
    • ยารักษาโรคกระเพาะอาหารเช่น cimetidine; ranitidine
    • digoxin
    • disulfiram
    • ยาต้านโรคซึมเศร้า เช่น fluoxetine
    • ยาปฏิชีวนะ เช่น isoniazid rifampin
    • ketoconazole
    • ยารักษาโรค Parkinson's disease เช่น levodopa
    • probenecid
    • ยาแก้ปวดเช่น propoxyphene
    • propranolol , metoprolol
    • ยากันชักเช่น valproic acid
    • ยารักษาโรคหอบหืดเช่น theophylline
    • เนื่องจากยาเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการง่วงซึมมากขึ้น
  • การมีความผิดปกติหรือมีประวัติความผิดปกติของการทำงานของตับหรือไต เป็นโรคหัวใจ โรคปอด เช่น โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (sleep apnea) โรคจิต โรคซึมเศร้า ต้อหิน (glaucoma) โรคพาร์กินสัน (Parkinsons disease) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (myasthenia gravis) โรคลมชัก โรคปอด โรคตับ โรคพอร์ไฟเรีย (porphyria) นอนกรน หรือเคยมีความคิดฆ่าตัวตาย
  • การมีประวัติการติดยา สูบบุหรี่ หรือมีปัญหาเรื่องการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • การตั้งครรภ์ การวางแผนในการตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร
  • หากต้องรับประทานยาน้ำลดกรดให้รับประทานยา diazepam แล้ว 1 ชั่วโมงจึงรับประทานยาลดกรด
  • ยา Diazepamอาจจะทำให้เกิดอาการง่วงซึมจึงไม่ควรขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักร
  • ไม่ควรจะดื่มสุราระหว่างรับประทานยา Diazepam

ผลข้างเคียงที่สำคัญของยา Diazepam

ก่อนจะใช้ยาท่านจะต้องรู้ผลข้างเคียงที่อันตรายหากเกิดขึ้นจะต้องหยุดยาและไปโรงพยาบาลทันทีได้แก่อาการ แพ้ยาซึ่งจะมีอาการผื่นลมพิษ หายใจลำบาก บวมใบหน้า บวมริมฝีปาก ลิ้นและคอ เสียงแหบ หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะ เหนื่อบง่าย มีไข้ ท้องร่วง

  • หายใจลำบาก หรือกลืนลำบาก พูดลำบาก
  • สับสน มึนงง
  • รู้สึกซึมเศร้า
  • วิงเวียน
  • รู้สึกเหมือนจะหมดสติ
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป
  • รู้สึกตื่นเต้นมากกว่าปกติ หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว อยู่นิ่งไม่ได้
  • เคลื่อนไหวลำบาก เดินเซ เดินลากเท้า หรือกระตุก เป็นตะคริว
  • ถ่ายปัสสาวะลำบาก
  • ผื่นคัน อาการสั่น เหนื่อย อ่อนเพลียผิดปกติ ชัก มีไข้ ตัวหรือตาเหลือง
  • หัวใจเต้นไม่ปกติ

หากเกิดอาการข้างเหล่านี้ให้รีบปรึกษาแพทย์

  • สับสน ประสาทหลอน ความคิดและพฤติกรรมเปลี่ยน
  • ซึมเศร้า มีความคิดจะทำร้ายตัวเอง
  • ก้าวร้าว ตื่นเต้น ไม่เป็นมิตร
  • คุมอาการชักไม่ได้
  • หายใจอ่อนและหายใจตื้น
  • หน้ามืดจะเป็นลม
  • กล้ามเนื้อกระตุก มือสั่น
  • ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้
  • ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ

อาการข้างเคียงอื่นๆของยา

  • ง่วงนอน
  • นอนไม่หลับ ฝันร้าย
  • มึนศีรษะ ง่วงซึม หรือมีอาการคล้ายอาการเมาค้าง
  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ไม่สบายท้อง
  • ปากแห้ง
  • ท้องเสียหรือท้องผูก
  • อยากอาหารมากขึ้นหรือลดลง
  • ถ่ายปัสสาวะลำบาก หรือถ่ายปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • มองภาพไม่ชัด
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง

ข้อควรระวัง

  • สตรีมีครรภ์ วางแผนจะตั้งครรภ์ คิดว่าอาจมีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตรไม่ควรรับประทานยา Diazepam ระมัดระวังการใช้เป็นพิเศษในสตรีมีครรภ์ เพราะยาผ่านรกไปมีผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้ ในกรณีที่มารดาติดยา ทารกที่คลอดอาจจะมีอาการถอนยา หากตั้งครรภ์ขณะรับประทานยาอยู่ต้องบอกแพทย์ทันที
  • อาจทำให้ง่วงซึม มึนงง คลื่นไส้ ท้องผูก มีผื่นที่ผิวหนัง ตามัว เห็นภาพซ้อน ความดันต่ำ หรือแพ้ยา (มีผื่นคัน)
  • ถ้าใช้ในขนาดสูง อาจทำให้เดินเซ พูดลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ ควรให้ใน ขนาดต่ำ ๆ ก่อนเพื่อลดผลข้างเคียง (เช่น เดินเซ หกล้ม) แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนได้ผลและปลอดภัย
  • หากมีอาการนอนไม่หลับ ประสาทหลอน พฤติกรรมผิดปกติ เดินเซ หรือมีไข้ ควรหยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์
  • ถ้าใช้ในขนาดสูงและนาน ๆ อาจทำให้ติดยาได้
  • อาจทำให้การทำงานของตับและไตผิดปกติ ควรระมัดระวัง ถ้าใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ หรือโรคไต
  • ไม่ควรใช้ร่วมกับบาร์บิทูเรต หรือเหล้า อาจทำให้ง่วงซึมหรือหลับได้
  • ระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคลมชัก, ทารกแรกเกิด, มารดาที่ให้นมบุตร
  • ระมัดระวังการใช้ สำหรับผู้สูงอายุ และผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ ทรุดโทรม โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ อาจทำให้ กล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง หยุดหายใจได้ ถ้าพบอาการดังกล่าว ให้รีบช่วยหายใจ (โดยการเป่าปาก หรือใช้ เครื่องช่วยหายใจ) จนกว่ายาจะหมดฤทธิ์
  • หากกำลังใช้ยาอื่นอยู่ หรือเป็นโรคตับหรือโรคไต โรคต้อหิน ควรบอกแพทย์
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ชุดทดสอบน้ำตาลในปัสสาวะบางชนิดขณะรับประทานยา Diazepam อาจทำให้ผลทดสอบน้ำตาลเป็นลบลวงได้
  • ระหว่างที่รับประทานยา Diazepamไม่ควรจะรับประทานองุ่นหรือน้ำองุ่นเพราะจะทำให้ระดับยาเพิ่มมากขึ้น
  • การให้ยาในเด็กหรือผู้สูงอายุอาจเกิดผลตรงกันข้ามกับฤทธิ์ของยาได้
  • ระมัดระวังการใช้ในสตรีระยะให้นมบุตร ผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของตับหรือไตบกพร่อง  โรคต้อหินชนิดมุมเปิด โรคไมแอสทีเนีย แกรวีส โรคพอร์ไฟเรีย โรคที่ระบบทางเดินหายใจทำงานบกพร่อง  ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคทางจิตเวช เช่น โรคจิต โรคอารมณ์ซึมเศร้า เป็นต้น รวมทั้งผู้มีประวัติการติดยาหรือสารเสพติด
  • อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือด ตับ หรือไตได้
  • ยา Diazepam ทำให้มีอาการง่วงซึม ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือยาที่ออกฤทธิ์กดประสาทอื่น ๆ ร่วมกับยา Diazepam
  • และต้องระมัดระวังหากต้องขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
  • ถ้ารับประทานยาเพื่อควบคุมอาการชัก และยังมีอาการชักบ่อยหรือรุนแรงอยู่ ต้องพบแพทย์เพื่อปรับขนาดยา
  • ยา Diazepamทำให้เกิดการเสพติดได้ จึงไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกินที่แพทย์กำหนด

ความปลอดภัยของยา Diazepamในสตรีมีครรภ์

สำหรับสตรีมีครรภ์ ยา Diazepam จัดอยู่ในประเภท D


ข้อห้ามใช้ยา diazepam

  • ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคต้อหินเฉียบพลันชนิดมุมแคบ
  • ไมแอสทีเนียเกรวิส
  • หญิงตั้งครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก
  • ผู้ที่แพ้ยา Diazepam
  • ผู้ป่วยโรคปอดรุนแรง
  • ผู้ที่เป็นโรคตับรุนแรง
  • ผู้ที่เป็นโรคนอนกรน