หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ผู้ที่มีผลเลือดหรืออาการเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวานก็จะวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวาน สำหรับผู้ที่มีผลน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มก% น้ำตาลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5.7-6.4 จะให้การวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน กลุ่มเหล่านี้มีความสำคัญคือจะมีอัตราการเกิดเบาหวานสูงกว่าประชาชนทั่วไป และมีโรคแทรกซ้อนหัวใจ และหลอดเลือดเทียบเท่าโรคเบาหวาน
อุบัติการณืของการเกิดกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยอ้วนลงพุง หรือ Metabolic syndrome มีเพิ่มขึ้นทั่วโลกทำให้เกิดโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานเพิ่มขึ้น การป้องกันโรคเสี่ยงต่อเบาหวานมีหลักใหญ่ๆสองประการคือ
อาหารป้องกันโรคเสี่ยงเบาหวานมีหลักดังนี้
เครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น ชาเขียว น้ำผลไม้ กาแฟ น้ำอัดลม สินค้าบางชนิดไม่ได้ใส่น้ำตาลกลูโคส แต่ใส่น้ำตาลฟรัตโตส ซึ่งเป็นเสียต่อสุขภาพเหมือนกัน ดังนั้นไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานทั้งหมด
ผู้ที่อ้วน หรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานจะต้องลดปริมาณอาหารลง โดยมีพลังงานจะต้องไม่เกินกำหนด ท่านสามารถรับประทานอาหารได้แต่ต้องลดปริมาณอาหาร ทำสำคัญอาหารพวกแป้งจะต้องคำนึงถึง Glycemic index และ Glycemic load หากรับประทานข้าวให้เลือกข้าวกล้องแทน
อาหารที่มีใยอาหารมากได้แก่อาหารประเภท ผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช โดยทั่วไปอาหารที่รับประทานครึ่งหนึ่งน่าจะเป็นผักและผลไม้ ใยอาหารจะทำให้รู้สึกอิ่มท้อง
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ดื่มก็ไม่จำเป็นต้องดื่ม แต่สำหรับผู้ที่ดื่มสุราก็ลดปริมาณลงไม่เกินวันละ 2 หน่วยสุรา อ่านเรื่องสุรา
หลีกเลี่ยงอาหารมันโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว โดยทั่วไปเลือดอาหารที่มีไขมันต่ำ และรับประทานอาหารที่มีไขมันที่ดี่ต่อร่างกายได้แก่อาหารพวกถั่ว น้ำมันมะกอก
หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่มีสีแดง เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อติดมัน อาหารสำเร็จรูป เช่นไส้กรอก หมูแฮม เบคอน กุนเชียง ให้รับประทานไก่ที่ไม่ติดหนัง เนื้อปลา อ่านวิธีเลือกเนื้อสัตว์
หลายท่านเข้าใจผิดว่าหิวน้ำคืออาการหิว และดื่มน้ำหวานหรือน้ำอัดลมมากทำให้น้ำหนักเพิ่ม
การออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนัก ควบคุมระดับน้ำตาล อ่านเรื่องการออกกำลังกาย