โพแทสเซี่ยม Potassium


โพแทสเซี่ยม (K) เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญในเซลล์โดยพบปริมาณ 150 mEq/Lดังนั้นภายในเซลล์จะมีประจุ (+) ส่วนภายนอกเซลล์นั้นจะมีโพแทสเซี่ยมประมาณ 4 mEq/L
โดยค่าโพแทสเซี่ยมที่ตรวจหาได้จากการเจาะเลือดจะเป็นค่า
ของโพแทสเซี่ยมภายนอกเซลล์นี้นี่เอง

ค่าความแตกต่างในความเข้มข้นของระดับโพแทสเซี่ยมที่อยู่ภายในเซลล์และภายนอกเซลล์ ซึ่งเป็นอัตราส่วนต่อกันนี้ อาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงบทบาทในการทำหน้าที่ของผนังเซลล์ซึ่งได้แก่

  • การส่งผ่านสารอาหารเข้าสู่ภายในเซลล์
  • การชักนำเอาของเสียออกทิ้งภายนอกเซลล์
  • การส่งผ่านสัญญาณไฟฟ้าของเซลล์ประสาทตามเส้นใยประสาท ไปสู่สมอง ซึ่งเป็นศูนย์กลาง และส่งผ่านกลับมายังหัวใจ หรือส่งไปยังกล้ามเนื้อเพื่อเป็นปฏิกิริยาใด ๆ ในการตอบสนอง เช่น ขณะเล่นกีฬา ขณะประสบอันตราย

อัตราส่วนระหว่างความเข้มข้นของโพแทสเซี่ยมที่อยู่ภายในและภายนอกเซลล์ดังกล่าวนั้น หากผิดไปจากเกณฑ์ปกติ ก็ย่อมอาจมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ถึงขั้นทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หรืออาจทำให้การบังคับกล้ามเนื้อผิดปกติ เช่น อ่อนแรงของกล้ามเนื้อ

ประโยชน์ของโพแทสเซี่ยม

  • ช่วยให้กล้ามเนื้อ (รวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ) และระบบประสาททั่วร่างกาย ทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และสมบูรณ์แบบ
  • ช่วยรักษาสภาวะสมดุลของเหลวสารละลาย (electrolyte) โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ควบคุมดุลยภาพความเป็นกรด-ด่าง (acid-base balance) มิให้เกิดความเป็นกรดในร่างกายมากเกินไป
    ธาตุที่สร้างความเป็นกรดในร่างกายได้อย่างน่ากลัวก็คือ โซเดียมจากเกลือ (จากน้ำปลา) หรือจาก อาหารเค็มทั้งหลายนั่นเอง
  • ช่วยลดความเสี่ยงมิให้เกิดสภาวะความดันเลือดสูง

คนเราต้องการโพแทสเซี่ยมวันละเท่าไร

การรับประทานโพแทสเซี่ยมอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์ทำงานปกติ

เด็ก

  • ทารก - 6 เดือน: 400 mg/day
  • เด็ก7 เดือน - 12 เดือน: 700 mg/day
  • เด็ก1 -3ปี: 3 grams (3,000 mg)/day
  • เด็ก4 - 8 ปี: 3.8 grams (3,800 mg)/day
  • เด็ก9 - 13 ปี: 4.5 grams (4,500 mg)/day

ผู้ใหญ่

  • มากกว่า 19 years: 4.7 grams (4,700 mg)/day
  • คนท้อง: 4.7 grams (4,700 mg)/day
  • ให้นมบุตร: 5.1 grams (5,100 mg)/day

แหล่งอาหารที่มีโพแทสเซี่ยมสูงได้แก่

  • มันฝรั่ง
  • มะเขือเทศ
  • Avocados
  • ผลไม้สด เช่น กล้วย ส้ม
  • น้ำส้ม น้ำมะพร้าว
  • ผลไม้แห้งเช่น ลูกพรุน ลูกเกด apricots
  • ผักขม
  • ถั่วต่างๆ

โพแทสเซี่ยมและโรคหัวใจ

โพแทสเซี่ยมไม่ได้มีส่วนป้องกันโรคหัวใจโดยตรง แต่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจดังนี้

ผลต่อความดันโลหิตสูง

มีการศึกษาว่าการได้รับโพแทสเซี่ยมเสริมจะสามารถลดระดับความดันโลหิตลงได้ 8 มิลิเมตรปรอท แต่เราไม่จำเป็นต้องไปรับประทานยาที่มีโพแทสเซี่ยม ให้เรารับประทานอาหารที่มีโพแทสเซี่ยมสูงเช่น ผัก ผลไม้

ผลต่อไขมันในเลือด

พบว่าอาหารที่มีโพแทสเซี่ยมสูงสามารถลดระดับ Cholesterolลงได้

ยาที่อาจจะทำให้ระดับโพแทสเซี่ยมสูง

  • Nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs):โดยเฉพาะผู้ที่ไตเสื่อมจะมีความเสี่ยงของโพแทสเซี่ยมสูง
  • ACE inhibitors:เป็นยารักษาความดันโลหิตสูง โรคหัวใจวาย หากรับประทานยาลดความดันกลุ่มนี้ร่วมกับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs potassium sparing diuretics และโดยเฉพาะผู้ที่มีไตเสื่อมจะทำให้มีโอกาศที่โพแทสเซี่ยมจะสูง ยาลดความดันโลหิตกลุ่มนี้ได้แก่
  • Heparin
  • Cyclosporine
  • Trimethoprimand sulfamethoxazole, called Bactrim or Septra (an antibiotic)
  • Beta-blockers:เป็นยารักษาความดันโลหิตสูง

ยาที่อาจจะทำให้ระดับระดับโพแทสเซี่ยมต่ำลง

  • ยาขับปัสสาวะกลุ่ม Thiazide
    • Hydrochlorothiazide
    • Chlorothiazide (Diuril)
    • Indapamide (Lozol)
    • Metolzaone (Zaroxolyn)
  • ยาขับปัสสาวะกลุ่ม Loop diuretics
    • Furosemide (Lasix)
    • Bumetanide (Bumex)
    • Torsemide (Demadex)
    • Ethacrynic acid (Edecrin)
  • ยา Corticosteroids
  • ยารักษาเชื้อรา Amphotericin B (Fungizone)
  • ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร Antacids
  • อินซูลิน Insulin
  • ยารักษาเชื้อรา Fluconazole (Diflucan):
  • ยารักษาโรคหอบหืด Theophylline
  • ยาระบาย Laxatives

ค่าปกติของโพแทสเซี่ยม (K)

  • ผู้ใหญ่/สูงอายุ       K : 3.5 - 5.0 mEq/L

เกลือโพแทสเซี่ยม

โซเดี่ยม | โพแทสเซี่ยม | คลอไรด์ | ไบคาร์โบเนต | เกลือแกง | เกลือและสุขภาพ