การป้องกันโรคหัวใจเต้นสั่นพริ้ว
หัวใจเต้นสั่นพริ้ว atrial fibrillation
คือการเต้นหัวใจที่ผิดปกติหัวใจจะเต้นเร็ว จะรู้สึกใจสั่นอาจจะมีอาการอ่อนเพลีย มึนงง และหายใจลำบาก หัวใจเต้นสั่นพริ้ว atrial fibrillation อาจจะเกิดทันทีทันใดโดยที่ไม่มีการเตือน และอาจจะเกิดเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน ก็หายไปได้เอง หรือบางรายอาจจะเป็นถาวร หัวใจเต้นสั่นพริ้ว atrial fibrillation อาจจะหยุดเองโดยที่ไม่ได้ไม่ต้องทำการรักษา
ชนิดของ atrial fibrillation
แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
- Paroxysmalผู้ป่วยจะเกิดอาการใจสั่นและหัวใจเต้นผิดปกติซึ่งจะหายภายใน 7 วันโดยทั่วไปแล้วจะหายได้ภายใน 1 วัน
- Persistent การเต้นของหัวใจผิดปกติจะเป็นมากกว่า 7 วันชนิดนี้อาจจะต้องทำการรักษา
- Permanent จะหัวใจเต้นสั่นพริ้ว atrial fibrillationตลอด 12 เดือนและไม่ตอบสนองต่อการรักษา
atrial fibrillation ตัวของมันเองไม่มีอันตรายแต่อาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเช่นหัวใจวายโรคสมองขาดเลือด และเป็นสาเหตุหนึ่งในห้าของเส้นเลือดสมองตีบ
เมื่อเกิด atrial fibrillation แล้วเราจะทำอย่างไรให้มัหยุด
- ให้นั่งและเอามือข้างหนึ่งไว้ที่กระเพาะหลังจากนั้นหายใจเข้าลึกๆช้าๆเป็นเวลา 4 วินาทีเพื่อให้ลมเข้าไปเต็มปอดหลังจากนั้นกลั้นหายใจไว้สักระยะหนึ่งแล้วจึงหายใจออก
- ดื่มน้ำเย็นแก้วหนึ่งจ๊ะๆการดื่มน้ำเย็นจะช่วยลดการเต้นของหัวใจโดยเฉพาะในกรณีที่ขาดน้ำ
- มีการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายจะช่วยหยุดอาการของโรค แต่การจะออกกำลังกายนี้จะต้องปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาว่าจะทำได้หรือไม่
- การทำโยคะจะมีประโยชน์ที่หยุดการเต้นของ atrial fibrillation และเป็นการป้องกันมีการศึกษาพบว่าการทำโยคะ 2 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลา 3 เดือนจะลดความดันโลหิตสูงและอัตราการเต้นหัวใจแล้วทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
- การฝึกไบโอฟีดแบคเทคนิคการฝึกที่ให้ใจควบคุมการตอบสนองของร่างกายที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งภายนอกและแวดล้อมภายใน การฝึกไบโอฟีดแบคจะทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ และทำให้หัวใจเต้นดีขึ้นลดความถี่ของการเกิด atrial fibrillation ลง
- vagal maneuver การใช้วิธีการนี้จะสามารถหยุดการเต้น atrial fibrillation ได้วิธีการก็คือมีกิจกรรมที่กระตุ้น vagus nerve ยกตัวอย่างเช่นการไอการหายใจเข้าลึกลึกและกลั้นหายใจไว้
- การออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนักทำให้หัวใจเต้นปกติลดความเครียดและลดความดันเป้าหมายก็คือการออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 20 นาทีทุกวันตัวอย่างของการออกกำลังกายเช่นการเดิน conjuring การวิ่งการขี่จักรยานเป็นต้นการยกน้ำหนักก็มีส่วนช่วย
- อาการรับประทานอาหารสุขภาพการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและลดความเสี่ยงของการเกิด atrial fibrillation การเกิดโรคเลือดและสมองและโรคหัวใจที่สำคัญก็คือจะต้องดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกัน atrial fibrillation นอกจากนั้นให้ลดการดื่มสุราโดยดื่มไม่เกิน 2 หน่วยสุราต่อวัน กาแฟ
- รักษาโรคไขมันสูงและความดันโลหิตสูงเพราะทั้งสองโลกเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ การควบคุมความดันและไขมันจะช่วยลดการเกิด atrial fibrillation
- นอนหลับอย่างเพียงพอการอดนอนหรือโรคนอนกรนหรือนอนไม่หลับจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหัวใจเต้นผิดปกติ คนเราควรจะนอนอย่างน้อยวันละ 7-9 ชั่วโมงโดยมีคุณภาพการนอนที่ดี
- รักษาน้ำหนักให้ปกติเพราะคนอ้วนจะเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานนอนกรน ความดันโลหิตสูงซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยเสี่ยงและการทำให้เกิด atrial fibrillation
- งดบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเอเลียส resin คนที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงของการเกิดออกซิเดชันมากกว่าคนที่ไม่สูบ 2 เท่า
- ลดความเครียดคนที่มีความเครียดโกรธจะทำให้มีปัญหาต่อการเต้นของหัวใจวิธีการที่จะลดความเครียดได้แก่
- การออกกำลังกาย
- การหายใจเข้าลึกๆ
- การทำสมาธิการทำ
- progressive muscle relaxation
- โยคะ
ทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นวิธีการที่จะหยุด atrial fibrillation
สารบัญ
ต้องการสอบถามเพิ่มเติมที่นี่