การเตรียมตัวท่องเที่ยวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ท่านผู้อ่านที่เป็นเบาหวานคงกังวลเป็นอย่างมาก เวลาจะเดินทางไปต่างประเทศ หรือท่องเที่ยวเป็นเวลานานๆ จะช็อกหรือเปล่า น้ำตาลจะต่ำหรือจะสูง และจะเตรียมตัวอย่างไร หลังจากที่ท่านได้อ่านบทความนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะมีความสุขกับการท่องเที่ยว การเตรียมตัวขึ้นอยู่กับว่าไปนานแค่ไหน อาหารที่จะรับประทาน และมีกิจกรรมมากน้อยแค่ไหน เอาละไปเที่ยวด้วยกันดีกว่า

โรคเบาหวาน

เนื้อหารที่จะกล่าวประกอบไปด้วยท่องเที่ยว

  • การเตรียมตัวก่อนการท่องเที่ยว
  • การเตรียมสัมภาระสำหรับการท่องเที่ยว
  • การท่องเที่ยวทางอากาศ
  • การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
  • ที่สนามบิน
  • การดูแลระหว่างการเดินทาง
  • สิ่งผิดปกติที่อาจจะพบได้

เตรียมตัวก่อนท่องเที่ยว

ก่อนการเดินทางท่านต้องศึกษาสถานที่จะไปท่องเที่ยว อาหารของประเทศที่จะไปเป็นแป้งหรือมันหรือไม่ เวลาประเทศที่จะไปต่างจากประเทศไทยอย่างไร อุณหภูมิของประเทศที่จะไป ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

การเตรียมตัวก่อนการเดินทาง 3 เดือน

  • วางแผนการเดินทางจองตั๋วเครื่องบิน
  • ตรวจสอบข้อกำหนดหรือกฏของสายการบินเกี่ยวการนำยา เข็มฉีดยา หัวเข็ใ เครื่องตรวจน้ำ ในการนำขึ้นเครื่องบินว่ามีข้อจำกัดอะไบ้าง
  • แจ้งสายการบินว่าท่านเป็นเบาหวานซี่งบางสายการยินจะจัดพนักงานที่เคยอบรมโรคเบาหวานดูแลท่าน
  • หากท่านจะต้องนำเครื่องขึ้นขึ้นต้องปรึกษาสายการบินก่อนนำขึ้น
  • จะต้องมีเอกสารจากแพทย์ 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นรายงานประวัติผู้ป่วยว่าเป็นโรคอะไร แพ้ยาอะไร ได้ยาอะไร อุปกรณ์ที่ใช้มีอะไรบ้าง ฉบับที่สองเป็นใบสั่งยาของแพทย์ที่สั่งยา เข็ม เป็นต้น

การเตรียมการก่อนเดินทาง 2 เดือน

  • ต้องตรวจร่างกายโดยละเอียดเพื่อตรวจว่ามีโรคแทรกซ้อนหรือยัง และหากมีโรคแทรกซ้อนเป็นข้อห้ามในการเดินทางหรือไม่ เช่น โรคหัวใจ โรคไต
  • ต้องตรวจว่าควบคุมเบาหวานดีหรือไม่
  • ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อหรือไม่ หากต้องฉีดต้องฉีดก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 เดือน
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนการเดินทางของท่าน การปรับอาหาร การปรับยา
  • เตรียมหาเบอร์โทรศัพท์ที่อยู่ใกล้ที่เที่ยว
  • เตรียมแผ่นบัตรประจำตัว ว่าเป็นเบาหวานและได้รับยาอะไรอยู่
  • อย่าลืมฝึกพูดเป็นภาษาประเทศที่จะไปว่า ผมเป็นเบาหวาน ขอน้ำส้ม ขอน้ำหวาน

เตรียมสัมภาระก่อนเดินทาง

สำคัญที่สุดต้องจัดสัมภาระเป็นสองชุดอยู่กับกระเป๋าเดินทาง 1 ชุด อยู่กับกระเป๋าติดกับผู้ป่วยอีกหนึ่งชุด ไม่ว่าจะไปที่ไหนต้องพกกระเป๋านี้ติดตัวเสมอ สำหับสัมภาระที่ต้องนำติดตัวมีดังนี้

  • ยาเม็ดลดน้ำตาล หรืออินซูลิน พร้อมทั้งเข็มฉีด
  • เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดพร้อมแบตเตอรี่สำรอง หรือแทบตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะ
  • บัตรแสดงตัวว่าเป็นเบาหวาน
  • อาหารว่าง หรือลูกอม หรือน้ำผลไม้สำหรับรักษาภาวะน้ำตาลต่ำ

อาหารบนเครื่องบิน

  • ต้องแจ้งสายการบินล่วงหน้าให้เตรียมอาหารทีมีแคลอรีต่ำ
  • อย่าเพิ่งฉีดอินซูลินจนกว่าอาหารจะอยู่หน้าท่าน
  • ต้องสำรองอาหารไว้ติดตัวเสมอ

การพกพาอินซูลิน

ไม่จำเป็นต้องแฉ่อินซูลินไว้ในตู้เย็น ให้หลีกเลี่ยงแสง หรือที่ๆร้อน เตรียมกระเป่าที่เก็บความเย็นไปด้วยอาจจะพกติดตัว

เดินทางข้ามวัน

ต้องนำตารางการบินไปปรึกษากับแพทย์เพื่อพิจารณาเปลี่ยนเวลาฉีด ขณะอยู่บนเครื่องบินไม่ต้องฉีดลมเข้าขวดอินซูลิน เพราะอาจทำให้ขวดแตกได้ เมื่อเครื่องลงจอดให้ตรวจน้ำตาลในเลือด

วางแผนจะเที่ยวแล้ว

  • เมื่อถึงเป้าหมายแล้ว ให้ตรวจน้ำตาลในเลือด พิจารณากิจกรรมที่จะทำแล้ววางแผนอาหาร และขนาดอินซูลินให้เหมาะสม อย่าลืมพกอาหารว่างติดตัวไว้เสมอ
  • ห้ามดื่มน้ำประปา หรือน้ำแข็งที่ทำจากน้ำประปา ให้ดื่มน้ำต้มสุก
  • ให้อ่านส่วนประกอบของอาหารที่ไม่คุ้นเคย
  • ใส่รองเท้าที่เหมาะสม
  • ตรวจเท้าทุกวันดูว่ามี แผล ผุพอง รอยแดง บวม ให้รีบรักษาเมื่อมีการติดเชื้อ

ตอนนี้คุณพร้อมที่จะท่องเที่ยวแล้ว อย่าให้โรคเบาหวานมาเป็นอุปสรรคในการท่องเที่ยวขอให้มีความสุขกับการท่องเที่ยว


โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี การดูแลเมื่อเวลาป่วย

หลักการรักษา

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง