การวัดระดับคลอไรด์ chloride ในเลือด


การตรวจวัดระดับคลอไรด์ Chloride สามารถตรวจวัดได้ทั้งในกระแสเลือด ปัสสาวะหรือเหงื่อ คลอไรด์เป็นธาตุที่มีความสำคัญมาก เป็นตัวควบคุมความสมดุลของน้ำทั้งในเซลล์และน้ำนอกเซลล์ ควบคุมปริมาณเลือด ความดันโลหิต และความเป็นกรดด่าง โดยมากมักจะตรวจ โซเดี่ยม โพแทสเซี่ยมและ ไบคาร์บอเนตร่วมด้วยเสมอ

คลอไรด์ในร่างกายได้มาจากการรับประทานอาหารในรูปของเกลือแกง และถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก ส่วนเกินจะถูกขับออกทางไต

คลอไรด์จะมีบทบาทสร้างสภาวะความสมดุลในเรื่องใหญ่ ๆ ถึง 4 ประการ คือ

  1. รักษาสมดุลระหว่างของเหลวภายในและภายนอกเซลล์
  2. รักษาปริมาตรของน้ำเลือดทั้งระบบให้มีขนาดพอดี ๆ
  3. รักษาความดันเลือดให้อยู่ในระดับปกติ และ
  4. รักษาระดับความเป็นกรดด่าง (pH)

เหตุผลในการส่งตรวจคลอไรด์

การตรวจนี้แพทย์บางท่านจะส่งตรวจเพื่อเป็นการตรวจสุขภาพทั่วไป หรือส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค หรือติดตามการรักษา เหตุผลในการส่งตรวจ

  • แพทย์จะตรวจ Chloride หากท่านมีอาการดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อกระตุก มีปัญหาเรื่องการหายใจ อ่อนแรง สับสน
  • ตรวจหาว่าท่านเป็นโรคไต หรือต่อมหมวกไต
  • มีอาการอาเจียนหรือท้องร่วงเป็นเวลานาน
  • ติดตามการรักษาในกรณีมีโรคประจำตัวเช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจวาย โรคตับ โรคไต
  • ติดตามการรักษาในกรณีที่ได้รับยาที่มีผลต่อกรดและเกลือแร่


วิธีการตรวจ คลอไรด์

  • ตรวจจากหลอดเลือดดำ โดยการเจาะเลือดดำเพื่อส่งตรวจ
  • ตรวจจากหลอดเลือดที่สายสะดือ เมื่อเด็กคลอดออกมาแล้วแพทย์จะใช้เข็มเจาะหลอดเลือดที่สายสะดือ
  • ตรวจหาคลอไรด์ในปัสสาวะ โดยเก็บปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อหาปริมาณคลอไรด์ที่ขับออกมาใน 24 ชั่วโมง
  • ตรวจหาคลอไรด์ในเหงื่อใช้สำหรับการทดสอบโรค cystic fibrosis.

การตรวจปัสสาวะหาคลอไรด์

  • เมื่อตื่นแต่เช้าให้ถ่ายปัสสาวะทิ้งไม่ต้องเก็บ จดเวลาที่ปัสสาวะ
  • หลังจากนั้นเก็บปัสสาวะทุกครั้งที่ถ่ายโดยใส่ในภาชนะที่แพทย์ให้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยถ่ายเก็บในภาชนะแล้วจึงเทลงในขวดที่แพทย์ให้มา โดยในขวดที่ให้มาจะมีสารกันบูดเล็กน้อยห้ามเอามือไปสัมผัส
  • ขวดที่บรรจุปัสสาวะให้เก็บไว้ในตู้เย็น
  • ให้เก็บปัสสาวะครั้งสุดท้ายไม่เกิดเวลาที่จดไว้แต่เริ่มต้น

ค่าปกติ

ค่าปกติในเลือด

Chloride in blood 
ผู้ใหญ่

96–106 milliequivalents per liter (mEq/L)

ทารก

96–113 mEq/L (96–113 mmol/L)

ค่าคลอไรด์ในปัสสาวะ 

Chloride in urine 
ผู้ใหญ่

140–250 mEq per 24 hours

เด็กอายุ10-14ปี

64–176 mEq/24 hours (64–176 mmol/day)

เด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี

15–40 mEq/24 hours (15–40 mmol/day)

 

ความผิดปกติที่พบ

ค่าคลอไรด์สูง สาเหตุ

  • ขาดน้ำ Dehydration จากอาเจียนหรือถ่ายเหลวมาก
  • รับประทานเกลือมาก
  • โรคไต
  • โรคพาราไทรอยด์ทำงานมากไป(hyperparathyroidism).
  • จากยารักษาต้อหิน
  • ภาวะเลือดเป็นกรด Metabolic acidosis

ค่าคลอไรด์ chlorideต่ำสาเหตุ

  • ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมน้ำเช่น syndrome of inappropriate antidiuretic hormone secretion (SIADH).
  • โรคต่อมหมวกไต Addison's disease.
  • ภาวะที่เลือดเป็นด่าง(metabolic alkalosis).
  • หัวใจวาย
  • อาเจียนอย่างต่อเนื่อง
  • เหงื่อออกมาก
  • ผู้ป่วยที่ใส่สายเข้ากระเพาะอาหารและดูดน้ำย่อยออกตลอดเวลา Gastric suction

ปัจจัยที่มีผลต่อค่าคลอไรด์

  • เป็นที่ทราบกันแล้วว่าปริมาณน้ำมีผลต่อระดับคลอไรด์ในเลือด หากคุณขาดน้ำระดับคลอไรด์จะเพิ่ม หากคุณมีปริมาณน้ำเกินเช่นภาวะบวมน้ำจากตับแข็ง หรือโรคไตจะมีระดับคลอไรด์ต่ำ
  • ยาบางชนิดเช่น corticosteroids,ยาแก้ปวดกลุ่ม nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs), ยาฮอร์โมน estrogens, male hormones (androgens),ยาลดความดันโลหิต, ยาลดไขมัน cholestyramine , ยาขับปัสสาวะ
  • ภาวะที่ทำให้คลอไรด์เพิ่มขึ้นพบในภาวะ
    • ไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น Hypertriglyceridemia
  • ลดลงพบในภาวะ
    • Acute intermittent porphyria
    • Postprandial state

อาหารประเภทใดที่มีคลอไรด์

คลอไรด์ Chloride พบในเกลือแกงที่เรารับประทาน นอกจากนั้นยังพบในผักหลายชนิด และพบมากในอาหารหลายชนิดเช่น สาหร่ายทะเล มะเขือเทศ ผักกาดหอม ข้าวไร ผักชีฝรั่ง มะกอก

คนปกติต้องการคลอไรด์วันละเท่าไร

ทารก

  • 0 - 6 เดือน: 0.18* grams per day (g/day)
  • 7 - 12 เดือน: 0.57* g/day

เด็ก

  • 1 - 3 ปี: 1.5* g/day
  • 4 - 8 ปี: 1.9* g/day
  • 9 - 13 ปี: 2.3* g/day

ผู้ใหญ่

  • อายุ 14 - 50 ปี: 2.3* g/day
  • อายุ 51- 70: 2.0* g/day
  • อายุ มากกว่า71 : 1.8* g/day

โซเดี่ยม | โพแทสเซี่ยม | คลอไรด์ | ไบคาร์โบเนต | เกลือแกง | เกลือและสุขภาพ

ทบทวนวันที่ 23/1/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน