การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด Angina pectoris

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด Angina pectoris

การดูแลทั่วๆไป

  • ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกแบบ angina ควรจะได้รับการตรวจโดยการวิ่งสายพานเพื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัด
  • ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาโดยไม่ต้องรอผลการตรวจวิ่งสายพาน การรักษาประกอบไปด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
  • ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
  • เปลี่ยนแปลงการดำเนินกิจวัตรบางอย่างเช่น เลิกสูบบุหรี่ ลดปริมาณไขมันในอาหาร ควบคุมน้ำหนักตัว
  • รับประทานยาโดยเคร่งครัด พกยาอมใต้ลิ้น หรือ spray ติดตัวเผื่อได้ใช้ทันที
  • ผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกหากพักแล้วไม่หาย หรืออมยาใต้ลิ้นแล้วไม่หายปวดใน5 นาทีจะต้องรีบเข้าโรงพยาบาลทันทีเพราะท่านอาจจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

การรักษาโดยการใช้ยา

  • ยาที่บรรเทาอาการเจ็บหน้าอกได้แก่ nitroglycerine อาจจะเป็นชนิ อม หรือพ่นก็ได้ จะใช้ในกรณีที่เจ็บหน้าอก หากเจ็บมากให้อมทุกห้านาที หากไม่หายต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน
  • ยาขยายหลอดเลือด เช่น isosorbide dinitrate,isordil,isosorbide mononitrate ใหัรับประทานเพื่อป้องกันอาการเจ็บหน้าอก โดยทั่วไปไม่แนะนำให้รับประทานต่อเนื่องทั้งวัน แต่แนะนำให้ทานป้องกันเฉพาะเวลาที่มักจะเกิดอาการเจ็บหน้าอก เช่นตอนเช้า งดเวลากลางคืนทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดื้อยา
  • การรักษาด้วยยาได้แก่ propanolol,atenolol,metoprolo เพื่อลดการใช้ oxygen ของหัวใจ แต่ต้องระวังในผู้ป่วยที่มีหัวใจวาย หัวใจเต้นช้า หรือโรคหอบหืด
  • ให้ยา aspirinและ statin เพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบ
  • ผู้ป่วยควรจะได้รับยาลดความดันโลหิตสูงกลุ่ม ACEI หากไม่มีข้อห้าม



การรักษาโดยการผ่าตัด

ถ้าไม่รักษาผลจะเป็นเช่นไร

ถ้าไม่ได้รับการรักษา และไม่ได้ปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยง หลอดเลือดแดง coronary จะตีบมากขึ้นทำให้เกิดเจ็บหน้าอกบ่อยขึ้น เจ็บนานขึ้น และเจ็บหน้าอกขณะไม่ได้ทำงาน เรียกอาการเจ็บหน้าอกแบบนี้ว่า unstable angina ถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือเป็นโรคหัวใจวาย

การป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

  • งดบุหรี่โดยเด็ดขาด
  • ลดน้ำหนัก หากคุณจัดในประเภทอ้วนลงพุง
  • ได้รับยาลดไขมันกลุ่ม Statin
  • ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด
  • ควบุมอาหารและการใช้ยาเพื่อคุมระดับไขมันโดยเฉพาะ LDL ให้ต่ำกว่า 100 มก%
  • ควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มมปรอท

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบ

  • ท่านต้องหยุดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
  • พยายามหลีกเลี่ยงสารที่ทำให้หัวใจทำงานเพิ่มขึ้น เช่น กาแฟ โคเคน บาบ้า
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่
  • อย่าให้เกิดความเครียด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สำหรับท่านที่ไม่เคยออกต้องเริ่มทีละน้อย หากมีอาการเหนื่อยมากหรือเจ็บหน้าอกต้องรีบปรึกษาแพทย์
  • ท่านยาaspirin

เมื่อไรจะพบแพทย์โรคหัวใจ

เมื่อท่านเจ็บหน้าอกแบบ angina pectoris ท่านควรจะพบแพทย์โรคหัวใจในกรณีต่อไปนี้

  • หากท่านเคยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาก่อน หรือเคยผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจ หรือการทำบอลลูนมาก่อน หากมีอาการเจ็บหน้าอกควรจะพบแพทย์โรคหัวใจ
  • คลื่นไฟฟ้าหัวใจท่านเคยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • อมยาแล้วอาการเจ็บหน้าอกไม่ทุเลา
  • เจ็บหน้าอกนานกว่าปกติ
  • เจ็บหน้าอกขณะพัก
  • มีอาการเจ็บหน้าอกร่วมกับเป็นลม เหนื่อยมาก เหงื่อออก
  • กรณีที่วินิจฉัยโรคไม่แน่ชัด
  • ท่านมีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง

อาการเจ็บหน้าอก angina มีกี่แบบ

มีสองแบบได้แก่

  • Stable angina ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกดังกล่าวข้องต้น
  • Unstable angina ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก หรือเจ็บนานกว่าปกติ อมยาไม่หาย ซึ่งจะต้องให้การรักษาดดยเร็ว คลิกอ่านที่น๊๋

กลับหน้าแรก

เพิ่มเพื่อน