การวัดความดันโลหิตที่บ้าน
บางท่านความดันโลหิตสูงไม่มากเช่น 140/90 มิลิเมตรปรอทแพทย์จะแนะนำให้วัดความดันโลหิตที่บ้าน หรือกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น white coat hypertension คือความดันโลหิตจะสูง เมื่อพบแพทย์และความดันโลหิตจะปกต ิเมื่ออยู่ที่บ้านแพทย์จะแนะนำให้วัดความดันโลหิตที่บ้าน
![]() |
---|
![]() |
![]() |
ปัญหาของท่านคือจะเลือกเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดไหนดี เครื่องวัดความดันโลหิตมีอยู่ 3 ชนิดคือ
Mercury sphygmomanometer เครื่องวัดความดันชนิดปรอท
เป็นเครื่องมือมาตรฐานสำหรับวัดความดันโลหิต วัดง่ายไม่ต้องมีการปรับแต่ง ใช้หลักการแรงโน้มถ่วงของโลกให้ผลวัดที่แม่นยำ เครื่องมือประกอบด้วยแท่งแก้วที่มีสารปรอทอยู่ภายใน บางท่านไม่แนะนำให้ใช้ตามบ้านเพราะกลัวอันตรายจากสารปรอท แต่รุ่นที่ออกแบบสำหรับใช้ตามบ้านจะมีความปลอดภัยสูง ข้อเสียของเครื่องมือนี้ได้แก่
Aneroid equipment เครื่องวัดความดันชนิดขดลวด
เป็นเครื่องมือที่ราคาไม่แพง น้ำหนักเบา และพกพาสะดวกมากกว่าชนิดปรอท
เครื่องวัดชนิดนี้สามารถวางตำแหน่งไหนก็ได้ บางรุ่น มีหูฟังอยู่ในสายพันแขน ข้อด้อยของเครื่องมือนี้คือ<
- เครื่องมือมีกลไกซับซ้อน ต้องปรับเครื่องมือโดยเทียบกับชนิดปรอท อย่างน้อยปีละครั้งหรือเมื่อมีการทำตก หากผู้ป่วยใช้ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เครื่องชำรุด และต้องส่งไปซ่อม
- ผู้ที่สายตาไม่ดีหรือได้ยินไม่ชัดหรือไม่สามารถบีบลมจะทำให้การวัดไม่แม่น
Automaticequipment เครื่องวัดความดันชนิดดิจิตอล
เป็นเครื่องมือที่ไม่ต้องมีหูฟังหรือลูกยางสำหรับบีบลมทำให้สะดวดในการใช้งาน สามารถพกพาได้ง่าย ข้อผิดพลาดน้อยเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สูงอายุสายตาและการได้ยินไม่ดี แสดงผลเป็นตัวเลขที่หน้าจอพร้อมกับอัตราการเต้นของหัวใจ บางชนิดสามารถพิมพ์ผลค่าที่วัด สายพันมีทั้งชนิดพันที่แขนและข้อมือ ข้อด้อยคือ
- เครื่องมือประกอบด้วยกลไกซับซ้อน แตกหักง่าย ต้องมีการตรวจสอบความแม่นยำของการวัดเมื่อเทียบกับชนิดปรอท ผู้ป่วยบางประเภทอาจจะให้ผลการวัดผิดพลาด หากร่างกายเคลื่อนไหวจะทำให้เกิดการผิดพลาดของการวัด ราคาค่อนข้างแพง และต้องใช้ไฟฟ้า
- การพันสายรัดแขนต้องพันให้ถูกตำแหน่ง
การเลือกขนาดของสายรัดแขน
ผู้ใหญ่หรือเด็กที่มีขนาดแขนใหญ่กว่า หรือเล็กกว่ามาตรฐานควรจะเลือกขนาดของสายรัดแขนให้เหมาะ เพราะอาจจะทำให้ผลที่ได้ผิดพลาด และโปรดจำไว้ว่าการวัดเองที่บ้านเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ท่านยังต้องไปพบแพทย์ตรวจเป็นประจำตามแพทย์สั่ง
เครื่องวัดความดันที่เหมาะกับท่าน |
||
![]()
|
|
|
การวัดความดันโลหิตแบบ Ambulatory BP Monitoring เป็นการวัดความดันโลหิตขณะมีกิจกรรม และขณะนอนหลับเพื่อที่จะได้มีข้อมูลความดันโลหิตหลายค่า
- เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการรักษาโรคความดันโลหิตสูงที่เรียกว่า White coat hypertension ความดันโลหิตของผู้ป่วยเมื่อวัดที่บ้านจะปกติ แต่เมื่อมาพบแพทย์จะมีความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่ความดันโลหิตยังสูงแม้ว่าจะให้ยาเต็มที่แล้ว ผู้ป่วยที่มีอาการความดันโลหิตต่ำ
- ผู้ป่วยที่มีความดันสูงเป็นช่วงๆ
ด้วยการวัดความดันหลายครั้งจะได้ว่าคนที่เป็นความดันโลหิตสูงจะมีค่าความดันสูงกว่า 130/85 มม.ปรอท ในเวลากลางวัน และมากกว่า 120/75 มม.ปรอท ในเวลากลางคืน
กลับหน้าเดิม การวัดความดันโลหิต
- โรคแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง
- ยารักษาความดันโลหิต
- การออกกำลังกาย
- ใยอาหาร
- อัตราการเต้นหัวใจเป้าหมาย
- การเลือกใช้ยาลดความดันโลหิต
- การวัดความดันโลหิต
- เครื่องวัดความดันโลหิต
- การป้องกันความดันโลหิตสูง
- ปัจจัยเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง
- สัญญาณเตือนภัย
- ความดันโลหิตกับผู้หญิง
- ใครมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง
- เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตวัดได้อย่างไร
- ความดันที่ดีต้องเท่าไร
- การตรวจพิเศษเมื่อท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูง
- เมื่อไรจึงจะรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคที่เกิดจากความดันโลหิตสูง
- อวัยวะที่เสียหายจากโรคความดันโดยที่ไม่เกิดอาการ
- โรคความดันโลหิตสูงกับผู้หญิง
- วิธีป้องกันความดันโลหิตสูงโดยไม่ต้องใช้ยา
- การรักษาความดันโลหิตสูง
- รับประทานเกลือน้อยจะลดการเกิดโรคหัวใจ
ความดันโลหิตสูง | การวัดความดันโลหิต |