ยาลดกรด Esomeprazole
ยา Esomeprazole เป็นยาในกลุ่ม Proton pump inhibitor มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารจึงนำมาใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน รักษาแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
วิธีการรับประทานยาEsomeprazole
- ยานี้รับประทานก่อนอาหาร 1 ชั่วโมงรับประทานวันละครั้ง ในรายที่กรดมาอาจจะให้รับประทานวันละ 2 ครั้ง
- ยาแคปซูลให้กลืนไม่ต้องเคี้ยว ไม่ต้องบด
- หากรับประทานไม่ได้อาจจะเปิดแคปซูลเอายามาผสมกับน้ำแล้วดื่ม หรือใส่สายยางเข้าทางกระเพาะอาหาร
วิธีการผสมยาEsomeprazole
- ใส่น้ำ 1 ช้อนโต๊ะลงในถ้วย
- เปิดแคปซูลและเทยาลงในถ้วย
- คนยาให้เข้ากันทิ้งไว้ 2-3 นาที
- คนอีกครั้งและดื่มภายใน 3 นาที
- หากมียาเหลือก้นถ้วยก็ให้เทน้ำลงผสมและดื่มให้หมด
ก่อนรับประทานยา esomeprazole
- แจ้งแพทย์หากท่านเคยแพ้ยากลุ่ม Proton pump inhibitor เช่น esomeprazole, dexlansoprazole , lansoprazole , omeprazole, pantoprazole , rabeprazole
- แจ้งชื่อยาที่ท่านรับประทานทั้งยาที่ซื้อเอง วิตามิน สมุนไพร และยาที่แพทย์สั่งโดยเฉพาะ
- ยาปฏิชีวนะ
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด warfarin
- ยารักษาเชื้อราเช่น ketoconazole and voriconazole
- cilostazol; clopidogrel
- diazepam
- digoxin
- diuretics
- iron supplements;
- ยาต้านไวรัสสำหรับโรคเอดส์ (HIV) such as atazanavir , nelfinavir และ saquinavir
- และ methotrexate
- แพทย์อาจจะปรับขนาดของยาและเฝ้าติดตามภาวะแทรกซ้อน
- แจ้งแพทย์หากเคยมีภาวะแมกนีเซี่ยมต่ำ หรือเป็นโรคตับ
- แจ้งแพทย์หากกำลังตั้งครรภ์หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปีให้ปรึกษาแพทย์ถึงความคุ้มค่าในการใช้ยาเพราะจะเสี่ยงต่อภาวะท้องร่วง
ผลข้างเคียงของยาEsomeprazole
ผลข้างเคียงที่สำคัญของยา Omeprazole
ก่อนจะใช้ยาท่านจะต้องรู้ผลข้างเคียงที่อันตรายหากเกิดขึ้นจะต้องหยุดยาและไปโรงพยาบาลทันทีได้แก่อาการ แพ้ยาซึ่งจะมีอาการผื่นลมพิษ หายใจลำบาก เหนื่อบง่าย มีไข้ ท้องร่วง
- ผื่นพุพองผิวหนังลอก
- อาการผื่นลมพิษ
- คันตามตัว
- หายใจลำบากหรือกลืนลำบาก
- บวมใบหน้า บวมริมฝีปาก ลิ้นและคอ
- เสียงแหบ
- หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะ
- อ่อนเพลียอย่างมาก
- มึนงง
- หน้ามืดเป็นลม
- ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ
- ชัก
- ท้องร่วงรุนแรง
- ปวดท้อง
- มีไข้
ผลข้างเคียงของยาที่พบได้แก่อาการเหล่านี้ ให้ปรึกษาแพทย์หากอาการรุนแรงหรือไม่หาย
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้
- แน่จุกเสียดท้อง
- ท้องผูก
- ปากแห้ง
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาEsomeprazole
กรดไหลย้อน
- กรดไหลย้อนที่มีหลอดอาหารอักเสบใช้เวลารักาา 4-8 สัปดาห์หากไม่หายอาจจะต่ออีก4-8สัปดาห์ให้ขนาด 20-40มิลิกรัมวันละครั้ง
- การให้ยาป้องกันเกิดการอักเสบของหลอดอาหารจะให้ไม่เกิน 6 เดือนให้ขนาด 20 มิลิกรัมวันละครั้ง
- ผู้ป่วยที่มีกรดไหลย้อนจะให้ยาเพียง 4-8 สัปดาห์ให้ขนาด 20มิลิกรัมวันละครั้ง
การให้ยาเพื่อป้องกันแผลกระเพาะอาหารจากยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID
- ให้ขนาด20-40 มิลิกรัมวันละครั้งนาน ไม่เกิน 6 เดือน
การให้ยาเพื่อรักษาแผลกระเพาะอาหารที่เกิดจากเชื้อ H. pylori
- การให้ยา 3 ชนิด esomeprazole 40 มิลิกรัมวันละครั้ง 10 วัน บวก amoxicillin 1 กรัมวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 2 ครั้งเป็นเวลา 10 วันและ clarithromycin ขนาด500มิลิกรัมวันละ2ครั้งเป็นเวลา 10 วัน
ข้อควรจะระวังในการใช้ยา esomeprazole
- สำหรับท่านที่มีอาการปวดท้องเรื้อรัง และยังไม่เคยได้รับการตรวจสาเหตุของการปวดท้อง ไม่แนะนำให้รับประทานยานี้เป็นเวลานาน เนื่องจากท่านอาจจะเป็นโรคอื่นเช่นมะเร็งซึ่งจะทำให้การรักาาล่าช้า
- ท้องร่วงเนื่องจากการติดเชื้อ Clostridium Difficile โดยเฉพาะผู้ที่นอนโรงพยาบาล
- การให้ยา esomeprazole ร่วมกับ Clopidogrel จะทำให้ประสิทธิภาพของ Clopidogrel ลดลง
- การได้รับยา esomeprazole ขนาดสูงเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนและเกิดกระดูกหัก
- เกิดภาวะ แมกนีเซี่ยมในเลือดต่ำโดยเฉพาะผู้ที่ได้ esomeprazole มากกว่า 3 เดือน จะมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก หัวใจเต้นผิดปกติ และชัก และได้รับยา ขับปัสสาวะ และ digoxin
ความปลอดภัยในคนท้อง
Pregnancy Category C
ยาน้ำแก้โรคกระเพาะ | ยาระบาย | ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน | ยา cisapride | ยา hyocyamine | ยาแก้กระเพาะกลุ่ม PPI | ยาขับลม | sucralfate | ranitidine | nizatidine | cimetidine | famotidine | ยาแก้ท้องเสีย | Esomeprazole | lansoprazole | Omeprazole | Misoprostol