ยาลดความดันโลหิต Ramipril
ยานี้จะไปลดสารเคมีบางชนิดที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว จึงทำให้หลอดเลือดคลายตัวทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น จึงใช้ในการลดความดันโลหิต และภาวะหัวใจวาย
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา
- ความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจล้มเหลว
- ป้องกันโรคหัวใจ
ขนาดยา Ramipril ที่ใช้
การรับประทานยาต้องรับประทานตามแพทย์สั่ง โดยทั่วไปรับประทานวันละ 1 หรือ 2 ครั้ง เมื่อท้องว่าง (1 ชั่วโมงก่อนอาหาร หรือ 2 ชั่วโมง หลังอาหาร) เนื่องจากโรคเหล่านี้เป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หายขาด จึงควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ อย่าหยุดยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจทำให้โรครุนแรงกว่าเดิม ยานี้มีขายในรุปยาเม็ดขนาด 1.25, 2.5 และ 5 มก.
ความดันโลหิตสูง
- ให้เริ่มต้นวันละ 1.25 มก ก่อนนอน ขนาดที่ใช้วันละ 2.5-5 มกวันละครั้งอาจจะเพิ่มถึงวันละ 10 มก
หัวใจวาย
- เริ่มต้นให้ 1.25 มกต่อวันขนาดเต็มที่ 10 มก ต่อวัน หากขนาดยามากกว่า 2.5 มก ให้แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง
สำหรับป้องกันหัวใจ
- เริ่มต้นให้ 2.5 มก วันละ 2 ครั้งโดยให้หลังจากเกิดโรคหัวใจแล้ว 3-10 วันหลังจากนั้นอีก 2 วันเพิ่มเป็น 5 มก วันละ 2 ครั้ง
ผู้ป่วยโรคตับเริ่มให้วันละ 1.25 มก
ผู้ป่วยที่ไตเสื่อมขนาดจะแปลตามการทำงานของไต
CrCl (ml/min) |
ขนาดยาที่แนะนำ |
10-30 |
Initiate with 1.25 mg once daily. Max dose: 5 mg daily. |
<10 |
Initiate with 1.25 mg once daily. Max dose: 2.5 mg daily. |
ข้อห้ามในการใช้ยา Ramipril
เหมือนกับยาในกลุ่ม ACE inhibitor
คำแนะ
- ควรพบแพทย์ตามนัดเพื่อประเมินผลการรักษา และอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยา
- ปฏิบัติตนตามแพทย์แนะนำ เช่น ลดอาหารที่มีรสเค็ม ไขมันสูง และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ข้อควรระวังในการใช้ยา Ramipril
- ไตเสื่อม
- ภาวะขาดน้ำ
- เกลือโพแทสเซี่ยมในเลือดสูง
- โรคลิ้นหัวใจตีบ
- ระวังความดันโลหิตจะต่ำระหว่างผ่าตัด
- จะต้องติดตามการทำงานของไต และเกลือแร่ในระหว่างการรักษา
- ใช้อย่างระมัระวังในผู้ป่วยหลอดเลือดแดงตีบ
- จะต้องติดตาม CBC สำหรับผู้ป่วยที่แพ้ภูมิ
ผลข้างเคียงของยา Ramipril
- พบไม่บ่อย มีอาการเวียนศีรษะ มึนงง ปวดศีรษะ อาจพบได้ในช่วงแรกที่ใช้ยา และไม่ควรขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
- หากมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เป็นลม เจ็บคอ มีผื่น มือเท้าบวม หรือชา ตัวเหลือง หรือตาเหลือง ให้พบแพทย์
การปฏิบัติตัว
- ควรบอกแพทย์หากตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร
- แจ้งแพทย์ว่าเป็นโรคไต หรือโรคประจำตัวอื่น
- ควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา
- หลีกเลี่ยงแดดจัดหรือร้อนจัด เพราะอาจทำให้อาการเวียนศีรษะ มึนงง เป็นมากขึ้น
- แจ้งแพทย์ว่ากำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาเสริมโพแทสเซียม ยาขับปัสสาวะชนิดสงวนโพแทสเซียม ยาแก้ปวดข้อ หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาลดความดันโลหิตหรือยารักษาโรคหัวใจอื่น ๆ เป็นต้น
ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์
- สำหรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท C (ในระยะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก)
- ประเภท D (ในระยะตั้งครรภ์ 4-9 เดือน)
Captopril | Enalapril | Lisinopril | Perindopril | Ramipril |