jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

เกลือโซเดี่ยม Sodium


โซเดียม เป็นธาตุทที่อยู่ในสารละลายนอกเซลล์ Extracellular fluid ซึ่งแสดงประจุไฟฟ้าเป็นบวก (cation) โดยมีปริมาณส่วนใหญ่อยู่ภายนอกเซลล์ ด้วยความเข้มข้นประมาณ 140 mEq/L ดังนั้นโซเดียมจึงเป็นตัวควบคุมแรงดันออสโมติก (osmotic pressure)
สำหรับของเหลวหรือน้ำภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดง Extracellular fluid ขณะเดียวกันก็สร้างแรงดันภายในหลอดเลือด ทำให้สามารถวัดความดันเลือดได้ หากมีโซเดียมมากเกินไปก็จะเกิดสภาวะบวมน้ำ เช่น ในกรณีกินเกลือหรืออาหารเค็มมากเกินไป หรือไตเสื่อม หรือรับประทานยาบางชนิด ทำให้ไตไม่อาจขับโซเดียมทิ้งออกทางน้ำปัสสาวะได้ โซเดียมจะเกินทำให้บวมบริเวณขาหรือหลังเท้า

บทบาทของโซเดี่ยมในร่างกาย

การกระจายตัวของโซเดียมในร่างกาย

ในร่างกายคนปกติมีโซเดียมประมาณ 58 มิลลิโมลต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม หรือประมาณ 3,000–3,500 มิลลิโมล ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำนอกเซลล์มากกว่าร้อยละ 90 การกระจายของโซเดียมในส่วนต่างๆ ของร่างกายมีดังนี้

กลไกการควบคุมโซเดี่ยม

การรับโซเดียมเข้าสู่ร่างกาย

ปกติร่างกายรับโซเดียมจากอาหารประมาณวันละ1-2 มิลลิโมล แต่เราจะได้รับจากอาหารประมาณวันละ 130-260 มิลลิโมล หรือเท่าๆ กับปริมาณโซเดียมที่ขับถ่ายออกทางปัสสาวะ อุจจาระ และเหงื่อในแต่ละวัน   โซเดี่ยมที่เราได้รับส่วนมากอยู่ในรูปของเกลือโซเดียม  (NaCl)  โดยเฉพาะ ในอาหารปรุงแต่งที่มีรสเค็มจากเครื่องปรุงรสอาหารต่างๆ  เช่น ซี่อิ้ว ซ็อส กะปิและน้ำปลา  เป็นต้น  เมื่อเกลือโซเดียม  (NaCl)  ผ่านระบบทางเดินอาหารจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วที่บริเวณส่วนต้นของสำไส้เล็ก  โซเดียมไหลเข้าออกผ่านเซลล์ที่เป็นเยื่อบุของลำไส้ด้วยวิธีที่ต้องอาศัยพลังงาน

การขับโซเดียมออกจากร่างกาย

การขับโซเดี่ยมออกจากร่างกายมีด้วยกัน

ในกรณีที่เรารับประทานอาหารจืดทำให้เกลือแร่โซเดี่ยมในเลือดต่ำ ร่างกายก็จะมีการปรับตัวโดยการหลั่งฮอร์โมน  ACTH  และ aldosteron ทำให้เราเสียโซเดี่ยมทางเหงื่อลดลง และมีการดูดซึมโซเดี่ยมที่ไตเพิ่มมากขึ้น หากเรารับประทานอาหารเค็มหรือมีเกลือมาก ร่างกายจะเร่งการขับเกลือออกทางปัสสาวะ และเหงื่อเพิ่มมากขึ้น

ความผิดปกติของโซเดี่ยม

Hyponatremia

Hypernatremia

ค่าปกติของโซเดียม (Na)

ค่าปกติทั่วไป

โซเดี่ยม | โพแทสเซี่ยม | คลอไรด์ | ไบคาร์โบเนต | เกลือแกง | เกลือและสุขภาพ