กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจสั่นพริ้วที่เป็นใหม่
พบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่เป็นหัวใจเต้นพริ้วที่เป็นครั้งแรกจะหายเองได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมงโดยไม่ต้องใช้ยารักษา สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจสั่นพริ้วครั้งแรกจะมีแนวทางการดูแลดังนี้
- สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องรับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือ มีความเสี่ยงสูงในการเกิดลิ่มเลือด embolism สูง เช่น มีภาวะหัวใจล้มเหลวอยู่, เป็นผู้ที่จะทำการรักษาเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจ early cardioversion ในบางรายอาจต้องรับเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่มีเครื่องติดตามการเต้นของหัวใจ CCU ด้วย เช่น มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, กล้ามเนื้อหัวใจตายร่วมด้วย.ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรจะนอนในโรงพยาบาล
- สำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำท่วมปอดเฉียบพลัน (acute pulmonary edema), กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (acute myocardial infarction), หรือเป็น atrial fibrillation ร่วมกับ preexcitation syndrome.จะต้องรักษาโดยการเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจ อ่านที่นี่
- ในกรณีที่ไม่ต้องการไม่เร่งด่วนก็อาจจะใช้ยาเพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจ เช่น
- Digoxin ในขนาด 0.25-0.5 มก. ฉีดทางหลอดเลือดดำ ในการรักษา acute episode รวมไม่เกิน 1.0-1.5 มก.ใน 24 ชั่วโมง และในขนาด 0.125-0.50 มก./วันในการควบคุม sustained atrial fibrillation. การออกฤทธิ์ของยาค่อนข้างช้าแม้จะให้ทางหลอดเลือดดำ3 และได้ผลไม่ค่อยดีในภาวะ hyperadrenergic.
- beta-blockers เช่น propanolol ใน ขนาด 1-5 มก. ทางหลอดเลือดดำช้าๆ ในเวลา 10 นาที ออกฤทธิ์เร็ว แต่ควรระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีประวัติหอบหืดหรือหลอดลมตีบ. ส่วนขนาดยาที่ให้ในการควบคุมอัตราชีพจรในระยะยาวก็เช่น propanolol 30-360 มก./วัน แบ่งให้วันละ 2-4 ครั้ง เป็นต้น.
- Calcium-channel blockers เช่น diltiazem ในขนาด 20 มก. ฉีดทางหลอดเลือดดำ และอาจให้ซ้ำได้ 25 มก.หลัง 15 นาทีถ้า dose แรกไม่ได้ผลหลังจากนั้นให้เป็น infusion ต่อ 5-15 มก./ชั่วโมง. ส่วนในระยะยาวการควบคุมอัตราชีพจรอาจให้รูปแบบกินที่ออกฤทธิ์ยาวในขนาด 180-300 มก./วัน ต่อไป. ยาในกลุ่มนี้อีกชนิดที่สามารถใช้ได้คือ verapamil ในขนาด 5-10 มก. ฉีดทางหลอดเลือดดำช้าๆ นาน 2-3 นาที ถ้าไม่ได้ผลใน 30 นาทีให้ซ้ำได้ในขนาดเดิม และควบคุมอัตราชีพจรระยะยาวต่อด้วยยากินที่ออกฤทธิ์ยาวในขนาด 120-240 มก./วัน.
ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วย atrial fibrillation จะกลับมาเป็น sinus rhythm ใน 24 ชั่วโมงหลังจาก onset แต่ถ้าเป็นนานกว่า 1 สัปดาห์โอกาสที่จะกลับเป็น sinus rhythm จะน้อยมาก
- Antiarrhythmic drug therapy การให้ยาเพื่อเปลี่ยนจาก atrial fibrillation เป็น sinus rhythm อาจพิจารณาในผู้ป่วยที่เป็นมาไม่ถึง 48 ชั่วโมงหรือได้ warfarin มานานพอ.
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) ผู้ป่วยส่วนมากจะไม่สามารถบอกระยะเวลาของการเกิดหัวใจเต้นสั่นพริ้ว atrial fibrillation ได้ ดังนั้นถ้าจะรักษาด้วยเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจ cardioversion จึงแนะนำให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดก่อนทุกราย.โดยวิธีให้อาจเป็นการให้ warfarin กินก่อนให้ได้ระดับ international normalized ratio 2.0-3.0 นานอย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อน หรืออีกวิธีหนึ่งคือให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดอื่นๆ เช่น unfractionated heparin หรือ low-molecular-weight-heparin ก่อนในช่วงสั้นๆ แล้วจึงรักษาต่อด้วยการช็อคไฟฟ้า direct-current cardioversion. ซึ่งวิธีนี้แนะนำให้ใช้ การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง echocardiogram โดยผ่านทางหลอดอาหาร ตรวจดูก่อนว่าไม่มีลิ่มเลือดในหัวใจ และหลังจาก cardioversion แล้วไม่ว่าจะจากวิธีไหน ควรให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดต่ออีกอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ด้วย. ส่วนกรณีในโรงพยาบาลชุมชนที่ไม่มีเครื่อง echocardiogram ให้เลือกใช้วิธี การให้กิน warfarin ก่อน 3 สัปดาห์ แล้วจึงทำ cardioversion.
ชนิดหัวใจเต้นสั่นพริ้ว
สารบัญ
ต้องการสอบถามเพิ่มเติมที่นี่