การเลือกใช้ยาลดความดันโลหิต

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

เป็นโรคที่พบร่วมกับความดันโลหิตสูงได้บ่อย ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกคงที่ หรือที่เรียกว่า stable angina pectoris (ไม่เจ็บหน้าอกขณะพัก เจ็บแต่ละครั้งไม่นาน อมยาแล้วหายปวด เจ็บไม่ถี่) ยาที่ควรเลือกใช้ได้แก่ยาในกลุ่ม {beta}-blocker หรือยาในกลุ่ม long-acting CCBs สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกบ่อยให้เลือกใช้ยา {beta}-blockers และ ACE inhibitors ส่วนผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดตีบไปแล้วยาที่ควรจะเลือกใช้ได้แก่ ACE inhibitors, {beta}-blockers, and aldosterone antagonists

หัวใจวาย

หมายถึงภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ สาเหตุมักจะเกิดจากความดันโลหิตสูง และหัวใจขาดเลือด ยาที่เลือกใช้ควรจะเป็นยาในกลุ่ม ACE inhibitors และ {beta}-blocker ส่วนผู้ที่มีอาการหัวใจวาย หรือหัวใจวายระยะสุดท้ายยาที่ควรจะเลือกใช้ได้แก่ ACE inhibitors, {beta}-blockers, ARBs, aldosterone blockers นอกจากนั้นยังต้องควบคุมระดับไขมันในเลือดและความดันโลหิตเพื่อป้องกันภาวะหัวใจวาย

ความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

การรักษาอาจจะต้องใช้ยามากกว่า 2 ชนิดเพื่อระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ 130/80 มม.ปรอท ยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยาขับปัสสาวะThiazide diuretics, {beta}-blockers, ACE inhibitors, ARBs, and CCBs หากพบปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะก็จะแนะนำให้ใช้ยาในกลุ่ม ACE inhibitor– or ARB-based treatments

ผู้ที่เป็นโรคไต โรคไตในที่นี้หมายถึง

  1. ผู้ที่มีค่า creatinin มากกว่า 1.5 มก.%ในผู้ชาย หรือ 1.3 มก.%ในผู้หญิง
  2. ผู้ที่มีค่าไข่ขาวในปัสสาวะมากกว่า 300 มก/วัน หรือ มากกว่า 200มก/กรัมของcreatinin ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจจะต้องใช้ยาตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไปเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอท สำหรับยาในกลุ่ม ACE inhibitors, ARBs,สามารถชลอการเสื่อมของโรคไตได้ หากค่า creatinin เพิ่มขึ้นน้อยกว่า 35%จากค่าเริ่มต้นก็ไม่จำเป็นต้องหยุดยา นอกเสียจากว่ามีค่าโปแตสเซียเพิ่มขึ้น หากค่า creatinin มากกว่า 2.5 มก.%อาจจะต้องให้ยาขับปัสสาวะในกลุ่ม loop diuretic ร่วมด้วย
  3. ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดในสมอง ในระยะเฉียบพลันการลดระดับความดันโลหิตให้ลงสู่ปกติอาจจะทำให้เกิดผลเสีย หากจะลดให้ลดลงเหลือประมาณ 160/100 มม.ปรอท