อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากเหตุขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST Elevation

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST Elevation บางส่วนไม่มีอาการ แต่บางส่วนมีอาการเจ็บหน้าอกแบบ Angina pectoris แต่มีข้อชวนให้สงสัยว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ดังนี้

เจ็บหน้าอก

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ST Elevation จะเกิดเวลาไหนก็ได้ แต่จะพบบ่อยตอนเช้าหลังตื่นนอน 2-3 ชั่วโมง
  • อาการเจ็บหน้าอกจะเป็นอาการที่พาผู้ป่วยมาโรงพยาบาล
  • ลักษณะของอาการเจ็บหน้าอกจะบอกว่าแน่นจุกบริเวณกลางอก บางท่านนิยามว่าเหมือนเข็มขัดรัดรอบทรวงอก บางท่านบอกเหมือนช้างเอาเท้าเหยียบที่อกและไม่ยอมยกเท้าขึ้น แต่บางท่านจะเจ็บที่ขากรรไก หรือเจ็บจุกๆบริเวณลิมปี่ แต่จะมีลักษณะที่แตกต่างจากเดิมดังนี้
    • อาการเจ็บ/หนัก/แน่นหน้าอก จะมีอาการหนักกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา
    • อาการเจ็บ/หนัก/แน่นหน้าอก จะเป็นนานกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา
    • อาการเจ็บ/หนัก/แน่นหน้าอกไม่หายแม้ว่าจะพักแล้วก็ตาม
    • อาการเจ็บ /หนัก/แน่นหน้าอกจะไม่หายปวด แม้ว่าจะอมยาใต้ลิ้น
  • มักจะมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น
    • อ่อนแรง
    • คลื่นไส้อาเจียน
    • เหงื่อออก
    • หน้ามืดเป็นลม
  • อาการเจ็บหน้าอกอาจจะร้าวไปส่วนอื่นของร่างกายได้แก่
    • แขนซ้าย
    • ท้องโดยเฉพาะบริเวณลิ้มปี่
    • หลัง
    • ขากรรไก
    • คอ
  • แต่มีผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่มีอาการจุกแน่นหน้าอกซึ่งมักจะพบในผู้สูงอายุและเป็นโรคเบาหวาน อาการที่มักจะมาได้แก่
    • อาการเหนื่อยหายใจลำบาก ซึ่งเป็นอาการของหัวใจวาย
    • ซึมลง
    • หรือหมดสติ
    • ใจสั่นเนื่องมาจากหัวใจเต้นผิดปรกติ
    • ความดันโลหิตต่ำ
    • มีลิ่มเลือดลอยไปอุดหลอดเลือดที่สำคัญ


การตรวจร่างกายPhysical examination

ญาติจะช่วยดูว่าผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่

  • ซีดหน้าตาจะซีดเหมือนคนเป็นลม ปากซีด
  • เหงื่อออกตามแขนขา และใบหน้า
  • ปลายมือปลายเท้าจะเย็นชื้น
  • หากท่านมีเครื่องวัดความดันโลหิตให้วัดความดันและจับชีพขจร
  • ในชั่วโมงแรกของการเจ็บหน้าอกอาจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของชีพขจรและความดันโลหิต
    • ผู้ที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดบริเวณกว้างจะมีความดันโลหิตต่ำ(น้อยกว่า100 มมปรอท)ชีพขจรจะมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที
    • แต่ก็มีผู้ป่วยที่มีทั้งความดันสูงและชีพขจรเร็ว บางคนความดันโลหิตต่ำและชีพขจรช้า ขึ้นกับว่าหลอดเลือดเส้นไหนตีบตัน
  • หากเอื้อมมือคำตำแหน่งของหัวใจอาจจะคลำไม่พบ

หากสงสัยให้พาเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

สาเหตุของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน