ยาลดน้ำตาล Sulfonylureas
ยากลุ่มนี้ดูดซึมได้ดีเมื่อให้ยาก่อนอาหาร ยาจะถูกขับออกทางไตเป็นส่วนใหญ่ดังนั้นผู้ป่วยที่ไตเสื่อมจึงไม่ควรใช้ยาในกลุ่มนี้ ยาในกลุ่มนี้จะมีกลไกการออกฤทธิ์คล้ายกัน แต่ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ต่างกันดังนั้นจึงห้ามใช้ยาในกลุ่มนี้ร่วมกัน ควรรับประทานยาก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง
กลไกการอกฤทธิ์ของยาSulfonylureas
- การตุ่นการหลั่งอินซูลินจาก beta cell ของตับอ่อน พบว่าการกระตุ้นเกิดเพียงชั่วคราว 3-6 เดือนหลังจากนั้นการหลั่งของอินซูลินจะมีลักษณะเหมือนก่อนรักษา
- กดการสร้าง glucose ที่ตับ
- เพิ่มความสามารถของอินซูลิน
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาSulfonylureas
ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อยากลุ่มนี้ได้ดีจะมีลักษณะดังนี้
- เป็นเบาหวานน้อยกว่า 5 ปีและเป็นชนิดที่สอง
- อายุมากกว่า 40 ปี
- คนอ้วน
- น้ำตาลก่อนอาหารเช้าน้อยกว่า 200 มก%
- ถ้าเคยได้อินซูลินมาก่อนควรได้น้อยกว่า 40 ยูนิตต่อวัน
ข้อห้ามในการใช้ยาSulfonylureas
- เป็นโรคเบาหวานชนิดที่1
- ผู้ที่ตับอ่อนถูกตัดออกหมด
- ผู้ที่มีโรคแทรกซ้อนจากเลาหวานแบบเฉียบพลัน
- มีภาวะติดเชื้ออย่างรุนแรง
- มีโรคตับหรือโรคไต
- ระหว่างผ่าตัดใหญ่
- ระยะตั้งครรภ์
- มีประวัติแพ้ยาในกลุ่ม ซัลโฟนาไมด์
- อยู่ในภาวะช็อค
ผลข้างเคียงของยาSulfonylureas
ยาในกลุ่มนี้มีอะไรบ้าง
ชื่อยา |
ขนาดยาที่ใช้ต่อวัน(มก) |
จำนวนครั้งต่อวัน |
ระยะเวลาการออกฤทธิ์ |
Tolbutamide[500 มก.] |
500-3000 |
2-3 |
6-10 |
Chlorpropamide[250 มก.] |
100-500 |
1 |
24-72 |
Gliquidone [30 มก] |
15-120 |
1-2 |
8-12 |
Glicazide[80 มก ] |
80-320 |
1-2 |
10-20 |
Glipizide[5มก ] |
2.5-40 |
1-2 |
12-16 |
Glibenclamide[5] มก |
2.5-20 |
1-2 |
16-24 |
Glimepiride[2,4,8 มก] |
1-8 |
1 |
24 |
Repaglinide.5,1,2 |
1-8 |
3 |
4-6 |
การเลือกและติดตามการใช้ยาSulfonylureas
- การรักษาอาจจะเริ่มด้วยยาชนิดใดชนิดหนึ่งก็ได้ แต่ควรจะคำนึงถึงราคายา และความสะดวกในการใช้ยาด้วยเพราะต้องใช้ยาในระยะเวลานาน
- ผู้สูงอายุหรือไตเสื่อมไม่ควรใช้ยา Chlorpropamide และ Glibenclamide เพราะมีโอกาศทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่าย
- Chlorpropamide ยังอาจจะทำให้เกลือโซเดี่ยมในเลือดต่ำ จึงไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาขับปัสสาวะ และระวังทำให้เกิดหัวใจวาย
- ในแง่ของการออกฤทธิ์ glipizide มีฤทธิ์สั้นกว่า และอ่อนกว่า glibenclamide โอกาศทำให้น้ำตาลต่ำอาจจะมีน้อยกว่า
- ควรจะเริ่มใช้ยาขนาดน้อยๆก่อน เช่นครึ่งเม็ดต่อวัน แล้วจึงค่อยเพิ่มขนาดทุก 1-2 สัปดาห์ เมื่อคุมเบาหวานได้ดีควรจะลดยาให้มีขนาดน้อยที่สุดเท่าที่ยังคุมเบาหวานได้ การใช้ยาขนาดมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
การตอบสนองต่อยาSulfonylureas
- ประมาณร้อยละ 60-70 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ตอบสนองต่อยากลุ่มนี้ ต่อมาการตอบสนองจะลดลงเรื่อยๆเรียกว่าเกิด secondary drug failure พบได้ประมาณร้อยละ 5-10 ของผู้ป่วยต่อปี ดังนั้นเมื่อรักษาผู้ป่วยไปได้ 10 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ตอบสนองต่อยารับประทานต้องใช้การฉีดอินซูลิน
- ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยาเนื่องจากไม่คุมอาหาร หรือกรณีเกิดความเครียด หรือเกิดโรค เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคติดเชื้อ การบาดเจ็บ จนต้องเปลี่ยนเป็นยาฉีด เมื่อคุมน้ำตาลได้ดีสักระยะหนึ่งและความเครียดหายจึงพิจารณากลับมารับประทานยา
การใช้ยารักษาเบาหวาน