การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
เป็นการนำเลือดผ่านเข้าเครื่องไตเทียม ผ่านไปยังเยื่อ Hemodialyzer ซึ่งเป็น semipermeable membrane ซึ่งจะกรองเอาของเสียออก เลือดที่ผ่านการกรองก็จะกลับเข้าสู่เครื่องไตเทียม และเข้าสู่ร่างกาย ทำให้กำจัดของเสีย คุมความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ และรักษาระดับความดันให้ปกติ
การเตรียมการก่อนฟอกเลือด
ก่อนฟอกเลือดจะต้องมีการนำเลือดจากหลอดเลือดมาฟอกโดยทำได้ 2 วิธี
- ใช้เข็มเจาะเข้าหลอดเลือดที่หลอดเลือดบริเวณคอ และหลอดเลือดขาหนีบ วิธีนี้ใช้ฟอกเลือดได้ 2-6 สัปดาห์
- วิธีที่สองเป็นการต่อหลอดเลือดแดง และดำ [arteriovenous [ A-V] fistular ]หลังต่อหลอดเลือดดำจะพองและขยายทำให้สามารถใช้เข็มเจาะเอาเลือดไปฟอกได้ วิธีนี้เป็นวิธีการถาวรแต่ต้องใช้เวลาให้หลอดเลือดดำพองตัว
ขณะฟอกท่านสามารถอ่านหนังสือหรือรับประทานอาหารได้ ใช้เวลาฟอก 2-4 ชั่วโมง อาทิตย์ละ2-3 ครั้ง
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
พบได้บ่อยคือความดันโลหิตต่ำอาจเกิดจากผู้ป่วยกินยาลดความดันโลหิตก่อนฟอกและตะคริวเนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่เร็วเกินไปใช้เวลาในการปรับตัวหลายเดือน โรคแทรกซ้อนที่พบได้น้อยได้แก่ไข้ เลือดออกทางเดินอาหาร คัน นอนไม่หลับเป็นต้น
ข้อห้ามการฟอกเลือดคือความดันโลหิตต่ำ และเลือดออก
ข้อปฏิบัติก่อนการฟอกเลือด
- ควรงดรับประทานยาลดความดันโลหิตก่อนฟอก 4-6 ชั่วโมง
- ถ้ามีการเสียเลือดมาก เช่นมีประจำเดือน อุจาระดำ อาเจียนเป็นเลือด ให้แจ้งแพทย์ก่อนฟอกเลือดทุกครั้ง
การปฏิบัติตนขณะฟอกเลือด
- แขนข้างที่กำลังฟอกให้อยู่นิ่งๆ
- เตรียมอาหารมารับประทานขณะฟอกเลือด
- ถ้ามีอาการเวียนศีรษะ ใจสั่น ขณะฟอกให้แจ้งพยาบาลผู้ดูแลทันที
ข้อควรปฏิบัติหลังฟอกเลือด
- หลังการฟอกเลือดใหม่จะมีการห้ามเลือดโดยใช้พลาสเตอร์หรือผ้ากอซปิด
เมื่อเลือดหยุดจึงเอาผ้าก๊อซออกและติดพลาสเตอร์
- รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารตามคำแนะนำดังกล่าวมาแล้ว
- ชั่งน้ำหนักทุกวัน
โดยควบคุมมิให้น้ำหนักเพิ่มเกินวันละ 0.5 กก.
- หลังการฟอกเลือดให้ระวังการถูกกระแทกแรงๆเพราะจะทำให้เกิดช้ำได้
การรับประทานอาหาร
- ให้รับประทานโปรตีนจากเนื้อปลา
แทนจากถั่วและผัก
- เลือกอาหารที่มีโพแทสเซียมไม่สูงไม่ต่ำเนื่องจากสูงหรือต่ำไปจะทำให้เกิดผลเสียต่อหัวใจ
- จำกัดน้ำดื่มมิให้น้ำหนักเพิ่มเกินวันละ
0.5 กิโลกรัม
- งดอาหารเค็ม
- งดอาหารที่มี
phosphate สูงดังกล่าวข้างต้น อ่านที่นี่
โรคไตวายเรื้อรัง สาเหตุโรคไต การรักษาโรคไต การรักษาความดัน การรักษาเบาหวานและไขมัน การรักษาภาวะแคลเซี่ยมต่ำ การรักษาภาวะโลหิตจาง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด การรักษาโปรตีนในปัสสาวะ ความเสี่ยงการเกิดโรคไต การตรวจวินิจฉัยโรคไต ความรุนแรงโรคไต สาเหตุโรคไต อาการโรคไต โรคไต
รูปภาพจาก
- http://biology-forums.com/index?action=gallery;sa=view;id=1244