ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร lansoprazole
ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร lansoprazole เป็นในกลุ่ม Protone pump inhibitor ยับยั้งการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร จึงใช้สำหรับรักษาโรคกรดไหลย้อน แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ใช้ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารสำหรับผู้ที่รับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs รักษาภาวะที่กระเพาะอาหารหลั่งกรดมาก โรคกระเพาะอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
ขนาดและวิธีการใช้ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร lansoprazole
- ยานี้รับประทานวันละครั้ง ก่อนอาหาร
- หากใช้รักษาโรคกระเพาะที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้รับประทานวันละ 2 ครั้งหรือ 3 ครั้งเป็นเวลา 10-14 วัน
- ให้กลืนยาทั้งเม็ด ห้ามบด หรือเคี้ยว
- หากกลืนลำบากให้นำยาออกจากแคปซูลและผสมน้ำผลไม้หรือโยเกตร์และดื่ม ห้ามเคี้ยว
ก่อนใช้ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร lansoprazole
- แจ้งแพทย์เรื่องแพ้ยา
- แจ้งแพทย์ชื่อยาที่รับประทานทั้งที่ซื้อเอง วิตามิน สมุนไพร และยาที่แพทย์สั่งโดยเฉพาะยา
- ยาปฏิชีวนะเช่น ampicillin
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด as warfarin
- ยาต้านไวรัส atazanavir
- ยารักษาโรคหัวใจเช่น digoxin , diuretics
- ธาตุเหล็กiron supplements,
- ยารักษาเชื้อรา ketoconazole
- ยากดภูมิคุ้มกัน methotrexate
- ยาขยายหลอดลม theophylline
- แพทย์จะปรับยาและเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา
- หากต้องรับประทาน sucralfate ต้องรับประทานหลังจากรับประทาน lansoprazole ไปแล้วอย่างน้อย 30 นาที
- หากท่านเคยมีภาวะแมกนีเซี่ยมในเลือดต่ำ หรือเป็นโรคตับต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบ
- แจ้งแพทย์หากว่ากำลังตั้งครรภ์ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- หากท่านอายุมากกว่า 50 ปีจะต้องประเมินประโยชน์และโทษซึ่งจะเสี่ยงต่อการเกิดท้องร่วง และกระดูกหัก
- หากท่านเป็นโรค phenylketonuria ต้องแจ้งแพทย์
- สำหรับผู้ที่จะซื้อยารับประทานเอง หากท่านมีอาการดังต่อไปนี้ควรจะปรึกษาแพทย์ อาการดังกล่าวได้แก่
- หน้ามืด เหงื่อออก ร่วมกับอาการจุกหน้าอก ร้าวไปไหล่และแขนซึ่งท่านอาจจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- หายใจเหนื่อย หรือหายใจเสียงดังหวีด ท่านอาจจะเป็นโรคหอบหืด หรือโรคหัวใจ
- กลืนอาหารลำบาก เจ็บหน้าอกเวลากลืนน้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ ท่านอาจจะเป็นโรคมะเร็ง
ผลข้างเคียงของยารักษาโรคกระเพาะอาหาร lansoprazole
- ท้องผูก
- คลื่นไส้
- ปวดศีรษะ
- มึนงง
ก่อนจะใช้ยาท่านจะต้องรู้ผลข้างเคียงที่อันตรายหากเกิดขึ้นจะต้องหยุดยาและไปโรงพยาบาลทันทีได้แก่อาการ แพ้ยาซึ่งจะมีอาการผื่นลมพิษ หายใจลำบาก บวมใบหน้า บวมริมฝีปาก ลิ้นและคอ เสียงแหบ หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะ เหนื่อบง่าย มีไข้ ท้องร่วง
หากเกิดอาการต่อไปนี้ให้หยุดยา และปรึกษาแพทย์เมื่อสงสัยว่าจะมีภาวะแมกนีเซี่ยมต่ำ
- มึนงง สับสน
- หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดปกติ
- กล้ามเนื้อกระตุก
- เป็นตะคริว หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ไอหรือสำลัก
- ชัก
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร lansoprazole
- แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น Duodenal ulcer ให้ขนาด 15 mg วันละครั้งใช้เวลารักษาประมาณ 4 สัปดาห์
- การป้องกันแผล ลำไส้เล็กส่วนต้น Duodenal ulcer กลับเป็นซ้ำให้ขนาด 15 mg วันละครั้ง
- แผลกระเพาะอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย H. pylori
- การใช้ยา 3 ชนิดร่วมกันได้แก่ Lansoprazoleขนาด 30 mg วันละ 2ครั้งร่วมกับ amoxicillin ขนาด 1กรัมวันละ 2 ครั้ง และ clarithromycin ขนาด 500 mg วันละ 2ครั้ง นาน 10-14 วัน
- การใช้ยา 2ชนิดได้แก่ Lansoprazole ขนาด 30 mg วันละ 3 ครั้ง และ amoxicillin 1 กรัมวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 14 วัน
- การรักษาแผลที่กระเพาะอาหาร Gastric ulcer ให้ขนาด 30 mg วันละครั้งใช้เวลารักษา 8 สัปดาห์
- การรักษาแผลกระเพาะอาหารที่เกิดจากการรับประทานยาแก้ปวด NSAIDs ให้ขนาด 30 mg วันละครั้ง
- การรักษากรดไหลย้อนที่ไม่มีหลอดอาหารอักเสบให้ขนาด 15 mg วันละครั้งเป็นเวลา 8 สัปดาห์
- การรักษากรดไหลย้อนที่มีหลอดอาหารอักเสบ erosive gastritis ให้ขนาด 30 มิลิกรัมวันละครั้งให้รักษานาน 8 สัปดาห์ หากไม่หายอาจจะต่ออีก 8 สัปดาห์
- สำหรับภาวะกรดหลั่งมาก
ข้อควรระวังในการใช้ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร lansoprazole
- สำหรับท่านที่ซื้อยารับประทานเองหากไม่ดีจะต้องปรึกษาแพทย์ เพราะอาการโรคมะเร็งกระเพาะอาหารก็มีอาการจุกเสียดท้องเหมือนกัน
- ท่านที่รับประทานยาโรคกระเพาะกลุ่มนี้ proton pump inhibitor (PPI) จะมีความเสี่ยงของกระดูกหักเพิ่มโดยเฉพาะผู้ที่รับประทานยาในขนาดสูง และเป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน
- ภาวะแมกนีเซี่ยมต่ำมักจะเกิดหลังจากได้ยานี้ไปแล้ว 3 เดือนอาการที่สำคัญคือกล้ามเนื้อกระตุก หัวใจเต้นผิดปกติ และชัก โดยเฉพาะผู้ที่ได้ยา digoxin และหรือยาขับปัสสาวะ diuretics
ความปลอดภัยในคนท้อง
Pregnancy Category B
ยาน้ำแก้โรคกระเพาะ | ยาระบาย | ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน | ยา cisapride | ยา hyocyamine | ยาแก้กระเพาะกลุ่ม PPI | ยาขับลม | sucralfate | ranitidine | nizatidine | cimetidine | famotidine | ยาแก้ท้องเสีย | Esomeprazole | lansoprazole | Omeprazole | Misoprostol