jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

เป้าหมายของการรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

ระดับไขมันที่ต้องการ

การจัดระดับความรุนแรงของความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

จะแบ่งระดับความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะมีสูตรคำนวณออกมาโดยมีปัจจัยที่พิจารณาคือเพศ อายุ ระดับความดันโลหิตตัวบน Systolic ระดับไขมันคอเลสเตอรอล ระดับไขมันคอเลสเตอรอลที่ดี ประวัติโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ประวัติการสูบบุหรี่ มาคำนวณ จะให้ยาเมื่อความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเกินร้อยละ7.5 ในระยะเวลา 10 ปี ตารางคำนวณคลิกที่นี่ ออกเป็น

ความเสี่ยงสูงมาก

ได้แก่ภาวะดังต่อไปนี้

ความเสี่ยงสูง

ความเสี่ยงปานกลาง

ความเสี่ยงต่ำ



เป้าหมายของระดับไขมันหลังการรักษาจะขึ้นกับอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผู้ที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง(กลุ่มเสี่ยงสูงมาก และอัตราเกิดโรคมากกว่าร้อยละ10ใน10ปี

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง(ความเสี่ยงสูง หรืออัตราการเกิดโรคหัวใจร้อยละ5-10)

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง(ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ1-5)

สำหรับแนวทางเดิมจะใช้ระดับไขมันเป็นหลัก

LDL-Cใช้เป็นเป้าหมายสำหรับการกำหนดการรักษา โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต(Total Lifestyle Change, TLC) และการรักษาด้วยยาในลำดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน

ตารางที่ 3.  เป้าหมายการรักษาและการกำหนดการรักษาตามลำดับความเสี่ยง

 

ลำดับความเสี่ยง

LDL-Cเป้าหมาย

(มก/ดล)

ค่า LDL-C 

ที่ให้การรักษาโดย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

(มก/ดล)

ระดับLDL-C 

ที่ให้การรักษาด้วยยา

(มก/ดล)

เป็นโรคหลอดเลือด

หัวใจหรือเป็นโรคที่มีความเสี่ยงเทียบเท่า

<100

>100

>130

(100-129 ให้ยาได้หากเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจ )

*ปัจจัยเสี่ยง2ข้อขึ้นไป

<130

>130

>160

*ปัจจัยเสี่ยง0-1ข้อ

<160

>160

>190

*กรณีที่ HDL-C>60 มก/ดล นับปัจจัยเสี่ยงลดลง 1 ข้อ อนึ่งในประชากรไทยอุบัติการของโรคหลอดเลือดหัวใจต่ำกว่าประชากรในประเทศแถบตะวันตก ดังนั้นประโยชน์จากการใช้ยาในกลุ่มนี้อาจไม่คุ้มค่า

ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือมีโรคที่มีความเสี่ยงเทียบเท่า

การรักษาจัดเป็นการป้องกันทุติยภูมิ  (secondary prevention) ระดับเป้าหมายของLDL-Cในเลือดคือน้อยกว่า100มก/ดล ระดับLDL-Cที่เริ่มต้นให้การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต คือ ระดับมากกว่าหรือเท่ากับ100มก/ดล  ระดับLDL-Cที่พิจารณาให้การรักษาด้วยยาคือระดับมากกว่าหรือเท่ากับ 130มก/ดล ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจหากระดับLDL-Cอยู่ระหว่าง100-129มก/ดล ควรพิจารณาให้ยา ผู้ที่มีโรคที่มีความเสี่ยงเทียบเท่าโรคหลอดเลือดหัวใจพิจารณาให้ยาตามความเหมาะสม

ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง2ข้อขึ้นไป 

การรักษาจัดเป็นการป้องกันปฐมภูมิ (primary prevention)  แก่ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงปานกลาง

ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง0-1ข้อ

การรักษาจัดเป็นการป้องกันปฐมภูมิแก่ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงไม่มาก

การป้องกันทุติยภูมิได้ประโยชน์และเป็นที่ยอมรับ การควบคุมให้ระดับไขมันอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ มักจำเป็นต้องใช้ทั้งอาหารและยาลดไขมัน แต่ถ้าเป็นการป้องกันปฐมภูมิ การรักษาควรเน้นหนักไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย หากระดับไขมันเกินเป้าหมายเพียงเล็กน้อย ยังไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ยาลดไขมันเสมอไป เนื่องจากในประชากรไทยอุบัติการของโรคหลอดเลือดหัวใจต่ำกว่าประชากรในประเทศแถบตะวันตก ดังนั้นประโยชน์จากการใช้ยาในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงปานกลางและสูงไม่มาก อาจไม่คุ้มค่าเพียงพอ

กรณีที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดร่วมด้วย (>200 มก/ดล) ให้ใช้ระดับnon-HDL-C เป็นเป้าหมายแทนการใช้ระดับLDL-C  โดยnon-HDL-C จะมีค่ามากกว่าLDL-C 30 มก/ดล ในทุกเป้าหมาย

การใช้อัตราส่วน Cholesterol

ในการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจนอกจากจะใช้ระดับของไขมันแพทย์ ก็ยังมีการใช้อัตราส่วนของ คอเลสเตอรอลกับไขมัน HDL Cholesterol ในการรักษาแพทย์จะพยายามรักาาให้ค่านี้น้อยกว่า 5 แต่ค่าที่ดีคือ3.5

ตัวอย่างการคำนวณ หากเจาะเลือดได้ค่า Total cholesterol เท่ากับ 200 ค่า HDL เท่ากับ 40 อัตราส่วนจะเท่ากับ 5