โรคเบาหวานและการดูแลผิวหนัง
สุขภาพผิวหนัง
ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ประมาณหนึ่งในสามจะมีปัญหาทางผิวหนังเนื่องจากโรคเบาหวาน โชคดีที่ปัญหาเหล่านี้ไม่ถึงกับเสียชีวิต และสามารถป้องกันได้ ปัญหาที่ผิวหนัง เช่นอาการคัน ผิวอักเสบ การติดเชื้อ ฝี หนอง แผลหายยาก จึงควรดูแลผิวหนังอย่างสม่ำเสมอ
- รักษาผิวหนังให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
- ส่วนบริเวณขาหนีบหรือรักแร้อหลังอาบน้ำซับให้แห้ง และโรยแป้งฝุ่น
- หลีกเลี่ยงความอับชื้น โดยเฉพาะคนที่อ้วน เพราะอาจจะเกิดเชื้อราได้ได้ง่าย
- กรณีผิวแห้ง ควรทาครีมให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังเพื่อไม่ให้เกิดรอยแตก
- ถ้ามีเหงื่อมากอาจจะทาแป้งฝุ่นบางๆเพื่อให้สบายตัว
- ใช้ครีมกันแดดเมื่อออดแดด
- หลีกเลี่ยงการเกาหรือขีดข่วน
- สำรวจผิวหนังตัวเองทุกวัน ว่ามีตุ่ม ก้อน หรือแผลหรือไม่
- ถ้าฉีดอินซูลินต้องดูบริเวณที่ฉีดว่ามีแผล หรือการอักเสบหรือไม่
- ไม่ควรอาบน้ำที่ร้อนเกินไป ไม่ควรแช่น้ำฟองสบู่เพราะจะทำให้ผิวแห้งมากขึ้น ให้ใช้สบู่ที่ให้ความชื้น
- หลังอาบน้ำให้ใช้ครีบบำรุงผิวที่ให้ความชุ่มชื้น
- ไม่ควรทาครีบที่ซอกนิ้วเพราะจะทำให้เกิดเชื้อรา
- ทำแผลเล็กน้อยอย่างถูกต้อง การทำแผลสดให้ใช้น้ำเกลือสะอาดทำแผล ห้ามใช้แอลกอออลล์ ยาแดง ไอโอดีนทำแผลเพราะจะระคายเคืองแผล และปิดแผลด้วยผ้าทำแผลที่สะอาด
- ในฤดูหนาว หรือภาวะที่อากาศแห้งให้ใช้เครื่องให้ความชื้นในบ้าน
ปัญหาผิวหนังที่พบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ปัญหาเกี่ยวกับผิวแห้ง
ปัญหาผิวแห้งจะพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งหากไม่แก้ไขจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดแผล และหากเกิดที่เท้าก็อาจจะทำให้ถูกตัดเท้า
โรคผิวหนังที่มักจะพบร่วมกับโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยเฉพาะชนิดที่ 1 มักจะพบร่วมกับโรคผิวหนังบางชนิดได้แก่ โรคด่างขาว scleroderma diabeticorum
โรคผิวหนังที่พบร่วมกับภาวะดื้อต่ออินซูลิน
ภาวะดื้อต่ออินซูลิน และอ้วนจะทำให้ผิวหนังหนาตัว มีสีคล้ำ มักจะพบบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ อาจจะพบที่มือ ข้อศอก เรียกผิวหนังช้าง
โรคผิวหนังที่พบร่วมกับหลอดเลือดตีบ
นอกจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงผิวหนังก็ตีบซึ่งจะทำให้เกิดอาการ ผิวบาง สีมันๆ ขนร่วง เล็บหน่ตัวและเปลี่ยนสี แผลหายช้า
การติดเชื้อของผิวหนัง

ผิวหนังของผู้ป่วยเบาหวานจะติดเชื้อได้ง่ายได้แก่เชื้อแบคทีเรีบ เชื้อไวรัส และเชื้อรา ตำแหน่งก็สามารถพบได้ทั่วร่างกาย เช่น เล็บ ผม ขน
โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน |
หลักการรักษา
การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง